สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและไรน้ำนางฟ้าไทย
ภัทยา นาปะเสริฐ - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ชื่อเรื่อง: การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและไรน้ำนางฟ้าไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Nutrient Composition in Thai Fairy Shrimp (Streptocephalus Sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekwer & Dumont, 2000 and Branchinella Thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภัทยา นาปะเสริฐ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อนันต์ เพชรล้ำ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิแช่แข็งต่อคุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและไรน้ำนางฟ้าไทย โดยทำการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าวัยอ่อนและตัวเต็มวัยภายหลังทำการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -4 และ -20 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 5 เดือน เปรียบเทียบกับไรน้ำนางฟ้าสดที่ไม่ผ่านการแช่แข็ง ผลการศึกษาพบว่าไรน้ำนางฟ้าสิรินธรสดระยะวัยอ่อนและตัวเต็มวัยมีโปรตีนร้อยละ 59.70 และ 71.69 ตามลำดับ ส่วนไรน้ำนางฟ้าไทยสดระยะวัยอ่อนและตัวเต็มวัยมีโปรตีนสูงกว่าคือร้อยละ 65.87 และ 73.16 ตามลำดับ อุณหภูมิในการแช่แข็งไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณโปรตีนและไขมันในไรน้ำนางฟ้าไทยทั้งสองระยะ แต่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและไขมันในไรน้ำนางฟ้าสิรินธร กล่าวคือ ไรน้ำนางฟ้าสิรินธรระยะตัวเต็มวัยที่ผ่านการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -4 องศาเซลเซียสมีปริมาณโปรตีนร้อยละ 60.88 ซึ่งน้อยกว่าไรน้ำนางฟ้าสิรินธรสดที่ไม่ผ่านการแช่แข็ง (71.69%) และไรน้ำนางฟ้าสิรินธรที่ผ่านการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส (72.09%) (P<0.01) ในทำนองเดียวกันไรน้ำนางฟ้าสิรินธรระยะวัยอ่อนที่ผ่านการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -4 องศาเซลเซียสมีปริมาณไขมันร้อยละ 19.88 ซึ่งน้อยกว่าไรน้ำนางฟ้าสิรินธรสดที่ไม่ผ่านการแช่แข็ง (20.67%) และไรน้ำนางฟ้าสิรินธรที่ผ่านการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส (20.27%) (P<0.01) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถแนะนำผู้เพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ว่าวิธีการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าเพื่อให้คุณค่าทางโภชนาการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด คือการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส
บทคัดย่อ (EN): Nauplii and adult samples of two species of fairy shrimps (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers and Dumont and Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan and Murugan) were kept in freezers at -4 and -20 ?C for 5 months in order to determine the effect of frozen temperatures on their nutritional values. The results showed that the protein contents of fresh nauplii and adults of S. sirindhornae were 59.70 and 71.69%, respectively. While the protein contents of fresh nauplii and adults of B. thailandensis were 65.87 and 73.16%, respectively. Storage temperature did not affect on protein and lipid compositions of nauplii and adult B. thailandensis. However, the protein content of frozen adults of S. sirindhornae at -4 ?C was significantly lower (60.88%) than that of fresh samples (71.69%) and at -20 ?C (72.09%) (P<0.01). Similarly, the lipid content of frozen naulii of S. sirindhornae at -4 ?C was significantly lower (19.88%) than that of fresh samples (20.67%) and at -20 ?C (20.27%) (P<0.01). The results of this experiment suggest that the appropriate storage temperature to maintain nutritional values of both fairy shrimps is -20 ?C.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-01-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550-10-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและไรน้ำนางฟ้าไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
31 ตุลาคม 2550
การเปรียบเทียบชนิดสารละลายที่แตกต่างกันต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์รวมของไรน้ำนางฟ้าไทยแช่แข็ง ผลของการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์ การใช้ไรน้ำนางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง ปริมาตรที่เหมาะสมของน้ำกลั่นในการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) เพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำ รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเพาะฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าไทย การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM การใช้ยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) ในการผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยคุณภาพ การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) ด้วย อาหารต่างชนิดกัน เพื่อเป็นอาหารเร่งสีปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Curvier, 1893) การใช้แบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อควบคุมโรค black disease ในไรน้ำนางฟ้าไทย, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002 ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาคศาสตร์และคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดข้าวขึ้นน้ำและข้าวน้ำลึกในภาคตะวันออกของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก