สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละ
นายยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Production Technology of Salacca
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การปลูกสละยังประสบปัญหาการเข้าทำลายของโรคผลเน่าและแมลงศัตรูสละ จึงต้องมีการศึกษาหาสาเหตุของการเข้าทำลายและศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดที่เหมาะสม โดยในโรคผลเน่าจะดำเนินการสำรวจเก็บตัวอย่างเพื่อมาศึกษาหาเชื้อสาเหตุ และทำการทดสอบหาสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่เข้าทำลายช่อดอกและผล ซึ่งเป็นระยะที่อ่อนแอ จึงต้องศึกษาชนิดแมลง สาเหตุชีววิทยา และนิเวศวิทยา และแนวทางการป้องกันกำจัด จากการศึกษาเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าในสละ พบว่าสาเหตุโรคได้แก่เชื้อรา MarasmiuspalmivorusSharples จะพบมากในช่วงฤดูฝน การศึกษาการป้องกันกำจัดพบว่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชที่ได้ผลดี ได้แก่ pyraclostrobin25% W/V ECอัตรา ๑๕ มล./น้ำ ๒๐ ลิตร และ สาร tebuconazole + trifoxystrobin50%+25% WGอัตรา ๑๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร พ่น ๒ ครั้ง ครั้งแรกก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ๒ เดือน ครั้งที่สองหลังจากครั้งแรก ๗ วัน การศึกษาชนิดของแมลงศัตรูในสละ พบว่าแมลงศัตรูที่เข้าทำลายต้นสละ ได้แก่ ด้วงแรดเล็ก (Oryctesrhinocerous Linnaeus) ด้วงแรดใหญ่ (Oryctes gnuMohnr.) และด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก (Rhynchophorusfurrugineus Oliver) แมลงศัตรูที่เข้าทำลายดอกสละได้แก่ ด้วงงวงจิ๋ว (DiocalandrafrumentiFabricius)ส่วนแมลงศัตรูที่เข้าทำลายผลสละคือ ด้วงเจาะผลสละจัดอยู่ในวงศ์Anthribidae การศึกษาชีววิทยา การเข้าทำลายของด้วงเจาะผลสละ พบว่าด้วงเจาะผลสละทำลายผลสละโดยหนอนกัดกินเนื้อของผลสละ และเข้าดักแด้ในเมล็ดไข่มีสีขาวขุ่น รูปร่างคล้ายหยดน้ำ ดักแด้มีสีขาวครีม ตัวเต็มวัยเป็นด้วงขนาดเล็กลำตัวรี ความยาวประมาณ 5-9 มิลลิเมตร ปีกแข็งสีน้ำตาล มีจุดสีดำกระจายทั่วทั้งปีก ปากเป็นแบบกัดกินรูปร่างแบนยาว ตารวมมีขนาดใหญ่เป็นรูปรีเห็นได้ชัดเจน ตัวเต็มวัยเพศเมียมีหนวดสั้นกว่าเพศผู้ ระยะไข่ 2-3 วัน ระยะหนอนประมาณ 30 วัน ระยะดักแด้ประมาณ 5-9 วัน ระยะตัวเต็มวัยประมาณ 5-60 วัน การผสมพันธุ์เกิดขึ้นในช่วงเช้า เพศเมียวางไข่ในผลสละบริเวณใต้เปลือก ด้วงเจาะผลสละเริ่มเข้าทำลายผลสละที่อายุประมาณ 7 เดือนขึ้นไป ซึ่งตรงกับช่วงที่สละเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลดำเป็นน้ำตาลแดง และเริ่มมีกลิ่นหอม ซึ่งการเข้าทำลายของด้วงเจาะผลสละชนิดนี้ไม่สามารถสังเกตจากภายนอก การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสละ ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2554 - กันยายน 2556 ที่แปลงเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย 2 การทดลอง ได้แก่ การทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดด้วงเจาะผลสละซึ่งเปรียบเทียบสารฆ่าแมลง 6 ชนิดกับกรรมวิธีไม่พ่นสารและการศึกษาระยะเวลาและวัสดุที่เหมาะสมในการห่อผลสละเพื่อป้องกันแมลงศัตรูสละเข้าทำลายในระยะผล ผลการทดลอง พบว่า สารpirimiphos-methyl 50%EC อัตรา 50 มิลลิลิตรcarbosulfan 20%EC อัตรา 50 มิลลิลิตรdinotefuran10%WP อัตรา 20 กรัมclothianidin 16%SG อัตรา 10 กรัม และ fipronil 5% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลดีในการป้องกันการเข้าทำลายของด้วงเจาะผลสละ โดยพ่นทุก 15 วัน ตั้งแต่ผลสละอายุ 6 เดือน จนกระทั่งเก็บเกี่ยว และจากการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลสละพบในปริมาณน้อย สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ส่วนการศึกษาระยะเวลาและวัสดุที่เหมาะสมในการห่อผลสละเพื่อป้องกันแมลงศัตรูสละเข้าทำลายในระยะผล พบว่าทุกวัสดุที่ใช้ในการห่อผล ได้แก่ ถุงที่ทำจากผ้ามุ้ง ถุงปุ๋ย ถุงพลาสติกที่มีสาร chlorpyrifos 1% เป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน และถุงห่อผลไม้ “ชุนฟง”สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูสละได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยต้องเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลสละอายุ 6 เดือนและการห่อผลด้วยผ้ามุ้งพบผลเน่าน้อยกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ
บทคัดย่อ (EN): Study of Identification and Biology of Pathogen caused of Salacca Fruit rot. We find many of fungus on fruit of Salacca such as white mycelium, yellow and gray. In Laboratory can select and back inoculation on Salacca fruit. The experimental can identification the MarasmiuspalmivorusSharplesis the cause of Salacca fruit rot. In Salacca plantation can find fruit rot disease in rainy season. The experimental of Chemical control for Salaccafruit rot is RCB 4 replication and 5 Treatment 2 locations. The treatment is difenoconazole 25% W/V EC 15 ml./ water 20 L. ,pyraclostrobin25% W/V EC15 ml./ water 20 L. , tebuconazole + trifloxystrobin50%+25% WG 10 g./ water 20 L. , validamycin3% W/V SL 30 ml./ water 20 L. and Control (water). First apply is before cultivations 2 month and second after that 7 days
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมัน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก