สืบค้นงานวิจัย
ดุลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannameii) ระบบความเค็มต่ำในบ่อดินที่มีเนื้อดินประเภทต่างกัน
พุทธ ส่องแสงจินดา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ดุลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannameii) ระบบความเค็มต่ำในบ่อดินที่มีเนื้อดินประเภทต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Mass balance of sodium chloride (NaCl) in the low salinity culture system of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannameii) in the earthen ponds of different soil textures
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พุทธ ส่องแสงจินดา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จุฑารัตน์ กิตติวานิช
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ประเทศไทยสนับสนุนการผลิตกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกมายาวนานกว่า 30 ปี และสามารถเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมกุ้งส่งออก โดยอาศัยการปรับตัวของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญของการอยู่รอดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น (กรมประมง, 2557) ทำให้อุตสาหกรรมกุ้งของประเทศไทยมีความสำคัญต่อทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจโดยมีคนเกี่ยวข้องมากกว่า 1 ล้านคน และสามารถนำรายได้เข้าประเทศปีละ 60,000-80,000 ล้านบาท (คณะกรรมการบริหารคลัสเตอร์กุ้งประเทศไทย, 2550) โดยมีพื้นที่ส่วนหนึ่งผลิตกุ้งด้วยระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่น้ำจืด จากข้อมูลการสํารวจของ สํานักงานตรวจราชการกรมประมงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 พบว่ามีเกษตรกรเลี้ยงกุ้งขาวในเขตพื้นที่น้ำจืด ใน 21 จังหวัดเป็นจํานวนรวมทั้งสิ้น 3,808 ราย โดยมีพื้นที่ฟาร์มเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดรวมทั้งสิ้น 59,431 ไร่ และพื้นที่บ่อเลี้ยงทั้งหมด 47,716 ไร่ หรือ 21.39% ของพื้นที่เลี้ยงทั้งประเทศ โดยมีผลผลิตกุ้งขาวจากการเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืดทั้งหมด 119,291 ตัน หรือ 24.54% ของผลผลิตกุ้งขาวจากการเพาะเลี้ยงทั้งประเทศ (กรมประมง และคณะ, 2557) การเลี้ยงกุ้งทะเลในเขตพื้นที่น้ำจืดถูกรายงานว่าเป็นสาเหตุของความเสี่ยงปัญหาการปนเปื้อนความเค็มของดินและน้ำในเขตพื้นที่น้ำจืด (Teng, 2008) การเลี้ยงกุ้งทะเลในเขตพื้นที่น้ำจืด โดยใช้ระบบความเค็มต่ำที่เริ่มต้นเลี้ยงด้วยความเค็มเริ่มต้น 15 ส่วนในพันส่วน พบว่าความเค็มสามารถซึมลงสู่ใต้ดินและถูกถ่ายเทออกมาสู่สิ่งแวดล้อมได้เนื่องจากไม่ได้จัดการเรื่องผลกระทบความเค็มอย่างเหมาะสม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2543) ผลกระทบของความเค็มต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการสะสมของเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินเสีย อนุภาคดินไม่เกาะตัวกัน ฟุ้งกระจาย ดินแน่น ยุ่งยากในการชะล้างเกลือออกไปและเสียค่าใช้จ่ายสูงอย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2548 ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม และปรับระบบการเลี้ยงและการใช้ความเค็มในพื้นที่น้ำจืด โดยใช้เกลือจากภายนอกน้อยลงเพื่อลดผลกระทบของความเค็มต่อสิ่งแวดล้อมข้างเคียง อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานทางวิชาการเกี่ยวกับการประเมินการแพร่กระจายของเกลือในสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแพร่กระจายของความเค็มที่ใช้ในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในระบบความเค็มต่ำสู่สิ่งแวดล้อมทั้งในรูปค่าการนำไฟฟ้า (ECe) และเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) รวมถึงดุลเกลือโซเดียมคลอไรด์ในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในระบบความเค็มต่ำ แล้วนำข้อมูลทางวิชาการที่ได้มาใช้เป็นฐานความรู้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนารูปแบบการใช้ความเค็มที่เหมาะสมในการเลี้ยงกุ้งระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืด เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและพัฒนารูปแบบการเลี้ยงให้เกิดความยั่งยืนและความมั่นคงของอาหารของประเทศไทยในอนาคต
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ดุลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannameii) ระบบความเค็มต่ำในบ่อดินที่มีเนื้อดินประเภทต่างกัน
กรมประมง
31 มีนาคม 2557
กรมประมง
การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดินที่ความหนาแน่นต่างกัน ระบบการเลี้ยงแบบรวมสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อดิน ผลของจุลินทรีย์อีเอ็มต่อการเจริญเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม ระบบการเลี้ยงปลาบึกอายุ 1 - 2 ปี ในบ่อดินเพื่อการค้า พฤติกรรมของธาตุฟอสฟอรัสในดินในระบบเกษตรแบบประณีต ความถี่ที่เหมาะสมในการให้อาหารของการเลี้ยงปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ในกระชังที่แขวนในบ่อดิน การอนุบาลปลาบู่ขนาด 5 เซนติเมตรในบ่อดินด้วยความหนาแน่นต่างกัน ผลของสารสกัดจากสาหร่ายสไปรูไลนาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Vibrio parahaemolyticus และ V. harveyi ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ผลของสารสกัดจากสาหร่ายสไปรูไลนาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Vibrio parahaemolyticus และ V. harveyi ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ผลของการเสริมสาหร่ายสไปรูไลนาในอาหารต่อการเจริญเติบโตและความต้านทานโรคที่เกิดจากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ในกุ้งขาวแวนนาไม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก