สืบค้นงานวิจัย
สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ธีรนุช บุตรสะอาด - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธีรนุช บุตรสะอาด
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 2)สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 3) สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร จำนวน 309 ราย ได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดสัดส่วนใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS และใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 43.6 ปี จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.1 คน จำนวนบุตรเฉลี่ย 2.6 คน ร้อยละ 77.3 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 94.6 สมรส รวมรายได้ของครอบครัวเฉลี่ย 9,736.7 บาท มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.1 ไร่ ร้อยละ 71.8 น้ำที่ใช้ในการเกษตรใช้น้ำฝนอย่างเดียว ร้อยละ 90.0 ประกอบอาชีพการเกษตร ร้อยละ 79.2 มีตำแหน่งทางสังคมของหมู่บ้าน ร้อยละ 98.7 ได้รับความรู้จากข้อมูลข่าวสารมวลชนทางโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 93.2 มีการออมเงิน ร้อยละ 91.2 มีการติดต่อกับเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในช่วงที่ผ่านมา ร้อยละ 85.1 เคยไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ร้อยละ 89.0 เคยได้เข้าร่วมอบรมทางด้านการเกษตร ร้อยละ 81.6 สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดำเนินกิจกรรมด้านแปรรูปถนอมอาหาร ร้อยละ 79.6 เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายและบริโภคในครัวเรือน ร้อยละ 98.7 ในปีที่ผ่านมา (2546) มีการจัดประชุม ร้อยละ 89.3 เข้าร่วมประชุม ร้อยละ 98.1 มีการวางแผนการปฏิบัติงาน ร้อยละ 75.7 มีการผลิตตลอดปี ร้อยละ 90.6 การทำกิจกรรมใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ปัจจุบันกลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียนเฉลี่ย 31,424.3 บาท ร้อยละ 97.1 กลุ่มมีการประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น ๆ ร้อยละ 90.3 กลุ่มมีการจัดหาตลาดจำหน่ายผลผลิต ร้อยละ 82.8 คณะกรรมการกลุ่มเป็นคนจัดหา ร้อยละ 92.6 เป็นลักษณะจำหน่ายแบบขายปลีก ร้อยละ 85.4 กลุ่มมีการแบ่งผลกำไรแบ่งตามหุ้น ระดับปัญหาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงานตามกิจกรรมจำแนกตามประเด็นปัญหา ปัญหามาก ขาดอุปกรณ์และเงินทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม ขาดกิจกรรมเสริมรายได้ ไม่มีตลาดรองรับผลผลิตขาดวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบควรเข้าไปแนะนำส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการแปรรูปและถนอมอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและถ่ายทอดความรู้ด้านการเขียนแผนงาน/โครงการเพื่อรับการสนับสนุนจากองค์กรส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอด่ายซ้าย จังหวัดเลย การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในภาคใต้ การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดปราจีนบุรี สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ความต้องการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร การศึกษาการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก