สืบค้นงานวิจัย
แผนพัฒนาการวิจัยข้าวโพดเทียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน
รวีวรรณ เดื่อมขันมณี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ชื่อเรื่อง: แผนพัฒนาการวิจัยข้าวโพดเทียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Sustainable Development of Tein Corn in Phranakhon Si Ayutthaya Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รวีวรรณ เดื่อมขันมณี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศลักษณะ ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา ไม่มีภูเขา ไม่มีป่าไม้ มีแม่น้ำไหลผ่าน 4 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย รวมความยาวประมาณ 200 เมตร มีลำคลองน้อยใหญ่ ประมาณ 1254 คลอง เชื่อมต่อกับแม่น้ำเกือบทั่วบริเวณพื้นที่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญ ขณะเดียวกันพื้นที่ร้อยละ 57.7 เป็นพื้นที่การเกษตรที่มีระบบชลประทานเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงเกือบทั่วพื้นที่ ประชากรร้อยละ 17.8 มีอาชีพเกษตรกร ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจึงเน้นการท่องเที่ยว แหล่งอาหาร การเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนและอุตสาหกรรม ดังวิสัยทัศน์ของจังหวัด “จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นนครแห่งการท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งอาหารที่มีคุณภาพ เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด เมืองน่าอยู่ ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน” (สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2550) แม้ว่าพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นพื้นที่นา แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่มีแม่น้ำไหลผ่านและมีลำคลองน้อยใหญ่เชื่อมต่อแม่น้ำเกือบทั่วพื้นที่ พื้นที่ส่วนหนึ่งจึงมีความอุดมสมบูรณ์ ที่เรียกว่า “ดินน้ำไหลทรายมูล” ซึ่งเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายละเอียด มีสีน้ำตาล เกิดจากการทับถมเป็นชั้นของตะกอนลำน้ำ มีการระบายน้ำปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง pH 5.0-7.0 มีความเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ และพืชผัก (กรมพัฒนาที่ดิน 2541) ซึ่งเหมาะสำหรับปลูกข้าวโพดเทียนให้มีคุณภาพ จึงเป็นพืชหนึ่งที่มีศักยภาพการผลิตสูงในการผลิตและสร้างรายได้สู่เกษตรกร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (2551) ได้ตระหนักถึงความอยู่ดี มีสุขของเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย และมีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้วยองค์ความรู้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ร่วมพิจารณาวางแผนการและร่วมติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ได้แต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน และได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลการผลิตและปัญหาการผลิตของข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีพื้นที่ปลูกมากกว่า 1000 ไร่แหล่งปลูกสำคัญจึงอยู่ริมน้ำ และ เป็นพืชที่มีผลตอบแทนการผลิตสูงให้ผลตอบแทน 10000-15000 บาทต่อไร่ ผลผลิตส่วนใหญ่บริโภคในท้องถิ่น และตลาดมีโอกาสขยายได้อีกมาก แต่เกษตรกรยังมีปัญหาในการผลิตที่สำคัญ เช่น การขาดแคลนพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ การระบาดของโรคและแมลง เนื่องจากการปลูกติดต่อกันในพื้นที่เดิม ต้นทุนการผลิตสูง การใช้สารเคมีทางการเกษตรซึ่งอาจปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำ การขยายของสังคมเมือง และการจัดการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นต้น คณะทำงานได้วิเคราะห์ศักยภาพ และสภาพแวดล้อม (SWOT AnalySis) ของการผลิตข้าวโพดเทียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไว้ดังนี้ จุดอ่อน (weakness) ? ระบาดของโรคและแมลง ? พันธุ์มีความอ่อนแอต่อโรค เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ? ต้นทุนการผลิตสูง ? พื้นที่การผลิตถูกน้ำท่วม ? เกษตรกรมีอายุมาก ? ตลาดอยู่ในวงจำกัด ? ดินขาดความสมบูรณ์ ปลูกต่อเนื่อง ข้อจำกัด (Threats) ? แข่งขันกับข้าวโพดฝักสดอื่นๆ เช่น ข้าวโพดหวาน ? ขาดแคลนแรงงาน ? ไม่มีผู้รับช่วงการผลิตต่อ ? ปัจจัยการผลิตราคาแพง ? พื้นที่การผลิตลดลง จุดแข็ง (strength) ? เกษตรกรผลิตต่อเนื่องยาวนาน มีชื่อเสียง ? เกษตรกรมีพันธุ์ของตนเองในตลาดมีพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆ ? เป็นพืชอายุสั้น ปลูกง่าย ใช้สารเคมีน้อย ปลอดภัยจากสารพิษ ความเสี่ยงต่ำ เกษตรกรมีเทคโนโลยีการผลิต ? พื้นที่ผลิตอยู่ใกล้แหล่งน้ำ มีชลประทาน ? รสชาติดี เป็นที่ต้องการในท้องถิ่น ? เชื้อพันธุกรรมมีความหลากหลาย สีขนาด รสชาติ โอกาส (Opportunity) ? นโยบายรัฐสนับสนุนการขึ้นทะเบียนพันธุ์ท้องถิ่น และการรับรองแหล่งผลิต ? นโยบายการผลิตอาหารคุณภาพมีระบบ GAP ? นโยบายการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน วิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง ? ผู้บริโภคตระหนักถึงความปลอดภัยอาหาร ? จังหวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว/นักท่องเที่ยวมีกำลังซื้อ แม้ว่าข้าวโพดเทียนพืชที่มีผลตอบแทนการผลิตสูง มีศักยภาพสูงในการเพิ่มพื้นที่การผลิต แต่หากดำเนินการในรูปแบบการส่งเสริมให้เกษตรกรเพื่อเพิ่มที่การผลิตเพียงด้านเดียว ในอนาคตอาจนำไปสูงผลผลิตล้นตลาด ดังที่ประสบกับการส่งเสริมการปลูกพืชอื่นๆ ที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ดังนั้นแนวทางในการพัฒนาการผลิตข้าวโพดเทียนในจังหวัดพนระนครศรีอยุธยา จึงควรเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดโดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง เช่น พื้นที่ปลูกตำบลบ้านเกาะกับกลุ่มโบราณสถาน เช่น วัดมเหยงค์ วัดกุฎีดาว วัดอโยธยา ซึ่งโบราณสถานสำคัญ และคลองหันตราซึ่งเป็นคลองโบราณที่น่าจะได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ และสร้างโมเดลการตลาดที่เหมาะสม เพื่อให้มีการกระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ สถานที่ขาย การประชาสัมพันธ์ ร่วมกับการปรับเทคโนโลยีในไร่นาของเกษตรกรทั้งพันธุ์พืช และการปลูกการดูแลรักษาที่ปลอดภัยจากสารเคมี โดยบูรณาการองค์ความรู้ให้สอดคล้องกัน พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถพัฒนารูปแบบสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเพื่อการสร้างรายได้ให้คุ้มค่ากับการลงทุน คณะนักวิจัยจึงจัดทำ “แผนพัฒนาการวิจัยข้าวโพดเทียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแบบยั่งยืน” โดยเน้นให้เกษตรกรมีส่วนร่วม เพื่อให้การผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความยั่งยืน ซึ่งผลจากการดำเนินการจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีถ่ายทอดสู่เกษตรกร โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ ชุมชนมีความเข้มแข็ง เกษตรกรมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ มีกระบวนการเรียนรู้ และจัดการความรู้ เป็นเครือข่ายร่วมกันกับส่วนราชการอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง ซึ่งนำไปสู่การผลิตข้าวโพดข้าวเหนียว/เทียน โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ปลอดภัยจากสารเคมี เป็นมิตรกับนิเวศน์ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถผลิตได้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แผนพัฒนาการวิจัยข้าวโพดเทียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
สมรรถนะการรวมตัวของข้าวโพดเทียน 10 พันธุ์ ผลของการใช้กากเมล็ดสบู่ดำต่อสมบัติบางประการของดิน และผลผลิตของข้าวโพดเทียน ต้นทุนการทําธุรกิจข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ ผลของวิธีการจัดการวัชพืชแบบต่าง ๆ ต่อการให้ผลผลิตข้าวโพด พัฒนาการวิเคราะห์โปรตีนในอาหาร พัฒนาการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดพิษณุโลก ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตของถั่วลิสง และข้าวโพดเมื่อปลูกพืชทั้งสองร่วมกัน สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตเบียร์ด้วยข้าวโพดเพาะงอก ผลของไคโตซานและไทอะมีโทแซมต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ การศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกล้วยไม้ไทยเอื้องแซะ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก