สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบการฟื้นฟูและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านที่ได้มาตรฐาน
อัปสร วิทยประภารัตน์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบการฟื้นฟูและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านที่ได้มาตรฐาน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Community Model For Restoration and Added Value Of Standard medicinal plants and Folk Medicine
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัปสร วิทยประภารัตน์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบการฟื้นฟูและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านที่ได้มาตรฐาน ดำเนินการวิจัยร่วมกับชุมชนบนพื้นที่สูง 3 ชนเผ่า คือ กะเหรี่ยง ม้ง คนเมือง ใน 6 พื้นที่ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยส้มป่อย โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ โครงการขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการขยายผลโครงการหลวงปางมะโอ และโครงการขยายผลโครงการหลวงแม่สอง โดยการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกับเกษตรกรพัฒนาวิธีการผลิต แปรรูป พืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านให้ได้มาตรฐานของสาธารณสุข เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อสำรวจความต้องการตลาดของสินค้าจากพืชสมุนไพรท้องถิ่นและยาพื้นบ้าน และเพื่อสำรวจและรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร และภูมิปัญญาการใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นในชุมชนบนพื้นที่สูงที่อยู่ห่างไกล ผลการดำเนินงานวิจัยชุมชนได้พัฒนาวิธีการผลิต แปรรูปพืชสมุนไพรและยาเป็น GAP 5 ชนิด และปรับปรุงมาตรฐาน GMP 1 แห่ง ช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการได้เองของชุมชนบ้านศรีบุญเรือง 2 แห่ง คือ ศูนย์โอทอป อำเภอท่าวังผา และศูนย์โอทอป จังหวัดน่าน โรงพยาบาล 2 แห่งนำยาพื้นบ้านไปใช้ประโยชน์ 3 ตำรับ ได้แก่ ยาแก้ปวดเมื่อย ปวดเส้นเอ็น ยาอยู่เดือน แก้ผิดเดือน และชาชงผักเชียงดา เป็นที่สนใจของตลาดเอกชน ชุมชนบนพื้นที่สูงที่อยู่ห่างไกล คือ โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่สอง โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนบ้านขุนตื่นน้อย มีความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชสมุนไพรรวม 151 ชนิด องค์ความรู้การใช้พืชสมุนไพรรวม 6 พื้นที่ มีจำนวน 63 อาการโรค 135 ตำรับยาพื้นบ้าน 585 ชนิดพืชสมุนไพร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ และบ้านศรีบุญเรือง โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ ทำการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบการฟื้นฟูและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านที่ได้มาตรฐาน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2556
โครงการวิจัยต่อยอดองค์ความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้าน โครงการย่อยที่ 1 การต่อยอดองค์ความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านในชุมชน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล- โครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล: โครงการ การวิจัยต่อยอดองค์ความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้าน โครงการย่อย 1 การวิจัยต่อยอดองค์ความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้าน การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การวิจัยต่อยอดองค์ความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้าน โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การวิจัยต่อยอดองค์ความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้าน โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยต่อยอดยาพื้นบ้าน การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน สมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน: หูเสือ เวชสำอางสมุนไพร มิติใหม่ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก