สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วแปยีให้เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
นายสุริยนต์ ดีดเหล็ก - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วแปยีให้เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Production Technology of Lablab Bean in Mae Hong Son
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายสุริยนต์ ดีดเหล็ก
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุริยนต์ ดีดเหล็ก
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วแปยีให้เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ด้านเขตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วแปยี ดำเนินการภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน ในปี 2554-2556 มี 4 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 ศึกษาช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสมสำหรับถั่วแปยี โดยวางแผนการทดทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำโดย กรรมวิธีทดสอบ ได้แก่ช่วงเวลาการปลูกถั่วแปยีที่แตกต่างกัน 5 ช่วงเวลาได้แก่ 1.วันที่ 16 สิงหาคม 2. วันที่ 31 สิงหาคม 3. วันที่ 15 กันยายน 4. วันที่ 30 กันยายน และ 5.วันที่ 15 ตุลาคม การทดลองที่ 2 ศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมของถั่วแปยี โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ กรรมวิธีประกอบด้วย ระยะปลูกที่แตกต่างกัน 4 ระยะ ได้แก่ระยะ 0.50x0.50, 0.75x0.50, 0.75x0.75 และ 1.00x0.75 เมตร การทดลองที่ 3 อัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วแปยี โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ กรรมวิธีประกอบด้วย อัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) ที่ต่างกัน 4 ระดับ คือ 0, 6, 12 และ 24 กิโลกรัม N ต่อไร่ โดยแต่ละกรรมวิธีใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ในอัตราที่เท่ากัน คือ 9 กิโลกรัม P2O5 ต่อไร่ และ 6 กิโลกรัม K2O ต่อไร่ ตามลำดับ การทดลองที่ 4 ศึกษาระยะปลูกถั่วแปยีที่ปลูกร่วมกับถั่วเหลือง โดยวางแผนการทดทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธีประกอบด้วยการปลูกถั่วแปยีระยะต่างๆร่วมกับการปลูกถั่วเหลืองพันธุ์ เชียงใหม่ 60 ที่ใช้ระยะปลูก 0.25x0.25 เมตร ได้แก่ 1.ปลูกถั่วแปยีระยะปลูก 0.75x0.50 เมตร อย่างเดียว 2.ปลูกถั่วแปยีระยะปลูก 0.75x0.50 เมตรร่วมกับถั่วเหลือง 3.ปลูกถั่วแปยีระยะปลูก 0.75x0.75 เมตรร่วมกับถั่วเหลือง 4.ปลูกถั่วแปยีระยะปลูก 1.00x0.75 เมตร ร่วมกับถั่วเหลือง 5.ปลูกถั่วแปยีระยะปลูก 1.00x1.00 เมตร ร่วมกับถั่วเหลือง โดยแต่ละการทดลองใช้ขนาดแปลงย่อย 6x9 ตารางเมตร ปลูกถั่วแปยีด้วยวิธีการหยอดเป็นหลุมๆละ 3-4 เมล็ด เมื่อถั่วแปยีงอกถอนให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม ผลการทดลอง พบว่า ถั่วแปยีสามารถปลูกได้ในช่วงวันที่ 16 สิงหาคมถึงช่วงวันที่ 15 กันยายน จะทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่และน้ำหนักเฉลี่ย 100 เมล็ด สูงสุดคือ 335 กิโลกรัมต่อไร่ และ 42.2 กรัม ตามลำดับ หากปลูกหลังจากนี้จะทำให้ผลผลิตต่อไร่และน้ำหนัก 100 เมล็ดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับระยะปลูกถั่วแปยีที่เหมาะสมควรใช้ระยะ 0.75x0.75 เมตร ถึง1.0x0.75 เมตร จะทำให้ผลผลิตต่อไร่ถั่วแปยีสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 6,12 และ 24 ทำให้ผลผลิตและน้ำหนัก 100 เมล็ดสูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ควรมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้กับถั่วแปยี 6 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพราะมีค่า BCR และ MRR สูงสุด นอกจากนี้ ถั่วแปยียังสามารปลูกร่วมกับถั่วเหลืองได้โดยใช้ระยะปลูกถั่วแปยี 1.00x0.75 เมตร และใช้ระยะปลูกถั่วเหลือง 0.25x0.25 เมตร ซึ่งทำให้ผลผลิตถั่วแปยี ผลผลิตถั่วเหลืองค่า BCR และ MRR สูงสุด
บทคัดย่อ (EN): The study of lablab bean production technology established in Mae Hong Son province during 2011-2013 within research and development of economic crops in northern part of Thailand. It consisted of 4 experiments of cultural practice: planting date, spacing of cultivar, applying nitrogen fertilizer and intercropping of lablab bean and soybean that conducted in 6.0 x 9.0 m of plot size with 2 plants of lablab bean per hole. The suitable planting date studied in randomize block design (RCBD) with 4 replications that consisted of 5 planting dates : 16th , 31st August, 15th ,30th September and 15th October. The result found that highest yield of lablab bean and weight of 100 seed were achieved when planted during 16th August to 15th September as 235 kg/rai and 42.2 g, respectively. For the spacing of cultivar, with 0.75x0.75 to 1.00x0.75 m, yield of lablab bean were significantly higher than the spacing of 0.50x0.50, 0.75x0.5 and 1.0x1.0 m. The trail on applying 4 rates of N-fertilizer with 9 kg/rai P2O5 and 6 kg/rai K2O in RCBD with 5 replications, was found that 6, 12 and 24 kg/rai N were affected higher weight of 100 seed than non applying N-fertilizer. Applying 6 kg/rai N that resulted maximum BCR and MRR. By intercropping lablab bean and soybean, the system of 1.0 x 0.75 m of lablab bean and 0.25 x 0.25 m of soybean produced the highest yield of lablab bean and got maximum BCR and MRR .
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วแปยีให้เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงเฉพาะพื้นที่ การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลิ้นจี่เฉพาะพื้นที่ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันแกวในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย โครงการวิจัยศึกษาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก