สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลคราม (Indigofera L.) ด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล
กมลพร ปานง่อม - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลคราม (Indigofera L.) ด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Genetics diversity and Phylogenetic relationships of Indigofera L. by Molecular marker techniques
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กมลพร ปานง่อม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการเก็บรวมรวบข้อมูลสัณฐานวิทยาจากรายงานการวิจัยของ สไว มัฐผา (2550) พบว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชสกุลครามจำนวน 8 ชนิด 9 ตัวอย่าง I. lacei, I. caloneura, I. sootepensis, I. emmae, I. dosua, I. hendecaphylla var. hendecaphylla, I. linnaei,และ I. hirsuta พบว่าพืชสกุลครามมีสัณฐานวิทยา เป็นไม้พุ่มสูงและเป็นไม้ทอดเลื้อย มีใบประกอบเรียงแบบสลับ ใบย่อยมี 5-11 ใบ มีหูใบรูปสามเหลี่ยมถึงสามเหลี่ยมแคบ กลีบเลี้ยงมีหลอดกลีบรูปถ้วย กลีบดอกมีสีชมพูเข้มหรือสีขาว และเมื่อนำใบอ่อนแห้งมาสกัดดีเอ็นเอด้วยน้ำยาสำเร็จรูป Dneasy Plant Mini Kits และตรวจสอบผลด้วยเครื่องวัดสารพันธุกรรมปริมาณน้อย (Spectrophotometer Nanodrop) ผลการทดลองพบว่าดีเอ็นเอมีค่าความบริสุทธิ์อยู่ระหว่าง 1.75-1.87 และมีปริมาณของดีเอ็นเออยู่ระหว่าง 24.28 – 84.74 นาโนกรัม/ไมโครลิตร จากการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอและหาลำดับเบสในส่วนของ ITS และคลอโรพลาสต์ของพืชสกุลครามและพืชนอกกลุ่ม ผลการทดลองพบว่าไพรเมอร์จำนวน 2 คู่ คือ trnSUGA- trnfMCAU และ rpS162F2- trnKUUU ไม่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในคลอโรพลาสต์ได้ แต่ไพรเมอร์ ITS4_ITS5, trnLC_trnLF, rpL16F71_rpL16R1516, psbA_trnH, trnDGUC_trnEUUC, trnTGGU_ trnYGUA และ trnL_rpL132 สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในส่วนของคลอโรพลาสต์ของพืชสกุลครามได้ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลครามจากลำดับเบสในส่วนของ ITS และคลอโรพลาสต์จากไพรเมอร์ ITS4_ITS5, rpL16F71_rpL16R1516, psbA_trnH, และ trnL-rpL132 เดนโดรแกรมสามารถออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือ พืชนอกกลุ่ม Clitoria sp. กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย I. hendecaphylla var. hendecaphylla, I. linnaei, I. spicata (Hawaii1) และ I. spicata (Hawaii 2) และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย I. lacei, I. caloneura (1), I. caloneura (2), I. sootepensis, I. dosua, I. emmae และ I. hirsuta
บทคัดย่อ (EN): The collection of morphological data of genus Indigofera L. from Sawai Mattpha (2550) which eight species and nine samples namely; I. lacei, I. caloneura, I. sootepensis, I. emmae, I. dosua, I. hendecaphylla var. hendecaphylla, I. linnaei and I. hirsuta were founded in northern part of Thailand. The morphology of the genus were perennial shrubs and scandent, alternate compound leaves, 5-11 leaflets, triangular stipules, cup-shaped calyx. Flower inflorescences with purplish and whitish. The dried leaves were extracted by Dneasy Plant Mini Kits and measured by Spectrophotometer Nanodrop. The results showed that the DNA was purify (OD260/OD280) between 1.75 and 1.87 and the amount of DNA is between 24.28 and 84.74 ng /ml. One primer was used to amplify internal transcribed spacer region (ITS) and eight primers were used to generate chloroplast DNA of genus Indigofera and Clitoria sp. (outgroup). Two primers; trnSUGA_trnfMCAU and rps162F2_trnKUUU do not use to amplify chloroplast DNA and seven primers; ITS4_ITS5, trnLC_trnLF, rpL16F71_rpL16R1516, psbA_trnH, trnDGUC_trnEUUC, trnTGGU_ trnYGUA and trnL_rpL132 can increase the amount of ITS and chloroplast DNA of the genus. Genetic relationships of the genus were investigated by ITS and chloroplast DNA sequences from 4 primers; ITS4-ITS5, rpl16F71_rpl16R1516, psbA_trnH, and trnL-rpL132 can classify plant into 3 groups. Group I comprise of only one specie; Clitoria sp. Group II consists of 4 species; I. hendecaphylla var. hendecaphylla, I. linnaei, I. spicata (Hawaii1) and I. spicata (Hawaii 2) and Group III consists of 6 species; I. lacei, I. caloneura (1), I. caloneura (2), I. sootepensis, I. dosua, I. emmae and I. hirsuta.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลคราม (Indigofera L.) ด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2552
การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าว โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SSR การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของทานตะวันโดยเครื่องหมายโมเลกุลชนิดเอสเอสอาร์และอาร์เอพีดี การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเป็นการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลช้างด้วย เครื่องหมายดีเอ็นเอ การประยุกต์ใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรมในการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชสกุลมะปรางเพื่อพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจำแนกชนิดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล โครงการวิจัยการค้นหาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตจากพันธุกรรมของยางพารา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลฟาแลนอปซิสด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี โครงการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับความต้านทานเชื้อ Corynespora ในยางพารา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก