สืบค้นงานวิจัย
ผลของอายุการตัดที่มีต่อคุณค่าทางโภชนะและการใช้ประโยชน์ได้ของหญ้ากินนีมอมบาซาในแพะ
สดุดี พงษ์เพียจันทร์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ผลของอายุการตัดที่มีต่อคุณค่าทางโภชนะและการใช้ประโยชน์ได้ของหญ้ากินนีมอมบาซาในแพะ
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Cutting Age on Nutritive Values and Utilization of Panicum maximum cv. Mombasa in Goat.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สดุดี พงษ์เพียจันทร์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ดำเนินการศึกษาผลของอายุการตัดที่มีต่อคุณค่าทางโภชนะและการใช้ประโยชน์ได้ของหญ้ากินีมอมบาซาแห้งในแพะ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างเดือน มีนาคม 2555 ถึง เดือนมิถุนายน 2556 วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) มี 3 สิ่งทดลอง คือ อายุการตัดหญ้ากินีมอมบาซา 30 45 และ 60 วัน มี 4 ซ้ำ โดยใช้แพะเนื้อลูกผสมพันธุ์บอร์ เพศผู้ตอน จำนวน 12 ตัว น้ำหนักตัวเฉลี่ย 30 กิโลกรัม ผลการทดลอง พบว่า หญ้ากินีมอมบาซาแห้ง ตัดที่อายุ 30 วัน มีคุณค่าทางโภชนะสูงกว่าการตัดที่อายุ 45 และ 60 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าวัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ ผนังเซลล์และลิกโนเซลลูโลส เท่ากับ 90.86 8.75 70.52 และ 46.26 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำมาให้แพะกิน มีปริมาณการกินได้เท่ากับ 634.4 กรัมต่อตัวต่อวัน มีค่าโภชนะย่อยได้รวมทั้งหมด เท่ากับ 60.38 เปอร์เซ็นต์ มีค่าพลังงานที่ย่อยได้ และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ เท่ากับ 2.69 และ 2.32 Mcal/kg ตามลำดับ ขณะที่หญ้ากินีมอมบาซาแห้ง ตัดที่อายุ 45 และ 60 วัน ที่มีค่าวัตถุแห้งเท่ากับ 91.94 และ 92.27 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนหยาบ เท่ากับ 6.62 และ 5.20 เปอร์เซ็นต์ ผนังเซลล์ เท่ากับ 72.86 และ 75.60 เปอร์เซ็นต์ และลิกโนเซลลูโลส เท่ากับ 46.89 และ 47.51 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำมาให้แพะกินมีปริมาณการกินได้เท่ากับ 534.9 และ 531.4 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ เมื่อทดสอบค่าการย่อยได้มีค่าโภชนะย่อยได้รวมทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 59.28 และ 55.22 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มีค่าพลังงานที่ย่อยได้ เท่ากับ 2.69 และ 2.56 Mcal/kg ตามลำดับ และค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้เท่ากับ 2.31และ 2.20 Mcal/kg ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): A study of effect of cutting age on nutritive values and utilization of Mombaza grass hay (Panicum maximum cv. Mombaza) in goats was conducted at Phetchaburi Animal Nutrition Research and Development Center, Cha-am District, Phetchaburi Province during March 2012 to June 2013. The experiment was Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 replications. There were 3 treatments which were cutting ages at 30 45 and 60 days. Nutritive value and utilization were studied on 12 male Boer crossbred goats with average weight 30 kilograms. The result showed that Mombaza grass hay cut at 30 days had higher nutritive value than cutting at 45 and 60 days. The dry matter (DM) organic matter (OM) crude protein (CP) neutral detergent fiber (NDF) and acid detergent fiber (ADF) of 30 cutting days age Mombaza hay were 90.86, 87.05, 8.75, 70.52 and 46.26 %, respectively. When study on native-boar goats by total collection method, dry matter intake was 634.4 g/head/day and total digestible nutrient (TDN) was 65.19% while digestibility energy (DE) and metabolizable energy (ME) were 2.69 and 2.32 Mcal/kg, respectively. It was statistically significant from 45 and 60 days age Mombaza hays which DM, CP, NDF and ADF were 91.94 and 89.09, 6.62 and 5.20, 72.86 and 75.60, and 46.89 and 47.51%, respectively. For TDN, DE and ME, they were 59.28 and 55.22%, 2.69 and 2.31, and 2.31 and 2.20 Mcal/kg, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-03-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-08-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอายุการตัดที่มีต่อคุณค่าทางโภชนะและการใช้ประโยชน์ได้ของหญ้ากินนีมอมบาซาในแพะ
กรมปศุสัตว์
30 สิงหาคม 2556
กรมปศุสัตว์
ผลของอายุการตัดที่มีต่อคุณค่าทางโภชนะและการใช้ประโยชน์ได้ของหญ้าเนเปียร์ลูกผสมโคลน 032 ในแพะ คุณค่าทางโภชนะของหญ้ามอริชัส คุณค่าทางโภชนะของหญ้าอะตราตัม คุณค่าทางโภชนะของหญ้ากินนีสีม่วง คุณค่าทางโภชนะของหญ้ากรีนแพนิค การประเมินคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแพงโกล่าแห้ง การจัดการเกี่ยวกับการตัดหญ้าเนเปียร์ 3 ชนิด 2.อายุของการตัดครั้งแรกที่มีต่อผลผลิตของหญ้าเนเปียร์ 3 ชนิด คุณค่าทางโภชนะของถั่วฮามาต้า ผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะก่อนออกดอกที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีมอมบาซา ผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วง หญ้ากินนีมอมบาซา และหญ้ากินนีโคโลเนียว ภายใต้สภาพร่มเงาสวนปาล์มน้ำมันอายุ 3-5 ปี ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก