สืบค้นงานวิจัย
การสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จรัญ ขาวหนูนา - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Survey and evaluation on seed quality of rice farmers in Surat Thani province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรัญ ขาวหนูนา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Charun Khawhnuna
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิเชียร พงศาปาน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Wichien Pongsapan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวในจังหวัดสุราษฎร์ธานีปี 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหา และความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร เพื่อช่วยในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ถูกต้องและตรงพื้นที่เป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น และช่วยสนับสนุนมาตรการการควบคุมแหล่งผลิตของภาครัฐให้ทั่วถึงมากขึ้นโดยดำเนินการใน 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 1 สำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของแหล่งผลิต และแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ พบว่ามีกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 3 กลุ่ม มีสมาชิกเกษตรกรจำนวน 38 ราย และตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 1 ร้าน ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุราษฎร์ธานี เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตและจำหน่าย ได้แก่พันธุ์ปทุมธานี 1 เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตส่วนใหญ่จะผ่านมาตรฐานคุณภาพชั้นพันธุ์จำหน่าย จำนวน 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.05 และอีก 11 ราย ไม่ผ่านมาตรฐานคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 28.95 สาเหตุเนื่องจากมีข้าวแดงปนเกินมาตรฐานร้อยละ 2.63 และพันธุ์อื่นปนเกินมาตรฐานร้อยละ 26.32 กิจกรรมที่ 2 สำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรทั่วไป พบว่าเมล็ดพันธุ์จากการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรจำนวน 117 ราย พบว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ไม่ผ่านมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์จำหน่ายจำนวน 113 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.58 และผ่านมาตรฐานคุณภาพจำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.42 สาเหตุเมล็ดพันธุ์ไม่ผ่านมาตรฐาน เนื่องจากพันธุ์อื่นปนเกินมาตรฐานร้อยละ 43.59 ข้าวแดงปนเกินมาตรฐานร้อยละ 23.08 ความงอกต่ำกว่ามาตรฐานร้อยละ 17.09 สิ่งเจือปนเกินมาตรฐานร้อยละ 8.55 และความชื้นเกินมาตรฐานร้อยละ 4.27 กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรหลังจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดีจากหน่วยงานราชการไปปลูกขยายพันธุ์พบว่าเกษตรกรจำนวน 27 ราย เมล็ดพันธุ์ไม่ผ่านมาตรฐานคุณภาพชั้นพันธุ์จำหน่ายทั้งหมดสาเหตุเนื่องจากข้าวแดงเกินมาตรฐานร้อยละ 44.45 ข้าวอื่นปนเกินมาตรฐานร้อยละ 37.04 สิ่งเจือปนเกินมาตรฐานร้อยละ 14.81 และความงอกต่ำกว่ามาตรฐานร้อยละ 3.70
บทคัดย่อ (EN): The main objective for the survey and evaluation on seed quality in Surat Thani province in 2010 was to accomplish the farmers’ problems and their need for the seed. This would be not only beneficial for an appropriate technology transfer on seed production in any target areas but also broaden a support for a national control scheme on seed producers and seed sellers. The study consisted of three activities; the first one was survey and evaluation on seed quality from seed producers and seed sellers. There were 3 groups of seed producers consisting 38 rice farmers, 1 store selling rice seed which is a rice selling agent in Surat Thani province. The rice seed was Pathum Thani 1. The amount of rice seed samples from 27 rice seed producers that reached certified seed standard were 71.05% of total samples. Eleven rice seed producers that were below seed multiplication standard were 28.95% because of 2.63% over allowable red rice and 26.32% over allowable mixed varieties. The second activity was survey and evaluation on seed quality produced by farmers themselves and found that 113 out of 117 samples that were below seed multiplication standard were 96.58%. Four samples that reached certified seed standard were 3.42%. The rice seeds were below seed multiplication standard because of 43.59% over allowable mixed varieties 23.08% over allowable red rice 17.09% below allowable germination rate, 8.55% over allowable inert matter 4.27% over allowable moisture content. The third activity was the evaluation on seed quality. The result showed that the amount of rice seed yield of 27 rice farmers after using foundation seed with good cultural practices were below seed multiplication standard because of 37.04% over allowable mixed varieties 44.45% over allowable red rice 14.81% over allowable inert matter and 3.81% below allowable germination rate.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329770
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยในการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว การศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน super bag ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลของขนาดเมล็ดที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ถั่วแลปแลป การเพิ่มประสิทธิผลของนโยบายรัฐต่อเกษตรกรยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก