สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับปลูกพืชแบบไม่ไถเตรียมดินสำหรับระบบเกษตรอินทรีย์หลังนา
รัตนา การุญบุญญานันท์ - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับปลูกพืชแบบไม่ไถเตรียมดินสำหรับระบบเกษตรอินทรีย์หลังนา
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development of no-tillage planting machine for after-rice organic agricultural system
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนา การุญบุญญานันท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เครื่องปลูกพืชหลังนาแบบฟางคลุม เป็นเครื่องจักรที่ออกแบบเพื่อลดการเผาฟางในนาข้าว เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน และช่วยให้การปลูกพืชหมุนเวียนหลังนาสามารถทำได้ง่ายขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องจักรสำหรับปลูกพืชแบบไม่ไถเตรียมดินสำหรับระบบเกษตรอินทรีย์หลังนา และพัฒนากระบวนการเพาะปลูกถั่วเขียวหลังนาข้าวอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน จากผลการทดสอบกรรมวิธีการปลูกถั่วเขียวหลังนา พบว่า การมีฟางข้าวกระจายปกคลุมอยู่บนผิวดินสามารถลดปริมาณวัชพืชและสามารถลดการสูญเสียความชื้นจากผิวดินได้ แต่ ให้ผลผลิตของถั่วเขียวน้อยกว่าการเอาฟางออก ซึ่งอาจเกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของฟางข้าวทำให้ต้นถั่วเขียวขาดธาตุอาหารไนโตรเจน เครื่องปลูกพืชหลังนาแบบฟางคลุมที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ สามารถทำงานในแปลงนาข้าวที่เก็บเกี่ยวด้วยรถเกี่ยวนวดข้าวได้โดยที่ไม่ต้องเผาฟางหรือเตรียมดินก่อนเพาะปลูก เครื่องปลูกพืชหลังนาแบบฟางคลุม แบบต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์นี้ ประกอบด้วย ชุดโครงสร้างหลัก ชุดส่งถ่ายกำลัง ชุดสับฟางและเคลื่อนย้ายฟาง ชุดพรวนดิน ชุดหยอดเมล็ดพันธุ์พืช และชุดปรับระดับความลึก มีหลักการทำงานคือจะทำการสับตอซังและฟางข้าวพร้อมกับย้ายฟาง พรวนดิน หยอดเมล็ดพันธุ์ลงหลุมได้อย่างแม่นยำ และกระจายฟางปกคลุมอยู่บนผิวดิน ชุดหยอดเมล็ดพันธุ์พืชถูกออกแบบให้แต่ละชุดแยกเป็นอิสระ เพื่อให้สะดวกในการปรับระยะห่างระหว่างแถว และการเพิ่มหรือลดจำนวนแถว มีอุปกรณ์แหวกดินด้านข้างติดกับโครงของชุดหยอดเมล็ดพันธุ์ ถังบรรจุเมล็ดพันธุ์ขนาดบรรจุถังละ 5 กิโลกรัม เพลาลูกหยอดเมล็ดถูกขับเคลื่อนด้วยใบจานเปิดร่องแบบหยักขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว 12 หยัก ผ่านโซ่และเฟืองโซ่ ระยะห่างระหว่างหลุมสามารถปรับด้วยการปรับอัตราทดของเฟืองโซ่ และออกแบบให้เมล็ดพันธุ์หล่นลงไปรอที่ช่องทางเปิดปล่อยเมล็ด และรอจังหวะที่ฝาปิดช่องทางปล่อยเมล็ดเปิดออก เมล็ดจึงจะสามารถหล่นลงสู่ดินเป็นกลุ่มได้อย่างแม่นยำ ผลการทดสอบเครื่องปลูกพืชหลังนาแบบฟางคลุมโดยหยอดถั่วเขียวที่ระยะห่างระหว่างแถว 50 เซนติเมตร จำนวน 4 แถว ใช้รถแทรกเตอร์ขนาด 100 แรงม้า เป็นต้นกำลัง ขนาดแปลงทดสอบ 20 เมตร x 40 เมตร พบว่า ที่ความเร็วในการเคลื่อนที่ 0.30 เมตรต่อวินาที มีความสามารถในการทำงาน 0.82 ไร่ต่อชั่วโมง ใช้อัตราการหยอดเมล็ดพันธุ์ 4.50 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 7 ลิตรต่อไร่ จุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องปลูกพืชหลังนาแบบฟางคลุม 170.3 ไร่ต่อปี เกษตรกรให้ความสนใจในการนำไปใช้ประโยชน์ และได้ขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ชุดเครื่องปลูกพืชหลังนา วันที่ 27 สิงหาคม 2562 เลขที่คำขอสิทธิบัตร 1901005276
บทคัดย่อ (EN): The mulching after-rice planter was designed to reduce the paddy field burning, increase the soil organic matter, and reduce the planting process of crop rotation. The objectives of this study are to develop the no-tillage planting machine for after-rice organic agricultural system and to study the process of mung bean planting in rice organic field for soil improvement. The experiment showed that the rice straw mulching had reduced the quantity of weed and reduced the loss of soil moisture content of the top soil but the yield of mung bean was lower than the bare field, probably due to denitrification process causing nitrogen deprivation of the crop. The mulching after-rice planter was developed to work on paddy field harvested by the combine harvester without burning the paddy field or land preparation. The mulching after-rice planter mounted to agricultural tractor consists of mainframe, power transmission system, rice straw chopping and moving devices, rotary tiller, planter and height adjusting wheels. The principle of this planter can be operated by chopping the straw and stubble, moving the chopped straw, tillage, precision seeding, and mulching the chopped straw on the field. The individual sets of planter were designed to enable row spacing adjustment, and the planter adding or removal. Each planter had a coulter installed on its frame. The capacity of seed hopper was 5 kg per each hopper. The seed metering mechanism is controlled by the rotation of the seed metering shaft driven by the 14-inch 12-notch notched disc furrow opener, via chain and sprockets; within-row spacing was adjusted by the ratio of sprockets, when the seed metering device rotated, the seeds fell into the seed tube and waited at the seed drop opener while the seed drop plate closed, until, the seed drop plate opened, letting the seeds fall into the soil. The performance test of mulching after-rice planter, 4 rows planter, mounted to 100 hp tractor for planting mung bean at the row spacing of 50 centimetres in the plot size of 20 metres x 40 metres. The result showed that, at the travel speed of 0.30 m/s, field performance was 0.82 rai/h, seeding rate was 4.50 kg/rai, and fuel consumption rate was 7 litre/rai. Break-even point of using the mulching after-rice planter was 170.3 rai/year. The farmers were interested in using this machine. The patent for this machine was applied as “After-rice planter”, August 27, 2019, No. 1901005276.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561-08-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562-08-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2561
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP สิทธิบัตรการประดิษฐ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ ชุดเครื่องปลูกพืชหลังนา
เลขที่คำขอ 1901005276
วันที่ยื่นคำขอ 2019-08-27 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน
เลขที่จดทะเบียน
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับปลูกพืชแบบไม่ไถเตรียมดินสำหรับระบบเกษตรอินทรีย์หลังนา
มหาวิทยาลัยนเรศวร
14 สิงหาคม 2562
การวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับปลูกพืชแบบไม่ไถเตรียมดินสำหรับระบบเกษตรอินทรีย์หลังนา วิจัยและพัฒนาการปลูกระบบ Aeroporic การผลิตเมล็ดผักในระบบเกษตรอินทรีย์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักในระบบเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน รูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาระบบโปรแกรมเครื่องมือทางการเงินของกลุ่มเกษตรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ พฤติกรรมของธาตุฟอสฟอรัสในดินในระบบเกษตรแบบประณีต ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการสลายตัวของสารเคมีตกค้างทางการเกษตรและความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อกำหนดระยะเวลาปรับเปลี่ยนสำหรับการผลิตแบบอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก