สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
นางรัตน์ติยา พวงแก้ว - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Test on Appropriated Technologies for Para Rubber (Hevea brasiliensis) Production in the Lower Northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางรัตน์ติยา พวงแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินการทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราก่อนการเปิดกรีด โดยทดสอบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร) เปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกร พบว่า กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหาร N, P2O5 และ K2O น้อยกว่าวิธีเกษตรกร 8.82 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้มีต้นทุนค่าปุ๋ยต่ำกว่าวิธีเกษตรกร 268.98 บาทต่อไร่ เมื่อวัดการเจริญเติบโต พบว่า กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีเส้นรอบลำต้นต้นเพิ่มขึ้น 8.75 เซนติเมตรต่อปี มากกว่าวิธีของเกษตรกร เพิ่มขึ้น 8.08 เซนติเมตรต่อปี การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราหลังการเปิดกรีด ดำเนินการทดสอบเช่นเดียวกัน พบว่า แปลงเกษตรกร จ.บุรีรัมย์ ในกรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าวิธีเกษตรกร 2.91 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้มีต้นทุนค่าปุ๋ยต่ำกว่าวิธีเกษตรกร 533.15 บาทต่อไร่ ขณะที่แปลงเกษตรกร จ.อุบลฯ กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าวิธีเกษตรกร 6.70 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนค่าปุ๋ยสูงกว่าวิธีเกษตรกร 340.29 บาทต่อไร่ จากข้อมูลผลผิต พบว่า กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตยางแห้ง และให้ผลตอบแทนมากกว่าวิธีเกษตรกร โดยปี 2554-2556 กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิต มากกว่าวิธีเกษตรกร 21.50 30.73 และ 3.65 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ กรรมวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปี 2554 และ 2555 มีผลตอบแทนมากกว่าวิธีเกษตรกร 2,866.16 และ 2,892.10 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นเทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตยางพารา จึงควรแนะนำให้กับเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราก่อนและหลังเปิดกรีดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292635
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก