สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ของฝรั่งด้วยสารสกัดจากเชื้อรา เอคโตไมคอร์ไรซาบางชนิด
ประภาพร ตั้งกิจโชติ, สมชาย สุขะกูล, วันเพ็ญ เหล่าศรีไพบูลย์, อมรศรี ขุนอินทร์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ของฝรั่งด้วยสารสกัดจากเชื้อรา เอคโตไมคอร์ไรซาบางชนิด
ชื่อเรื่อง (EN): Controlling of Guava Root-knot Nematode, Meloidogyne incognita, with the Extract from Some Ectomycorrhizal Fungi
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารออกฤทธิ์จากเส้นใยเห็ดตับเต่าพบว่า การเลี้ยงเชื้อแบบเขย่าและไม่เขย่าไม่มีผลต่อการเติบโตและการผลิตสารออกฤทธิ์ของเชื้อเห็ดดังกล่าว ส่วนแหล่งไนโตรเจน และ pH ที่เหมาะสมต่อการผลิตสารออกฤทธิ์ คือ เปปโทน ยีสต์สกัด และ pH 8 จากการวิเคราะห์สารสกัดหยาบด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบแผ่นเคลือบ (Thin Layer Chromatography, TLC) พบว่าสารสกัดหยาบจากการเลี้ยงที่สภาวะต่างๆ มีแนวโน้มผลิตสารเหมือนกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการทดสอบหากลุ่มสารออกฤทธิ์ประกอบด้วยสารซาโปนิน สารประกอบฟีนอลิก และ สารแทนนิน โดยมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด 966.3 มก/ลิตร แยกกลุ่มสารจากสารสกัดหยาบโดยวิธีโครมาโทกราฟี ได้แก่ คอลัมน์โครมาโทกราฟี การสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็ง preparative TLC และโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารออกฤทธิ์โดยวิธีสเปกโทสโกปิก พบว่าเป็นอนุพันธ์ของสารคูมาริน การศึกษาประสิทธิภาพของสารกรองจากเส้นใยเห็ดตับเต่าในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมของต้นกล้าฝรั่ง ‘แป้นสีทอง’ ในโรงเรือนเพาะชำ พบว่า สารกรองจากเส้นใยเห็ดตับเต่าทุกความเข้มข้น (20 40 และ 60%) มีแนวโน้มลดจำนวนปม และกลุ่มไข่ของไส้เดือนฝอยรากปมไอโซเลทกำแพงแสนของต้นกล้าฝรั่งดังกล่าว อายุ 45 วัน หลังใส่ตัวอ่อนระยะที่ 2 ของไส้เดือนฝอยและรดสารกรองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการรดสารกรองเส้นใยเห็ดดังกล่าวความเข้มข้นสูงขึ้นมีแนวโน้มทำให้จำนวนปม และจำนวนกลุ่มไข่ลดลง ยกเว้นที่ความเข้มข้น 90% นอกจากนี้จำนวนครั้งในการรดสารกรองดังกล่าว ไม่มีผลต่อการควบคุมการเกิดโรครากปมของต้นกล้าฝรั่งดังกล่าว โดยค่าเฉลี่ยของจำนวนปม และจำนวนกลุ่มไข่ของไส้เดือนฝอยรากปมไอโซเลทเพชรบุรีไม่แตกต่างกันทางสถิติ และการรดสารกรองดังกล่าวตั้งแต่ 8 ครั้งขึ้นไป มีแนวโน้มทำให้จำนวนปมเฉลี่ยลดลง สารกรองจากเส้นใยเห็ดตับเต่าและเส้นใยเห็ดนางรมฮังการีไอโซเลท PO3 สามารถลดจำนวนปมของไส้เดือนฝอยรากปมไอโซเลทเพชรบุรีของต้นกล้าฝรั่งดังกล่าว ได้ 24.36% และ 14.99% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม การศึกษาประสิทธิภาพของสารกรองจากเส้นใยเห็ดตับเต่าและหัวเชื้อเห็ดตับเต่าในการควบคุมไส้-เดือนฝอยรากปมของกิ่งตอนฝรั่ง ‘แป้นสีทอง’ ในสภาพแปลงปลูก พบว่าสารกรองจากเส้นใยเห็ดตับเต่าทุกความเข้มข้น (30 60 และ 90%) และการใส่หัวเชื้อเห็ดตับเต่าและหัวเชื้อเห็ดนางรมฮังการีไอโซเลท PO3 ไม่มีผลต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมไอโซเลทเพชรบุรีของกิ่งตอนฝรั่งดังกล่าว โดยการเป็นโรคอยู่ในระดับ 5 และจำนวนปม มากกว่า 75%
บทคัดย่อ (EN): In this research, the effects of optimal conditions on the production of bioactive compounds from king bolete mushroom mycelia were studied. The results showed that the shaken-flask and non shaken-flask cultures had no effect on mycelial growth and metabolite production. The optimal nitrogen sources and pH for bioactive compound production were peptone, yeast extract, and pH 8. From thin layer chromatography (TLC) analysis of crude extract, it was found that the extracts from different culture conditions tended to produce same bioactive compounds. Moreover, phytochemical screening indicated that the chemical constituents in the extracts were saponin, phenolic compound, and tannin. The total phenolic compound was 966.3 mg/liter. The crude extracts were separated by chromatographic methods such as column chromatography, solid phase extraction, preparative TLC and HPLC, and the active fraction was further indentified by spectroscopic methods. The results showed that it was cumarin derivatives. Efficacy of the filtrate from king bolete mushroom mycelia in controlling root-knot nematode of quava ‘Pansithong’ in the greenhouse was studied. The results showed that every concentration of the filtrate tended to significantly reduce root galls and egg mass of 45 days guava seedlings after inoculating with 2nd stage of root-knot nematode isolate Kamphaeng Saen, and applying the filtrate. The increased application of this filtrate tended to reduce root galls and egg mass, except at the concentration of 90%. Moreover, the numbers of this filtrate application had no effect on controlling root-knot disease of those guava seedlings. The average of root galls and egg mass of root-knot nematodes isolate Phetchaburi was not significantly different, but the application of this filtrate more than 8 times tended to reduce the average of root galls. In addition, the filtrate from the bolete mushroom and oyster mushroom isolate PO3 mycelia could decrease the root galls of root-knot nematode isolate Phetchaburi about 24.36% and 14.99%, respectively, compared to the control. The efficiency of bolete mycelia filtrate and bolete spawn for controlling root-knot nematode of guava ‘Pansithong’ air-layerings in the field was studied. The results showed that every concentration of the filtrate from bolete mycelia (30 60 and 90%), and the application of bolete mushroom spawn and oyster mushroom spawn isolate PO3 had no effect on controlling root-knot nematode isolate Phetchaburi of those air-layerings, with disease level 5, and the gall number was more than 75%.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ของฝรั่งด้วยสารสกัดจากเชื้อรา เอคโตไมคอร์ไรซาบางชนิด
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2553
ผลของสารสกัดจากดาวเรืองในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมมะเขือเทศ การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita Chitwood) การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การคัดเลือกเชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมของพืชผักบางชนิด การประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita สาเหตุโรครากปมพริกในแปลงปลูกพืชขนาดเล็ก การทดสอบการเป็นปฏิปักษ์ของเชื้อราต่อกลุ่มไข่ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita Chitwood และกิจกรรมเอนไซม์ย่อยสลาย การค้นหาไส้เดือนฝอยตัวห้ำเพื่อใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม วิจัยและพัฒนาเชื้อราไมคอร์ไรซาเพื่อใช้ควบคุมไส้เดือนฝอยสาเหตุโรครากปม ศักยภาพการใช้พืชปฏิปักษ์และผลิตภัณฑ์จากพืชบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ กลไกและประสิทธิภาพของเห็ดบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอย
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก