สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการปลูกมะม่วงของเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร
วิสิฐศักดิ์ ว่องประสิทธิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการปลูกมะม่วงของเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิสิฐศักดิ์ ว่องประสิทธิ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษา เรื่อง การใช้เทคโนโลยีการปลูกมะม่วงของเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปลูกมะม่วง และปัญหา ข้อเสนอแนะของเกษตรกร ทำการศึกษาโดยใช้ แบบสัมภาษณ์เกษตรกรประชากรที่ทำการศึกษา จำนวน 186 ราย ผลการศึกษามีดังนี้ สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร พบว่า ประชากร ที่ทำการศึกษา ร้อยละ 67.20 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.9 ปี ร้อยละ 43.55 จบการศึกษาชั้น ป.4 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.2 คน ใช้แรงงานในครัวเรือนในแบบสอบถามในการปลูกมะม่วงเฉลี่ย 2.3 คน ใช้แรงงานจ้างเฉลี่ย 3.7 คน มีพื้นที่ปลูกมะม่วงเป็นของตนเองเฉลี่ย 5.3 ไร่ และเป็นพื้นที่เช่าเฉลี่ย 3.9 ไร่ แหล่งความรู้ที่เกษตรกรได้รับร้อยละ 37.10 ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 56.99 เป็นสมาชิกกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีการปลูกมะม่วงของเกษตรกร พื้นที่ปลูกมะม่วง ที่ไม้ผลแล้วเฉลี่ย 6.9 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 3,560.4 กิโลกรัม มีรายได้จากการปลูกมะม่วงเฉลี่ย 36,500.45 บาท พื้นที่ปลูกร้อยละ 94.08 เป็นพื้นที่ลุ่ม พันธุ์มะม่วงที่เกษตรกรปลูกร้อยละ 52.15 ปลูกมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ร้อยละ 94.09 ปลูกแบบยกร่องปลูก ระยะปลูกมะม่วงร้อยละ 52.69 ใช้ระยะ 5x5 เมตร การใส่ปุ๋ย พบว่า ร้อยละ 58.06 ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ในการบำรุงต้นมะม่วง ร้อยละ 70.43 ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อไร่ ในการสร้างตาดอก ร้อยละ 60.75 ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ในการบำรุงผล และร้อยละ 53.23 ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต แหล่งน้ำในการทำสวนมะม่วง พบว่า ร้อยละ 51.62 ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และร้อยละ 94.09 มีน้ำเพียงพอ ในการ ปลูกมะม่วง ร้อยละ 81.17 ให้น้ำโดยปล่อยไปตามร่องสวน ร้อยละ 86.56 ไม่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมขัง เกษตรกรร้อยละ 89.79 ตัดแต่งกิ่งมะม่วงปีละครั้ง และร้อยละ 85.03 ตัดแต่งหลังเก็บผลผลิต ปัญหาโรคและแมลง ร้อยละ 47.85 พบปัญหาโรคราดำ และร้อยละ 46.24 พบปัญหาแมลงวันผลไม้ การกำจัดเศษวัชพืชที่เป็นโรค ร้อยละ 42.47 ทำการเผานอกแปลงปลูกมะม่วง การฉีดพ่นสารเคมีมีการฉีดพ่นสารเคมีในทุกระยะ เกษตรกรร้อยละ 51.08 ทำการบังคับการออกดอกของมะม่วง และร้อยละ 88.16 ใช้สารเคมีบังคับการออกดอก สารเคมีที่ใช้ร้อยละ 80.82 ใช้สารพาโคลบิวทราโซล เกษตรกรร้อยละ 52.15 ไม่ห่อผลมะม่วง วัสดุที่ใช้ในการห่อผล ร้อยละ 48.23 ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อ การคัดผลที่มีตำหนิออก ร้อยละ 97.76 มีการคัดออก เกษตรกรร้อยละ 67.75 ไม่มีการตัดขั้วผลมะม่วง ร้อยละ 56.99 ปฏิบัติการ ในการเก็บเกี่ยวโดยนำผลมะม่วงมาเรียงกันไว้บนวัสดุรองรับ ร้อยละ 73.66 มีการคัดขนาด และร้อยละ 77.38 คัดขนาดเป็น 3 ขนาด เกษตรกรร้อยละ 53.25 ไม่ได้ทำการบ่มมะม่วง ในการบ่มมะม่วง เกษตรกรร้อยละ 79.31 บ่มโดยใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ ผลมะม่วงที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรร้อยละ 55.96 ใช้กระดาษในการห่อผล การขายมะม่วง เกษตรกรร้อยละ 48.92 ขายโดยพ่อค้ามารับซื้อโดยตรง และร้อยละ 87.10 ขายแบบคัดเกรด การบรรจุผลผลิต ร้อยละ 46.77 บรรจุในเข่งตะกร้า เกษตรกร ขายมะม่วงได้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.39 บาท เกษตรกรร้อยละ 30.10 มีปัญหาเรื่องแมลงระบาด ร้อยละ 25.80 มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ และร้อยละ 23.11 มีปัญหาปุ๋ยมีราคาแพง ข้อเสนอแนะ เกษตรกรร้อยละ 16.66 มีข้อเสนอแนะให้มีการฝึกอบรม เรื่อง การป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วง ร้อยละ 13.97 มีข้อเสนอแนะให้มีการรวมกลุ่มกันซื้อปุ๋ยเคมี และร้อยละ 11.29 เสนอแนะให้มีการประกันราคา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: กรุงเทพมหานคร
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการปลูกมะม่วงของเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความคิดเห็นของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีการปลูกอ้อยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี การใช้เทคโนโลยีการปลูกกล้วยไข่ของเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกรจังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก การศึกษาปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาดำ มก.18 ของเกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้เทคโนโลยีการปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกรตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวญี่ปุ่นของเกษตรกรในภาคเหนือตอนบน การใช้เทคโนโลยีการปลูกถั่วเขียวในฤดูแล้งของเกษตรกรอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาดำ มก.18 ของเกษตรกรอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก