สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย
เกวลิน คุณาศักดากุล, ชัยพร ขัดสงคราม - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย
ชื่อเรื่อง (EN): Selection of Endophytic Actinomycetes Against Fruit-rot Fungi of Longan
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kaewalin Kunasakdakul
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แยกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ (endophytic actinomycete) จากเปลือกผลของลำไยพันธุ์ดอบนอาหาร IMA-2 ได้เชื้อทั้งหมด 24 ไอโซเลท เมื่อนำมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา ตรวจดูการแตกแขนงของเส้นใยและการจัดเรียงตัวของสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า ทุกไอโซเลทอาจจัดอยู่ในสกุล Streptomyces sp. เมื่อนำมาคัดกรองให้ได้เชื้อที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย ได้แก่ Pestalotiopsis sp., Lasiodiplodia sp. และ Trichothecium sp. บนอาหาร IMA-2 พบว่า ไอโซเลท DIM8, DIM9, DIM15 และ DIM19 สามารถยับยั้งเชื้อ Pestalotiopsis sp. ส่วนไอโซเลท DIM4, DIM12, DIM15, DIM16, DIM20 และ DIM25 ยับยั้งเชื้อ Lasiodiplodia sp. และไอโซเลท DIM3, DIM5, DIM15, DIM25 และ DIM26 ยับยั้งเชื้อ Trichothecium sp. และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเชื้อไอโซเลทดังกล่าวข้างต้นกับเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่แยกจากพืชสมุนไพร ได้แก่    ไอโซเลท CEN26, COF4, GAR1, HOU2 และ NEE1 พบว่า ให้ผลใกล้เคียงกัน เมื่อนำเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคผลเน่าของลำไยบนอาหาร ISP-2 พบเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงกว่าการทดสอบบนอาหาร IMA-2 โดยไอโซเลท DIM15 สามารถยับยั้งเชื้อ Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia sp. ได้ดีที่สุดในระดับสูงมาก ที่ 87.10 และ 73.82 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าการทดสอบบนอาหาร IMA-2 เท่ากับ 86.43 และ 80.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการควบคุมเชื้อ Trichothecium sp. นั้น พบว่า ไอโซเลท GAR1 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ ได้ดีที่สุดที่ 89.68 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจัดว่ามีประสิทธิภาพการยับยั้งในระดับสูงมากเช่นกัน จากผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการนำเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ ไอโซเลทดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ในการลดการใช้สารเคมีเพื่อการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของลำไยได้ในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Fruit peels of Longan cv. Dor was used for isolation and gained 24 isolates of endophytic actinomycetes. Their morphological studies, mycelia growth, branching and arrangements of spore chain observed under microscope were possibly exhibited the genus Streptomyces sp. To select the superior isolates on mycelial growth inhibition for three genera of fruit-rot fungi of longan, screening tests were obtained in the isolates of DIM8, DIM9, DIM15 and DIM19 on Pestalotiopsis sp., DIM4, DIM12, DIM15, DIM16, DIM20 and DIM25 on Lasiodiplodia sp. and the isolates of DIM3, DIM5, DIM15, DIM25 and DIM26 on Trichothecium sp. The inhibition effects on the pathogens were also compatibly compared with those of CEN26, COF4, GAR1, HOU2 and NEE1 group of the isolates obtained from the previous experiment. In addition, their antimicrobial substance productions in different media were also proved that dual culture testing on ISP-2 agar shown more increasing of inhibition percentages than the testing on IMA-2 agar observed in both group of them. Particularly, the DIM15 was the best isolate revealing very high inhibition percentages on Pestalotiopsis sp. and Lasiodiplodia sp. at 87.10 and 73.82 on ISP-2 agar which were 86.43 and 80.58 percents higher than the testing on IMA-2 agar, respectively. In case of Trichothecium sp., GAR1 isolate significantly showed the most inhibition percentage at 89.68 which was significantly better than the DIM15 isolate. Moreover, GAR1 isolate is preferable to produce antifungal substance on ISP-2 agar than the others. These results revealed that DIM15 and GAR1 isolates showed their potentials to be used as alternate means for reduction of agrochemical application in post harvest disease control of longan fruit in the future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2555
เอกสารแนบ 1
ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล Physiologic Races ของเชื้อรา Hemileia uastatrix B. & Br บทบาทของเชื้อราเอนโดไฟต์ต่อการควบคุมโรคพืช ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว Corynespora cassiicol เชื้อราสาเหตุโรค target spot ของมะละกอ เชื้อรา Phytophthora palmiuora (Butl.) Butl. สาเหตุของโรคเน่าดำกล้ามะม่วง โรคผลเน่าของเงาะหลังการเก็บเกี่ยวและการควบคุม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก