สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน
สำราญ สาราบรรณ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน
ชื่อเรื่อง (EN): Studying Pest Management in Communities Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำราญ สาราบรรณ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Pest Management
บทคัดย่อ:  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “ศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน” แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยมี นายสำราญ สาราบรรณ์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมการเกษตรด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน จากการศึกษาวิจัย พบว่า การใช้สารเคมีอะบาเม็กตินมีประสิทธิภาพในการป้องกันกําจัดตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดีที่สุด ผลกระทบจากกรรมวิธีที่ใช้ทดสอบการป้องกันกําจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มีต่อระบบนิเวศน์แมลงในนาข้าวของชุมชน ทำให้แมลงมีแนวโน้มลดลงตามอายุของต้นข้าว เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการโรคใบขาวและกอตะไคร้อ้อยที่แนะนําโดยกรมวิชาการเกษตร ในการทดสอบเทคโนโลยีการจัดทําแปลงพันธุ์สะอาดในพื้นที่แปลงพันธุ์รวมของชุมชนและจัดการโดยนักวิจัยชุมชน จํานวน 23.32 ไร่ พบว่า ต้นอ้อยเป็นโรคใบขาวไม่เกินร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแปลงพันธุ์ที่กําหนด และสามารถใช้ทําพันธุ์ขยายในฤดูปลูกต่อไปได้ และในการจัดทําแปลงเปรียบเทียบของเกษตรกรระหว่างแปลงที่ใช้ท่อนพันธุ์อ้อยจากแปลงพันธุ์หลักของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จังหวัดอุดรธานี และแปลงที่ใช้ท่อนพันธุ์อ้อยจากแปลงของเกษตรกร พบว่า แปลงที่ใช้ท่อนพันธุ์อ้อยจากศูนย์ฯ เป็นโรคใบขาวน้อยกว่าแปลงของเกษตรกร ทั้งนี้ เมื่อทําการประเมินผลในระยะเก็บเกี่ยวอ้อย อายุ 11 เดือน ตามเกณฑ์มาตรฐานของแปลงพันธุ์ร่วมกับองค์ประกอบผลผลิตและปริมาณผลผลิต พบว่า เกษตรกร จํานวน 6 ราย ที่จัดทําแปลงพันธุ์สะอาดได้ตามเกณฑ์ประเมินดังกล่าว และสามารถใช้เป็นต้นแบบหรือแปลงเรียนรู้การทําแปลงพันธุ์สะอาดให้แก่เกษตรกรรายอื่นในพื้นที่ต่อไปได้ ส่วนเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการเพลี้ยแป้งมันสําปะหลังด้วยการทดสอบกรรมวิธีป้องกันกําจัดเพลี้ยแป้งมันสําปะหลังร่วมกับการเปรียบเทียบระยะปลูก พบว่า ในช่วงเวลาทําวิจัยไม่เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งจนถึงระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจจึงไม่มีความจําเป็นต้องใช้กรรมวิธีดังกล่าวเพื่อป้องกันกําจัดเพลี้ยแป้ง และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการหนอนหัวดำและแมงดำหนามมะพร้าว พบว่า การใช้กรรมวิธีที่ 5 (ตัดทางใบ พ่นบีที ร่วมกับปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา และแตนเบียนหนอนบราคอน) ทำให้หนอนหัวดำมีแนวโน้มลดลง แต่มีต้นทุนการป้องกันกำจัดสูงที่สุด คือ 7,800 บาทต่อไร่ ส่วนเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการแมลงดำหนาม พบว่า กรรมวิธีที่ 3 (การใช้แตนเบียนหนอนอะซีโคเดสและแตนเบียนดักแด้ เตตระสติคัส) ทำให้แมลงดำหนามมีแนวโน้มลดลงมากที่สุด การศึกษาและพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการศัตรูพืชโดยชุมชนในพืชเศรษฐกิจ 4 ชนิด เพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาศัตรูพืชใน 5 ขั้นตอนคือ (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน (2) กําหนดเป้าหมายและประเด็นพัฒนา (3) วางแผนพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการศัตรูพืชโดยชุมชน (4) ดําเนินการและเรียนรู้ร่วมกันตลอดการดําเนินงาน และ (5) สรุปผลการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน พบว่า รูปแบบการส่งเสริมการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและลดการพึ่งพาจากภายนอกนําสู่การพัฒนาด้านการเกษตรแบบยั่งยืนได้ มีองค์ประกอบสําคัญที่มีความสัมพันธ์กัน 2 องค์ประกอบ คือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนและการบริหารจัดการศัตรูพืชอย่างยั่งยืน           ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ พื้นที่ที่มีศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนสามารถประยุกต์รูปแบบการส่งเสริมเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันกําจัดศัตรูแบบผสมผสาน และดําเนินการไปพร้อมกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเกิดความยั่งยืนได้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการศัตรูพืชสู่ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยขยายเครือข่ายเรียนรู้ระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรในชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในลักษณะของการสร้างเครือข่ายของความร่วมมือกับกลุ่มในอนาคต และทําให้เกษตรกรเห็นความสําคัญของการทํางานเป็นกลุ่ม เพื่อให้การบริหารจัดการศัตรูพืชเห็นผลเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2556
กระบวนการการพัฒนาผู้นำและชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนชุมชนเมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนของชุมชน ในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีศึกษา: ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินทำกินแผนพัฒนาชุมชน และการจัดการทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศักยภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี การพัฒนาระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน การฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งเกาะสีชังแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้รอบเขตชุมชน (Buffer Zone) โดยกระบวนการมีส่วนร่วม การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนการศึกษา: ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก