สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมเชื้อสาเหตุโรคข้าวในสภาพไร่ โดยแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ NSRS 89-24 และ NSRS 89-26
นลินี จาริกภากร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การควบคุมเชื้อสาเหตุโรคข้าวในสภาพไร่ โดยแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ NSRS 89-24 และ NSRS 89-26
ชื่อเรื่อง (EN): Biological Control of Rice diseases by Bacillus subtilis NSRS 89-24 and NSRS 89-26 in Upland Condition
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นลินี จาริกภากร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nalinee Charigkapakorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการทดลองแยก จำแนก และคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์จากเมล็ดพันธุ์ข้าว 11 สายพันธุ์ในภาคใต้ เพื่อให้ได้สายพันธุ์เชื้อแบคทีเรียที่สามารถนำมาใช้ควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี ได้ประสบผลสำเร็จในการค้นพบสายพันธุ์เชื้อ Bacillus subtilis NSRS 8-24 และ NSRS 89-26 ซึ่งได้จากการคัดแยกเชื้อแบคทีเรียจากในเปลือกเมล็ดข้าวพันธุ์ช่อเบา และนับเป็นรายงานครั้งแรกสำหรับการป้องกันกำจัดโรคข้าวโดยชีววิธีใช้เชื้อแบคทีเรียทั้งสองสายพันธุ์นี้ ได้ทำการเก็บจากสถานีทดลองข้าวนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2530 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าว Xanthomonas campestris pv. oryae ในระดับห้องปฏิบัติการ และภายใต้สภาพเรือนปลูกทดลอง นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคข้าว 7 ชนิด ในระดับห้องปฏิบัติการ ส่วนการทดสอบการคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวพบว่า มีความสามารถลดอัตราการเกิดโรคที่ติดมากับเมล็ด และช่วยให้ผลผลิตที่ได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การศึกษาเทคนิคการผลิตและทดสอบคุณภาพของผงเชื้อแบคทีเรียที่สามารถนำไปใช้ในสภาพไร่นา โดยทดลองผลิตเชื้อในสภาพผงแห้ง ที่สามารถเก็บรักษาในสภาพอุณหภุมิห้องได้ดีเกินกว่าหนึ่งปีขึ้นไป และนำผงเชื้อแบคทีเรียไปทดสอบในสภาพธรรมชาติ พบว่าสามารถควบคุมเชื้อสาเหตุโรคข้าว และอัตราการเกิดโรคได้ดีมากในสภาพไร่
บทคัดย่อ (EN): Two strain of Bacillus subtilis NSRS 89-24 and NSRS 89-26 were origninally isolated from. a native rice seed, Choa Boa, which was collected from Nakornsrithamarat Rice Experiment Station in 1987. these two strains showed the remarkable results in inhibiting Xanthomonas camperstris pv. oryzae in vitro and reduced the incidence of lesions on the inoculated leaves in teh greenhouse. In vitro tests, these bacteria and reduced the incidence of lesions on the inoculated leaves in the greenhouse. In vitro tests, these bacteria exhibited strong antagonism to field isolates of seven fungal pathogens of rice. Bacterization resulted in the effective biological control of seed borne pathogens of rice. The enhance growth of rice from bacteriatreated seed in attributed to supress of seed borne pathogens and also exhibited some incidence in stimulation of the growth of the plats. In upland condition, using a mixture of bacillus in applying to aerial surfaces of rice plants and brodadcasting into soil before seeding, the antagonista showed a remarkable ability to reduce the disease incidence. These investigations leas to the research in which to develop methodology and technology in producing bacterial and fungal inoculum which could be stored in room temperature over a year for the utilization in farmers' needs.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมเชื้อสาเหตุโรคข้าวในสภาพไร่ โดยแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ NSRS 89-24 และ NSRS 89-26
กรมวิชาการเกษตร
2537
เอกสารแนบ 1
การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว การควบคุมโรคข้าวโดยวิธีคลุกเมล็ดด้วยเชื้อ Bacillus subtilis โภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกนึ่งสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 การพัฒนาชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24 ในการควบคุมโรรเหี่ยวของของที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia solanacearum การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การพัฒนาช่อดอกของสายพันธุ์เรณูเป็นหมัน (สายพันธุ์ A) และสายพันธุ์แก้การเป็นหมัน (สายพันธุ์ R) ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6 ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์จากแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1 ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก