สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการผลิตไซลิทอลจากฟางข้าวด้วยกระบวนการทาง เทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ทิน้อย - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการผลิตไซลิทอลจากฟางข้าวด้วยกระบวนการทาง เทคโนโลยีชีวภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Xylitol Production from Rice Straw: Application of Activated Carbon Produced Rice Straw in Xylitol Production Process and Chronic Toxicity of Xylitol
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ทิน้อย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนากระบวนการผลิตไซลิทอลจากฟางข้าวด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ” แก่มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ โดยมี ผศ.ดร.จิดาภา ทิน้อย เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีการที่เหมาะสม ในการแปรสภาพจากฟางข้าวให้ได้ไซลิทอลโดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ และ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตไซลิทอลจากฟางข้าวให้ผลิตได้ในปริมาณสูง จากการศึกษาวิจัย พบว่า กระบวนการผลิตไซลิทอลจากส่วนสกัดฟางข้าวในระดับมหภาค โดยเพิ่มปริมาณการผลิตไซลิทอลในถังหมักขนาด 2 ลิตร และ 10 ลิตร ตามลำดับ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไซลิทอลในถังหมัก 2 ลิตร โดยปรับปริมาณเชื้อเริ่มต้นเป็นร้อยละ 25 และเพิ่มความเข้มข้นของไซโลสเริ่มต้นเท่ากับ 50 กรัมต่อลิตร เมื่อเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม พบว่า ปริมาณไซลิทอลที่ผลิตได้จากเชื้อ Candida tropicalis ในส่วนสกัดฟางข้าวเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถผลิตไซลิทอลคิดเป็นร้อยละ 50 โดยปริมาณไซลิทอลที่ผลิตได้สูงสุดเท่ากับ 25.24 กรัมต่อลิตร ส่วนการเพิ่มปริมาณการผลิตไซลิทอลจากส่วนสกัดฟางข้าวในถังหมักขนาด 10 ลิตร พบว่า สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากขึ้นโดยการเติมสารอาหารเพิ่มลงในส่วนสกัดฟางข้าว พบว่าสามารถผลิตไซลิทอลได้มากที่สุดเท่ากับ 32.5 กรัมต่อลิตร เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 8 วัน โดยมีอัตราในการผลิตไซลิทอลเท่ากับ 4.06 กรัมต่อลิตรต่อวัน เมื่อเทียบปริมาณการผลิตไซลิทอลกับปริมาณไซโลสที่ถูกใช้ไปพบมีค่าร้อยละ 92  ส่วนการทำบริสุทธิ์ไซลิทอลที่ผลิตได้จากส่วนสกัดฟางข้าวโดยเชื้อ C. tropicalis พบว่า  การใช้ผงถ่านกัมมันต์ร้อยละ 20 มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดสีและสารปนเปื้อนของสารละลายไซลิทอล  นอกจากนี้ได้มีการเติมเอธานอลในอัตราส่วน 4 : 1 ของสารละลายไซลิทอลเพื่อตกตะกอนแยกสารปนเปื้อนทำให้สารละลายไซลิทอลมีความบริสุทธิ์สูง และในการตกผลึกไซลิทอลออกจากสารละลายไซลิทอลสามารถเพิ่มความสามารถในการตกผลึกได้มากขึ้นเมื่อเติมเอธานอลร้อยละ 60 ที่อุณหภูมิ -5 และ -21 องศาเซลเซียส โดยผลึกไซลิทอลที่ได้มีความบริสุทธิ์สูงร้อยละ 98.5 และผลึกไซลิทอลที่ได้มีลักษณะใส รูปร่างต่างกัน นอกจากนี้พบว่า ไซลิทอลที่ผลิตได้มีคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติกของแบคทีเรียโพรไบโอติกแบคทีเรียแลกติก Lactobacillus plantarum  และพบมีฤทธิ์ต้านจุลชีพโดยการเลี้ยงร่วมกันต่อแบคทีเรียทดสอบ E. coli และ Salmonella sp. ด้วย           ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย คือ สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตไซลิทอลจากส่วนสกัดฟางข้าวเพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตในอุตสาหกรรมได้ และได้กระบวนการในการทำบริสุทธิ์สารละลายไซลิทอลที่ได้จากการผลิตจากส่วนสกัดฟางข้าวซึ่งไซลิทอลที่ได้มีความบริสุทธิ์สูงสามารถนำไปเป็นวัตถุเติมอาหารสำหรับอาหารเสริมสุขภาพต่อไป เนื่องจากได้จัดทำมาตรฐานของไซลิทอลที่ผลิตได้ตามข้อกำหนดของกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-09-12
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-11
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP สิทธิบัตรการประดิษฐ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ กรรมวิธีในการผลิตไซลิทอลจากฟางข้าว
เลขที่คำขอ 1501006626
วันที่ยื่นคำขอ 2015-10-30 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน
เลขที่จดทะเบียน
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการผลิตไซลิทอลจากฟางข้าวด้วยกระบวนการทาง เทคโนโลยีชีวภาพ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11 กันยายน 2557
การพัฒนากระบวนการผลิตไซลิทอลจากฟางข้าวด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน กรรมวิธีเตรียมฟางไอโซโทป 15 N ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการขับเคลื่อนของเครื่องอัดฟางข้าว การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี การปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณภาพกระดาษเส้นใยกล้วยไข่ โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องอัดฟางข้าว เปรียบเทียบการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินชนิดต่างๆเพื่อ เพิ่มผลผลิตอ้อยอย่างยั่งยืน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก