สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของการปลูกพืชแซมต่อประสิทธิภาพของข้าวโพดและถั่วพุ่มที่ปลูกบนดินลูกรัง
ชื่นจิต แก้วกัญญา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการปลูกพืชแซมต่อประสิทธิภาพของข้าวโพดและถั่วพุ่มที่ปลูกบนดินลูกรัง
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of intercropping on the performance of corn and cowpea grown on lateritic soil
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชื่นจิต แก้วกัญญา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chunjit Kaewkunya
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทดลองในสภาพไร่บนพื้นที่ดินลูกรัง ภายใต้สภาพแวดล้อมจังหวัดสกลนคร เพื่อศึกษาอิทธิพลของการปลูกพืช แซมข้าวโพดและถั่วพุ่มต่อประสิทธิภาพของพืช วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ 4 สิ่งทดลอง 1) ข้าวโพด หวานอย่างเดียว 2) ถั่วพุ่มอย่างเดียว 3) พืชแซมระหว่างข้าวโพดหวานกับถั่วพุ่ม (2 ต้น/หลุม) และ 4) พืชแซมระหว่าง ข้าวโพดหวานกับถั่วพุ่ม (3 ต้น/หลุม) การทดลองดำเนินการจากเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2559 ผลการทดลอง พบว่า ภายหลังการทดลองดินมีค่า pH เพิ่มขึ้น จาก 5.86 เป็น 6.11 ปริมาณอินทรียวัตถุดินเปลี่ยนจาก 15.60 กรัมต่อกิโลกรัม เป็น 20.20 กรัมต่อกิโลกรัม และไนโตรเจนทั้งหมดเพิ่มจาก 0.34 เป็น 0.85 กรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ในส่วนขององค์ประกอบ ผลผลิต พบว่าการปลูกข้าวโพดหวานอย่างเดียวจำนวนฝักต่อต้น และผลผลิตน้ำหนักสดมีความแตกต่างทางสถิติ ลดลง โดยการปลูกพืชแซม ระบบการปลูกพืชแซมลดผลผลิตเมล็ดถั่วพุ่ม และจำนวนฝักต่อต้น แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ ของจำนวนเมล็ดต่อฝัก และน้ำหนัก 100 เมล็ด นอกจากนี้ยังพบว่าค่าประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของการปลูกพืชแซมสูงกว่า การปลูกพืชเดี่ยว ผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการปลูกพืชแซม (ข้าวโพดหวานถั่วพุ่ม) ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพ ที่ดินยังสามารถปรับปรุงสมบัติเคมีบางประการของดินได้อีกด้วย
บทคัดย่อ (EN): A field experiment was conducted on lateritic soil area under the environment of Sakhon Nakhon province to investigate the effects intercropping corn and cowpea on the performance of plants. The experiments were conducted in Randomized completely block design (RCBD) with 3 replications and 4 treatments; 1) Sole sweet corn, 2) Sole cowpea, 3) intercrop between sweet corn with cowpea (2 plants/hill), and 4) intercrop between sweet corn with cowpea (3 plants/hill). The experiment was monitored form July to December 2016. The results illustrated that after the experiment was done, the soil pH increased from 5.86 to 6.11, soil organic matter changed from 15.60 g kg -1 to 20.20 g kg -1 and total nitrogen increased from 0.34 to 0.85 g kg -1 respectively. In term of yield component found that only sweet corn number of era per plant and fresh weight yield were significantly reduce by intercropping. Intercropping systems reduce the cowpea seed yield and number of pods per plant but had no significant effect on the number of seed per pod and 100 seed weight. Results also showed that land equivalent ratio (LER) value of intercropping had higher than sole crop. Results indicated that intercropping (sweet corn/ cowpea) not only increased LER but also improve some chemical property of soil.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P2 Agr02.pdf&id=3042&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของการปลูกพืชแซมต่อประสิทธิภาพของข้าวโพดและถั่วพุ่มที่ปลูกบนดินลูกรัง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย ผลของวันปลูกถั่วดำปลูกเหลื่อมข้าวโพดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชทั้งสองภายใต้สภาพที่ดอนอาศัยน้ำฝน ผลของอัตราปุ๋ยคอกและวันปลูกต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดินและคุณสมบัติดินในระบบการปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียวภายใต้สภาพดินลูกรัง อิทธิพลของปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 (NPK) ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดปลูกในดินชุดยโสธร การวิจัยปลูกถั่วอะซูกิแบบระบบการปลูกพืชแซมในแปลงไม้ผลขนาดเล็ก การศึกษาเปรียบเทียบการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพดในเขตพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน โครงการ ปรับปรุงพันธุ์ ถั่วพุ่มและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วพุ่ม อัตราและระยะปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์เทียนที่ปลูกในดินนาจังหวัดพัทลุง โครงการ ปรับปรุงพันธุ์ ถั่วพุ่มและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วพุ่ม ปีที่ 2 ศึกษาการปลูกพืชตระกูลถั่วร่วมระบบการปลูกพืชรายได้และพืชเศรษฐกิจ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก