สืบค้นงานวิจัย
การจัดการประมงกุ้งมังกร (Panulirus spp.) อย่างยั่งยืนเพื่อชุมชนประมง
ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ, กันย์สินี พันธ์วนิชดำรง, จันทร์สว่าง งามผ่องใส - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การจัดการประมงกุ้งมังกร (Panulirus spp.) อย่างยั่งยืนเพื่อชุมชนประมง
ชื่อเรื่อง (EN): Sustainable spiny lobster (Panulirus spp.) management for fishery community
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กุ้งมังกรนับเป็นสัตว์น้ำทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งเนื่องจากมีราคาสูง แต่ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการจัดการทรัพยากรกุ้งมังกร แต่ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการจัดการทรัพยากรกุ้งมังกรจึงดำเนินการศึกษาข้อมูลวิธีการทำประมงกุ้งมังกร ลักษณะผลผลิตกุ้งมังกร ชีววิทยาบางประการของกุ้งมังกร และความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในการทำประมงกุ้งมังกรต่อแนวทางการจัดการประมงกุ้งมังกร จึงดำเนินการศึกษาแนวทางการจัดการประมงกุ้งมังกรจากการทำประมงขนาดเล็กในจังหวัดตรัง โดยศึกษาจากวิธีการทำประมงกุ้งมังกร ลักษณะผลผลิตกุ้งมังกร ชีววิทยาบางประการ และแนวทางการจัดการประมงกุ้งมังกร ดำเนินเก็บข้อมูลกุ้งมังกรที่ชาวประมงขนาดเล็กจับได้จากแพรับซื้อกุ้งมังกรทั้งหมดในจังหวัดตรังจำนวน 8 ราย ข้อมูลที่บันทึกประกอบด้วยชนิดกุ้งมังกร เพศ ความยาวเปลือกหัว น้ำหนัก พร้อมสุ่มกุ้งมังกรเพศเมียเพื่อเก็บข้อมูลน้ำหนักรังไข่ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 ถึง เมษายน พ.ศ.2560 ผลการศึกษาพบว่า การทำประมงกุ้งมังกรของชาวประมงขนาดเล็กในจังหวัดตรัง มี 2 วิธี คือ การดำน้ำจับกุ้ง และจากการทำประมงปูม้าด้วยอวนจมปู ซึ่งวิธีหลังนี้กุ้งมังกรที่ได้รับเป็นเพียงผลพลอยได้จากการทำประมง พื้นที่ทำประมงของกลุ่มที่จับกุ้งมังกรด้วยอวนจมปูม้าคือ พื้นที่ที่ชาวประมงทำประมงปูม้านั่นเอง ส่วนพื้นที่ที่มีการดำน้ำจับกุ้งมังกรอยู่บริเวณรอบเกาะสุกร ผลผลิตกุ้งมังกรที่ชาวประมงจับได้ส่วนใหญ่คือ กุ้งมังกรเลน (ร้อยละ 94.4) รองลงมาคือ กุ้งมังกรเจ็ดสี และกุ้งมังกรเขียว (ร้อยละ 4.0 และ 1.6 ของผลผลิตกุ้งมังกรทั้งหมด ตามลำดับ) โดยกุ้งมังกรเขียวที่ถูกจับได้มีขนาดใหญ่กว่ากุ้งมังกรเลน และเจ็ดสี (P0.05) สุดท้ายแนวทางการจัดการประมงกุ้งมังกรจากการทำประมงขนาดเล็ก แบ่งออกเป็น 2 ระยะ เริ่มต้นจากการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาของกุ้งมังกร ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรกุ้งมังกรเพื่อความยั่งยืน และระยะต่อมาดำเนินการประชุมผู้มีส่วนได้เสียฯ เพื่อกำหนดมาตรการงดทำประมงกุ้งมังกรขนาดเล็กและกุ้งมังกรที่มีไข่นอกกระดอง ส่วนมาตรการเชิงพื้นที่และช่วงเวลาอาจจะไม่จำเป็นต้องนำมาใช้หากชาวประมงไม่จับกุ้งมังกรขนาดเล็กและกุ้งมังกรที่มีไข่นอกแล้ว สุดท้ายมาตรการกำหนดปริมาณการจับอาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากกุ้งมังกรที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นเพียงผลพลอยได้จากการทำประมงปูม้าเท่านั้นส่งผลให้ปกติแล้วชาวประมงจับกุ้งมังกรได้จำนวนน้อย
บทคัดย่อ (EN): Spiny lobster is an economical important species especially to the small-scale fisher due to its high price. Until now, there is no measure to manage the lobster resource, hence this study was to investigate the lobster fisheries, the product, some of biological aspects and the lobster stakeholder opinions on the lobster fisheries management. The study was carried out during November 2015 to April 2017. The result showed; the spiny lobster catching were diving and using crab gillnet. The lobsters were by catch from swimming blue crab fisheries. Fishing area of lobster was the same area of crab gillnet fisheries whereas the diving site was around Sukorn Island. Most of the lobster species were mud spiny lobster (94.4%), ornate spiny lobster (4.0%) and painted spiny lobster (1.6%), respectively. Painted spiny lobsters were statistically bigger than those of mud spiny lobsters and ornate spiny lobster (P0.05). Finally, the small scale of lobster fisheries management could be divided into 2 stages. First, trainings about the biological knowledge of lobster and the important of sustainable lobster resources management should be arranged. The next step, the meeting of all parties involved in lobster fisheries should be set in order to establish the banning of small size and berried female lobsters. For the fishing ground and period measurement might not be needed if the fishers do not catch small size and gravid female lobsters. Lastly, if the expansion of the lobster fisheries does not occur, the measurement of limiting the catching numbers might not necessarily because the lobsters caught today were little. It is only the by catch of blue swimming crab fisheries.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการประมงกุ้งมังกร (Panulirus spp.) อย่างยั่งยืนเพื่อชุมชนประมง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2560
การประมงกุ้งมังกร (Panulirus spp.) ในเขตจังหวัดระนอง และพังงา ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง การประมงหมึกสายในน่านน้ำไทย การประมงแมงกะพรุนบริเวณจังหวัดระนอง การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประมงหมึกกล้วยในอ่าวไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอในอ่าวไทย การทำประมงลอบหมึกทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรประมงบ้านบางพต และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรประมง การถ่ายทอดองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สู่ชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก