สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย
ชบา ทองไผ่ใหญ่ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Diversity and Relationships among Commercial Sugarcane Varieties in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชบา ทองไผ่ใหญ่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chaba Thongpaiyai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหลากหลายและสัมพันธ์ระหว่างอ้อยพันธุ์การค้าในประเทศไทย ข้อมูลพันธุ์ประวัติของอ้อยแต่ละพันธุ์ได้สืบย้อนกลับไปยังพันธุ์ดั้งเดิม การคำนวณสัมประสิทธิ์ทางเครือญาติทำโดยอาศัย ข้อมูลอ้อยทั้ง 70 พันธุ์ และวาดแผนภาพ dendrogram โดยจัดพันธุ์เข้ากลุ่มวิธี UPGMA จากข้อมูลพันธุประวัติได้แสดง ให้เห็นว่าพันธุ์อ้อยการค้าของไทยเกิดจากอ้อยต่างประเทศเพียง 26 พันธุ์เท่านั้น ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลได้ชี้ให้เห็น ว่าอ้อยพันธุ์การค้าหลายพันธุ์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพันธุ์ OCSB3 (37.3%) สูงกว่า UT1 (20.4%) อ้อยชนิด S. officinarum เป็นฐานพันธุกรรมหลัก (25.1%) ในขณะที่ชนิด S. barberi, S. spontaneum และ S. sinense มีอยู่ 10.8, 5.9 และ 2.4% ตามลำดับ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพันธุ์อ้อยปรับปรุงใหม่ของไทยมีฐานพันธุกรรมแคบ ดังนั้น นักปรับปรุงพันธุ์จึงควรนำเข้าเชื้อพันธุกรรมแหล่งใหม่มาใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์อ้อยในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was conducted to determine the diversity and relationships among commercial sugarcane varieties in Thailand. The pedigree in each variety was traced back to the original ancestors. The coefficient of parentage was calculated from records of 70 varieties, and a dendrogram was drawn using the unweighted pair-group method using arithmetic averages (UPGMA) of clustering. Pedigree data showed that Thai commercial varieties were only bred from 26 exotic varieties. The analytical results indicated that many sugarcane varieties had higher close relationship with OCSB3 (37.3%) than UT1 (20.4%). S. officinarum was major genetic contributor (25.1%) whereas S. barberi, S. spontaneum, and S. sinense were 10.8, 5.9, and 2.4%, respectively. These revealed that the Thai improved sugarcane varieties have narrow genetic base. Thus breeders should introduce novel germplasm into sugarcane breeding programs in the future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=09.pdf&id=636&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum) ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ คุณลักษณะของเชื้อพันธุกรรมอ้อยพันธุ์ไทยและแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ ความต้องการน้ำและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ความหลากหลายทางพันธุกรรมและจำแนกกลุ่มพันธุกรรมไก่พื้นเมืองในจังหวัดน่านด้วยไมโครแซทเทิลไลท์ ปริมาณสารโพลิโคซานอลและกลิ่นของผลิตภัณฑ์น้ำตาลอ้อยจากอ้อยสายพันธุ์ต่างๆ ผลของการใช้พันธุ์ทดสอบสำหรับการประเมินสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวในขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสม ผลของยิปซัมและเบนทอไนต์ต่ออ้อยพันธุ์ K 95-84 ที่ปลูกในดินสตึก การรวบรวมพันธุ์ และการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์,การตอบสนองต่อช่วงแสงในการออกดอกและการผสมเกสรของเบญจมาศเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ศักยภาพการให้ผลผลิตและความสามารถในการทนแล้งในอ้อย 15 สายพันธุ์ ที่ได้รับน้ำแตกต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก