สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ
ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Research Project and Development on Ginger Production Technology
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตขิงคุณภาพ ทำการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ และศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ขิง เพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตขิงให้ได้คุณภาพ ดำเนินการปี 2554–2558 พบว่า การจัดการโรคเหี่ยวขิงจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum แบบผสมผสาน โดยการปรับปรุงดิน (soil amendment) ด้วยการอบดินด้วย ยูเรีย:ปูนขาว อัตรา 80:800 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อลดประชากรของแบคทีเรีย R. solanacearum ก่อนปลูกขิงและในระหว่างปลูกขิง ร่วมกับการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ดินรากยาสูบ no.4 ในแปลงปลูก สามารถทำการปลูกขิงและเก็บผลผลิตขิงได้ 960 กโลกรัมต่อไร่ และพบการเกิดโรคเหี่ยวในแปลง 60 เปอร์เซ็นต์ในการปลูกขิงพื้นที่ปลูกเดิมในปีที่ 3 ขณะที่แปลงควบคุม พบการเกิดโรคถึง 100 เปอร์เซ็นต์และไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ นอกจากนี้การใช้พืชตระกูลกะหล่ำเป็นสารรมชีวภาพ และการอบดินด้วยแสงอาทิตย์นั้น พบว่าการใช้การอบดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับการรมดินด้วยพืชตระกูลกะหล่ำ สามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวขิงได้นาน 90 วัน การสำรวจแมลงศัตรูขิง พบเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งเป็นแมลงศัตรูขิงที่พบทั้งในแปลงปลูกและในแหล่งรับซื้อ ด้านการจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและขนาดของหัวขิง พบว่า การใช้ปุ๋ย 46-0-0, 0-46-0 และ 0-0-50 อัตรา 60, 12 และ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตขิงเพิ่มขึ้น 10-25 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยลง 46 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการเก็บรักษาหัวพันธุ์ขิง พบว่า การเก็บรักษาหัวพันธุ์ขิงโดยไม่มีวัสดุคลุม สามารถเก็บหัวพันธุ์ได้นาน 3 เดือน โดยมีอัตราการงอก 90 เปอร์เซ็นต์ และไม่พบการงอกของหัวพันธุ์ขิงที่เก็บรักษาตั้งแต่ 4 เดือน ขึ้นไป การผลิตหัวพันธุ์ขิงเพื่อผลิตหัวพันธุ์ขิงให้ปลอดจากโรคเหี่ยวจากเชื้อแบคทีเรีย R. solanacearum นั้น การใช้หัวพันธุ์ขิง (minirhizome) ที่ผลิตจากต้นกล้าขิงที่ได้จากการเลี้ยงเนื้อเยื่อ ที่ระยะปลูก 10x15 เซนติเมตร และเก็บเกี่ยวอายุ 5 เดือน มาผลิตหัวพันธุ์ปลอดโรค (G0) ใช้ระยะปลูก 20x25 ซม. และเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ (G0) ได้เมื่ออายุ 7 เดือน การผลิตหัวพันธุ์ขิงปลอดโรค (G1) ในสภาพไร่ และ การผลิตหัวพันธุ์ขิงปลอดโรค (G2) ในแปลงเกษตร ใช้เทคโนโลยีการจัดการโรคเหี่ยวขิงแบบผสมผสาน และการจัดการปุ๋ย พบว่าหัวพันธุ์ขิง G1 และ G2 ที่ได้ตรวจไม่พบเชื้อโรคเหี่ยว และมีต้นทุนการผลิตหัวพันธุ์ขิงปลอดโรค (G1) 1.09 บาทต่อแง่ง และต้นทุนการผลิตหัวพันธุ์ขิงปลอดโรค (G2) ลดลงเหลือ 0.73-0.81 บาทต่อแง่ง แต่ยังเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหัวพันธุ์ที่เกษตรกรใช้
บทคัดย่อ (EN): Research and development on ginger production technology of quality. The study production technology quality ginger and education technology ginger rhizome to find the right technology to produce quality ginger that has taken years 2554-2558. The management of bacterial wilt of ginger Ralstonia solanacearum by soil amendment with soil fumigation with urea: lime rate of 80 : 800 kg/rai to reduce the population of bacteria R. solanacearum before planting ginger and during ginger plant. Together with the use of antagonistic bacteria Bacillus subtilis strain tobacco root soil no.4. It can be planted ginger and ginger harvest was 960 kg/rai. And wilt disease in 60 percent of the crop planted ginger repeat the same third years. While the control found the disease reached 100 percent and could not keep productivity. In addition, the use of cruciferous plants as bio-fumigant with soil solarization that can control bacterial wilt of ginger for 90 days. The survey ginger pests, rhizome scale and mealy bugs are common pests found in ginger fileds and the resources to purchase. Fertilizer to increase productivity and the size of the ginger found that the fertilizer 46-0-0, 0-0-50 and 0-46-0 rate 60, 12, 100 kg/rai. Ginger yields increased 10-25% and can reduce the cost of fertilizer by 46%. The storage ginger rhizome that keeping ginger rhizome without cover. It can store up to third months, with the rhizome germination rate of 90 percent and no germination of ginger rhizome storage over four months. Production ginger rhizome to produce ginger rhizome is free from bacterial wilt R. solanacearum. Use of ginger rhizome (Minirhizome) made from ginger plantlets from tissue spacing of 10x15 cm and 5 months old harvest to produce disease-free rhizome (G0) using the spacing of 20x25 cm and harvested rhizome (G0) at the age of 7 months. For the production of disease-free ginger rhizome (G1) in the fields and produce disease-free ginger rhizome (G2) in agricultural plots. Using integrated management of ginger bacterial wilt and fertilizer management found that ginger rhizome G1 and G2 were undetected bacteria wilt. The cost of producing disease-free ginger rhizome (G1) 1.09 baht/stem and the cost of producing disease-free ginger rhizome (G2) 0.73-0.81 baht/stem, but the cost is relatively high compared to the ginger rhizome that farmers using.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกระจายการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเงาะคุณภาพ เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่คุณภาพเพื่อการส่งออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก