สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาศักยภาพการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังภายใต้การจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกัน
ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังภายใต้การจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): The Potential Development to Increase the Productivity of Cassava grown with Different Fertilizers Management
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารหลัก (Nitrogen, Phosphorus และ Potassium) ในดินร่วนเหนียวปนทรายและการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง พันธุ์ระยอง 7 ในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร อ.เมือง จ.มหาสารคาม ภายหลังการปรับปรุง ดินด้วยปุ้ยมูลโคและสารปรับปรุงดิน (พด.10) วางแผนการทดลองแบบ 2x4 Factorial จัดสิ่งทดลอง แบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ มีปัจจัย A เป็นอัตราของสารปรับปรุงดิน (พด.10) 2 อัตรา ดังนี้ 0 และ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจัย B เป็นปุยมูลโค 4 อัตรา ดังนี้ 0, 500, 1,000 และ 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ เก็บ ข้อมูลเบื้องต้นด้านความชื้นดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก และการเจริญเติบโตด้านความสูง ที่ ระยะเวลา 8 เดือนหลังปลูก ผลการทดลอง พบว่า สารปรับปรุงดิน (พด.10) ร่วมกับปุยมูลโคอัตรา สูงขึ้นทำให้ดินมีความชื้นคงเหลืออยู่ในดินมากที่สุด การใส่สารปรับปรุงดิน (พด.10) ร่วมกับปุ้ยมูลโค อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารหลัก (N P และ K) สูงสุดเท่ากับ 1.8, 37.9 และ 39.8 % ตามลำดับ และการใส่สารปรับปรุงดินอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยมูลโค อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 3.59 ตันต่อไร่ ส่งผลทำให้ร้อยละการสะสมแป้ง ในหัวมันสำปะหลังมีแนวโน้มสูงสุดเช่นเดียวกัน คำสำคัญ : มันสำปะหลัง สารปรับปรุงดิน ธาตุอาหารหลัก เปอร์เซ็นต์แป้ง สถาบันวิจัยและพัฒนา
บทคัดย่อ (EN): The study aimed to determine the changes in micronutrient (Nitrogen, Phosphorus and Potassium) contents in sandy clay loam soil and growth of cassava variety Rayong 7 when applied with soil amendments (Ldd 10) and different cattle manure rates at Muang District, Mahasarakham Province. A 2x4 factorial in randomized complete block design (RCBD) with 4 replications was used in this study, whereas factor A consisted at 2 rates of a soil amendments (Ldd 10) i.e. 0 and 1,000 kg rai , factor B consisted of 4 rates of cattle manure i.e. 0, 500, 1,000 and 1,500 kg rail respectively. The characteristics measured were soil moisture, soil macronutrient (N P and K) contents and cassava height at 8 months after planting. The results revealed that the higher rates of the soil amendments (Ldd 10) and cattle manure application helped maintain soil moisture. The highest macronutrient (N P and K) contents were absorbed in the treatment applied with 1,000 kg rai of the soil amendments (Ldd 10) and 1,000 kg rai of cattle manure ie. 1.8, 37.9 and 39.8 mg kg respectively. The highest yield was 3.59 tons per rai in the treatment applied with 1,000 kg rai of the soil amendments (LDD 10) and 1,000 kg rai of cattle manure. Resulted in cassava starch content accumulation is most likely the same. วิทยาลัยราชภภมหาสารคาม Keywords : cassava, soil amendments, macronutrient, starch content
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาศักยภาพการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังภายใต้การจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
30 กันยายน 2555
อาหารจากมันสำปะหลัง การประเมินความเข้มของสีใบด้วย SCMR การเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังที่ปลูกภายใต้การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนที่แตกต่างกัน การใช้ระบบน้ำหยดร่วมกับการจัดการปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ การเปรียบเทียบความสามารถในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก การจัดการน้ำและดินเพื่อเพิ่มผลผลิต: กรณีศึกษาการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในเขตโครงการขลประทานชลบุรี แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการจัดการดินและพืช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก