สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ
ทองศรี อิ่มยิ้ม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทองศรี อิ่มยิ้ม
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม การใช้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ ปัญหา รวมทั้งข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะลิ ในจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิษณุโลก และนครปฐม จำนวนทั้งสิ้น 324 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่ามัธยฐาน ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45 ปี จบการศึกษาระดับประถม มีประสบการณ์ในการปลูกมะลิ เฉลี่ย 7.20 ปี มีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ย 7.62 ปี จำนวนแรงงานทำสวน เฉลี่ย 6.80 คน เป็นแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.28 คน แรงงานจ้าง เฉลี่ย 5.20 คน พื้นที่ปลูกมะลิ เฉลี่ย 14.80 ไร่ มีรายได้ เฉลี่ย 36,385 บาทต่อปี ต้นทุนในการปลูกมะลิ เฉลี่ย 62,180 บาทต่อไร่ โดยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีต้นทุนในการผลิตเป็นค่าแรงงานมากถึง 57,500 บาทต่อไร่ คิดเป็น ร้อยละ 92.47 เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในระดับดี โดยเกษตรกรมีความรู้มากที่สุด คือ รู้จักการจำแนกแมลงศัตรูพืชได้ การใช้สารเคมีกำจัดหนอนเจาะมะลิ รู้จักการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย ได้แก่ การระมัดระวังละอองสารเคมี ภาชนะบรรจุสารเคมีไม่เก็บมาใช้อีก รู้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้ใช้สารเคมี ได้แก่ การใช้สารทดแทนการใช้สารเคมีช่วยลดปริมาณศัตรูพืช ได้แก่ การกางมุ้งตาข่าย การใช้สารสะเดา การใช้กับดักกาวเหนียว การใช้สารสกัดชีวภาพ ด้านการปฏิบัติของเกษตรกร พบว่า การปฏิบัติของเกษตรกรที่ถูกต้องต่อการใช้เทคโนโลยี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแต่ละประเด็นที่มากที่สุด คือ วิธีการผสมสารเคมีที่ถูกต้อง ระยะเวลาในการพ่นสารเคมี มีการอ่านฉลากก่อนการใช้สารเคมี ไม่ซื้อสารเคมีที่ไม่มีฉลาก ตามเพื่อนบ้าน ไม่ใช้สารเคมีผสมกับสารสกัดชีวภาพ ในส่วนของการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ใช้สารเคมี เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช คือ การตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อลดปริมาณของศัตรูพืช ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีป้องกันกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่ขาดแคลนแรงงาน รองลงมา คือ สารเคมีราคาแพง พบศัตรูพืชมากในฤดูหนาว ศัตรูพืชดื้อยา เกษตรกรมีข้อเสนอแนะในด้านเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช คือ ต้องการให้มีการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการป้องกันกำจัดศัตรูมะลิใหม่ๆ โดยเฉพาะการป้องกันกำจัดหนอนเจาะดอกมะลิ ให้มีการจัดทำแปลงทดสอบการใช้เทคโนโลยีป้องกันกำจัดศัตรูมะลิที่สามารถทดแทนการใช้สารเคมีที่ได้ผล ได้แก่ ทดสอบการใช้กับดักกาวเหนียว การใช้กับดักแสงไฟ การกางมุ้งตาข่าย การใช้สารสกัดชีวภาพ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรอำเภอโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ การใช้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูถั่วลิสงของเกษตรกร อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย การยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2543 การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จังหวัดลำพูน สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกร ตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก