สืบค้นงานวิจัย
โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค
สมหวัง พิมลบุตร - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค
ชื่อเรื่อง (EN): Macrobrachium rosenbergiiNodavirus (MrNV) and Extra small virus (XSV)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมหวัง พิมลบุตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somvong Pimolboot
คำสำคัญ: กุ้งก้ามกราม
คำสำคัญ (EN): Macrobrachium
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) และ Extra small virus (XSV)” แก่กรมประมง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบ bio-security และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสู่ภาคเอกชน รวมทั้งวิจัยด้านพันธุกรรมเพื่อผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรคไวรัส MrNV และ XSV ที่มีอัตราการเจริญเติบโตและรอดตายสูงเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกร โรงเพาะฟักกุ้งก้ามกรามในแหล่งผลิตที่สำคัญของประเทศไทยประสบปัญหาการตายในลูกกุ้งวัยอ่อน ก่อนถึงขนาดจำหน่ายทำให้ไม่สามารถผลิตลูกกุ้งเพื่อจำหน่ายให้กับฟาร์มเลี้ยงทั่วประเทศ ผลการศึกษาสาเหตุของการตายของลูกกุ้งพบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii nodavirus (MrNV) และ Extra small virus (XSV) ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูก ทำให้ลูกกุ้งที่ฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 15 วัน ตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การจัดทำระบบความมั่นคงทางชีวภาพ (Bio-security) เพื่อการเพาะเลี้ยงและผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดเชื้อไวรัสทั้งสองชนิด โดยเริ่มจากการก่อสร้างระบบ Bio-security สำหรับการเพาะเลี้ยงและผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค การพัฒนาห้องปฏิบัติการและวิธีการตรวจเชื้อไวรัสทั้งสองชนิดโดยใช้เทคนิค PCR การตรวจติดตามเชื้อไวรัสทั้งสองชนิดในพื้นที่ปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการตลอดจนการดูงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์กุ้งก้ามกรามโดยการผสมแบบกลุ่มประชากร 9 กลุ่ม (9 crosses) ผลการวิจัยการติดเชื้อไวรัส MrNV และ XSV ในลูกกุ้ง 9 crosses พบว่า ลูกกุ้งผสม 2 กลุ่ม - แม่สายพันธุ์ สพก. x พ่อสายพันธุ์เพชรบุรี และแม่สายพันธุ์จันทบุรี x พ่อสายพันธุ์เพชรบุรี มีอัตรารอดตายสูงสุด ในขณะที่ผลการทดสอบการเจริญเติบโต พบว่า ลูกกุ้งผสมระหว่างแม่สายพันธุ์จันทบุรี x พ่อสายพันธุ์ สพก. ให้อัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการนี้คือ โรงเพาะฟักกุ้งก้ามกรามต้นแบบที่มีระบบ bio-security เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลูกกุ้งก้ามกรามให้มีอัตรารอดตายสูง แข็งแรง เพื่อจำหน่ายให้เกษตรกร รวมทั้งได้พันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ปลอดโรคไวรัส MrNV และ XSV ทำให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น และสามารถเผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนได้
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-08-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-08-15
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2549
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP ลิขสิทธิ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ คู่มือการผลิตลุกกุ้งก้ามกรามปลอดโรคไวรัส
เลขที่คำขอ 250608
วันที่ยื่นคำขอ 2010-12-20 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน 2011-01-24 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน ว.23129
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค
กรมประมง
15 สิงหาคม 2552
กรมประมง
โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค เศรษฐกิจการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม การศึกษาปฏิสัมพันธ์ในกุ้งก้ามกรามและไวรัสก่อโรคในกลุ่ม nodavirus การสร้างอนุภาคไวรัส MrNV ก่อโรคกุ้งก้ามกรามในระบบเซลล์แมลง SF9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าเป็นสมาชิกโครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในเขตชลประทาน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี การใช้สาหร่ายสไปรูลินาเป็นอาหารเสริมเพื่อปรับปรุงภูมิคุ้มกันและเพื่มผลผลิตกุ้งก้ามกราม ผลของวัสดุหลบซ่อนต่ออัตราการรอดตายของกุ้งก้ามกราม ประเมินผลการปล่อยกุ้งก้ามกรามในบึงสีไฟ ผลของการใช้สมุนไพรหญ้าใต้ใบ ร่วมกับวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดและความต้านทานต่อโรคของกุ้งก้ามกราม การถ่ายทอเทคโนโลยีฐานเรียนรู้การเกษตร เรื่อง "การผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรในภาคเหนือตอนบน"
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก