สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจสังคมของการเลี้ยงปลานิลในกระชังของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
วิระวรรณ ระยัน - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจสังคมของการเลี้ยงปลานิลในกระชังของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่อง (EN): Socioeconomics Study of Nile Tilapia Cage Culture Farmers in Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิระวรรณ ระยัน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): WIRAWAN RAYAN
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจสังคม สภาพและปัญหาของการเลี้ยงปลานิลในกระชังของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร 92 ราย จากทะเบียนเกษตรกรปี 2547-2554 ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2554 การวิเคราะห์ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ Scheffe? test ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 47.2 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา แหล่งเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดของเกษตรกร คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยเกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ย 147,032.61 บาท แหล่งเลี้ยงปลานิลในกระชังส่วนใหญ่อยู่ในลำน้ำและแม่น้ำ ห่างจากบ้านเกษตรกรเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร เกษตรกรมีประสบการณ์การเลี้ยงปลานิลในกระชังเฉลี่ย 6 ปี ส่วนมากเลี้ยงปลานิลเนื่องจากรายได้ดี และเพื่อนบ้านแนะนำ กระชังเลี้ยงปลานิลมีขนาดเฉลี่ย 10.6 ตารางเมตร มีจำนวนกระชังเฉลี่ย 11.3 กระชังต่อราย เกษตรกรปล่อยปลาลงเลี้ยงเฉลี่ย 32.7 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร เริ่มเลี้ยงปลาขนาดเฉลี่ย 36.2 กรัม ราคาตัวละ 4.3 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปวันละ 3 ครั้ง และส่วนมากประสบปัญหาปลาเป็นโรคระหว่างการเลี้ยง โดยมีแหล่งให้คำแนะนำเรื่องโรคจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของเอกชน เกษตรกรจับปลาขนาดเฉลี่ย 851.4 กรัม ส่วนมากจำหน่ายปลาให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อและบริษัท มีผลผลิตเฉลี่ย 9,210.8 กิโลกรัมต่อปี รายได้ที่เป็นเงินสดเฉลี่ย 686,394.8 บาทต่อปี ต้นทุนดำเนินการเฉลี่ย 597,432.6 บาทต่อปี รายได้สุทธิเฉลี่ย 124,464 บาทต่อปี ปัญหาในการเลี้ยงปลาที่พบในระดับมาก ได้แก่ คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม และน้ำขุ่น ภาพรวมความต้องการของเกษตรกรด้านความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาอยู่ในระดับน้อย สำหรับรูปแบบการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการในระดับมาก ได้แก่ การฝึกอบรม การเข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ การเยี่ยมเกษตรกรที่กระชัง และการดูงานเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ เกษตรกรต้องการการสนับสนุนการผลิตในระดับมากในเรื่อง การตรวจสอบสุขภาพสัตว์น้ำ การให้คำแนะนำเรื่องการรักษาโรค การสนับสนุนพันธุ์ปลา การสนับสนุนอาหาร และการติดต่อเรื่องยาและสารเคมี ผลการเปรียบเทียบความต้องการของเกษตรกรจำแนกตาม รายได้จากการเลี้ยงปลานิลในกระชัง ประสบการณ์เลี้ยงปลานิลในกระชัง และจำนวนกระชังเลี้ยงปลานิลของเกษตรกร พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งด้านความรู้ รูปแบบบริการส่งเสริมการเลี้ยงปลา และการสนับสนุนการผลิตของเกษตรกร แต่พบว่าเกษตรกรที่มีอายุต่างกันมีความต้องการไม่แตกต่างกันในทุกด้าน
บทคัดย่อ (EN): The research objectives were to study socioeconomic condition; culture performances and problem of tilapia cage culture farmers in Sakon Nakhon Province. Data were collected using interview schedule during May to September 2011. The data obtained were subsequently processed using SPSS for Windows and the results expressed as frequency, percentage, standard deviation, t-test and Scheffe?test. The results showed that most farmers are male, average age 47.2 years of primary education. Largest source of funding of farmers was Bang of Agriculture and Agricultural Co-operatives with average debt of 147,032.61 Baht. Most of farmers reared fish in the rivers which the cages were far from home on average of 1.9 kilometers. The farmers had an average experience of tilapia cage culture for 6 years, their motivated of culture tilapia in cage were good salary and neighbor introduced. The average cage size of 10.6 m2 with average number of cage for each household was 11.3 cages. The farmers were rearing sex reversal tilapia, stocking rate was 32.7 fishes/m3, average size stocking was 36.2 gram with price 4.3 Baht per fish, and fed average was 3 times per day. During culture period most of farmers found disease problem they obtained advice from sales. Average weight catching was 851.4 grams, 79.3 percent of farmers sold on wholesale basis to the dealers and private company at their own farms. Average product caught, cost of production and net profit were 89,210.8 kilograms/year, 686,394.8 Baht/year and 597,432.6 Baht/year, respectively. Problems of culture showed in highly were as follows; appropriate of water quality and turbid water. The farmers needed to obtain acknowledge of fish culture at the low levels. Extension methods, the farmers needed at high levels were training, contacts to technician, cage site visiting and study tour on the successful farm. The support of fish production, it showed high level of fish health monitor, fish seeds, fish feed and dealing drug and chemical. The farmers with different source of income derived from fish culture, experience on Tilapia cage culture and the number of cage in a farm, were needed different extension services in particular aspects, But there were not different need of extension services in the different age of farmers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจสังคมของการเลี้ยงปลานิลในกระชังของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
หนังสือการเลี้ยงปลานิลในกระชัง การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชังของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ โครงการศึกษาภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ปัญหา และความต้องการของชาวนา การวิจัยและพัฒนาวิธีป้องกันรักษาโรคปลานิลที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำชี การใช้เศษขนมปังเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง การศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและตะกอนดินต่อสุขภาพของปลานิลในกระชังในลำน้ำอูนและแม่น้ำสงครามจังหวัดสกลนคร และนครพนม ผลผลิตปลานิลเพศผู้ในกระชังในการให้อาหารแตกต่างกันในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังที่มีระดับความลึกของกระชังและความหนาแน่นแตกต่างกัน การเลี้ยงปลาเค้าดำในกระชังด้วยอัตราการให้อาหารต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก