สืบค้นงานวิจัย
ความเป็นไปได้ในการผลิตกระชายดำเชิงพาณิชย์
เสริมสกุล พจนการุณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความเป็นไปได้ในการผลิตกระชายดำเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Possibility for Krachai-Dam (Kaempferia parviflora Wall ex Baker)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสริมสกุล พจนการุณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sermsakul Pojanagaroon
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการผลิตและการจำหน่ายกระชายดำของเกษตรกร จ. เลย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตและจำหน่ายกระชายดำของเกษตรกร ตลอดจนประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตเชิงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกกระชายดำใน 5 อำเภอที่ปลูกกระชายดำมากที่สุด ได้แก่ อ. ภูเรือ ด่านซ้าย และนาแห้ว จ. เลย อ. ชาติตระการ จ. พิษณุโลก และ อ. หล่มเก่า จ. เพชรบูรณ์ จำนวน 79 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างเจาะจงในหมู่บ้านที่มีเกษตรกรผู้ปลูกกระชายดำจำนวนมาก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม พ.ศ. 2548 (ฤดูกาลปลูกปี พ.ศ. 2547-2548) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS for Windows version 10.0) โดยใช้สถิติเชิงพรรณาเพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสาวบริสุทธิ์ พร้อมทั้งสารสกัดจากเหง้ากระชายดำประกอบการศึกษาเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตกระชายดำเชิงพาณิชย์ ผลของการศึกษา พบว่า การผลิตและการจำหน่ายกระชายดำของเกษตรกรนั้นเกษตรกรไม่พอใจกับราคาที่จำหน่ายได้ โดยขาดทุนเมื่อเทียบกับต้นทุนทั่งหมดต่อไร่ต่อฤดูกาลสูงถึง 9,659.59 บาท กล่าวคือ มีราคาที่จำหน่ายได้เฉลี่ยเพียง 17.33 บาท/กก. ขณะที่จุดคุ้มทุนสำหรับการปลูกกระชายดำอยู่ที่ราคา 31.71 บาท/กก. เกษตรกรผู้ปลูกกระชายดำมีปัญหาและอุปสรรคมากที่สุด คือ การตลาด สถานที่จัดจำหน่าย และราคาของหัวพันธุ์กระชายดำ นอกจากนี้พบว่า เกษตรกรมีความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐมากที่สุด คือ การประกันราคาขั้นต่ำ การหาตลาดจำหน่ายผลผลิต การยืนยันฤทธิ์ทางยาที่เชื่อถือได้ทางวิทยาศาสตร์ การกำหนดโควตารับซื้อและราคาที่แน่นอนสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกระชายดำ รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบเหง้าที่แน่นอนตรงตามความต้องการของตลาด ข้อมูลฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารบริสุทธิ์และสารสกัดจากเหง้ากระชายดำ พบว่าสามารถแสดงฤทธิ์หลัก 2 ฤทธิ์ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กระชายดำ คือ ฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าเช่นเดียวกับโสมเกาหลี และฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดดำของอวัยวะเพศผู้ในสัตว์ทดลอง ดังนั้น หากภาครัฐเร่งดำเนินการศึกษาเพื่อยืนยันฤทธิ์ดังกล่าวในมนุษย์ได้สำเร็จ ร่วมกับการศึกษารูปแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปกระชายดำให้ได้รับการยอมรับสูงจากผู้บริโภคแล้วก็มีความเป็นไปได้สูงสำหรับการผลิตกระชายดำเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this reserch were to identify the problems and obstacles of Krachai-Dam production and marketing for the possible commercial production of farmers in Loei, Phitsanulok and Phetchabun provinces. The data were collected from interviewing of seventy nine Krachai-Dam growers, purposively sampled at 5 districts, namely, Phu Rua, Dan Sai, Na Eaeo in Loei province; Chat Trakarn in Phitsanulok province; and Lom Kao in Phetchabun province during February to March 2005. The data derived from the questionnaires were then analyzed by SPSS for Windows version 10.0. Statistical values used were percentages, means and standard deviations. The secondary data concerned pharmaceutical activites of rhizomes and economical cost and returns of growing Krachai-Dam wee also studied as well as the evaluation for commercial production possibility in Thailand. The findings indicated that most farmers were unsatisfied with the price of Krachai-Dam rhizomes which made them earn the high disadvantage of 9,656.59 baht on average after cost of production deduction per rai per season. The Krachai-Dam rhizomes had the average price of 17.33 bahts/kg. whereas the break-even point of Krachai-Dam production was 31.71 bahts/ kg. The main problems and obstacles encountered were the Krachai-Dam marketing, marketplace and the prices of Krachai-Dam rhizomers. The farmers had statd that the price guarantee, marketplace for Krachai- Dam distribution, provding and confirming the actively pharmaceutical ingredients in Krachai-Dam rhizomes by scientists or pharmacologists, quota for growers and standardization of Krachai-Dam rhizomes as raw materials had been the most important needed from the government. The results from the secondary dat about pharmaceutical activities of pure compounds and extracts from Krachai-Dam rhizomes revealed that there were 2 main activities : adaptogenic and vasolidation activities which gave the most influence on purchasing decision of Krachai-Dam comsumers. Therfore, if the government sectors could prove both activities in human and improved the qualities of Krachai-Dam products according to the preference of consumers, growing Krachai-Dam for commercial purpose would have high possibility to succeed in Thailand.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2530
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความเป็นไปได้ในการผลิตกระชายดำเชิงพาณิชย์
กรมวิชาการเกษตร
2530
เอกสารแนบ 1
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตส้มเขียวหวานในจังหวัดน่าน สมการการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตถั่วลิสงเถาแห้งพันธุ์ Florigraze และพันธุ์ Arbrook แบบประณีต การผลิตและการใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ด ศึกษาต้นทุนการผลิตยางชำถุง การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การทดลองเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามในกระชังแขวนลอยในบ่อดิน เพื่อการผลิตลูกกุ้งก้ามกรามเชิงพาณิชย์ การศึกษาศักยภาพการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคในภาคใต้ตอนล่าง ประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนการผลิตในโคเนื้อโดยใช้อาหารหมักและอาหารสัตว์เส้นใย (WDGS) จากวัสดุเหลือทิ้งจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เปรียบเทียบกับการใช้กากเบียร์ ภาวะการผลิตกระเจี๊ยบเขียว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก