สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของส่วนสกัดหยาบของแบคทีเรีย Streptomyces spp. ในการควบคุมโรคใบจุดนูน (Colletotrichum gloeosporioides Penz. Sace.)
อรวรรณ ปิยะบุญ ตติยา ศิริลือสาย ศิริวิทย์ หอสูติสิมา ณัชชารีย์ องค์กาญจนา เมธาวี โฉมทอง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของส่วนสกัดหยาบของแบคทีเรีย Streptomyces spp. ในการควบคุมโรคใบจุดนูน (Colletotrichum gloeosporioides Penz. Sace.)
ชื่อเรื่อง (EN): Efciency of Crude Extracts from Streptomyces spp. for Colletotrichum Leaf Spot Disease (Collectotrichum glocosporioides Penz. Sace.) Control in Poly Bag Para Rubber
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรวรรณ ปิยะบุญ ตติยา ศิริลือสาย ศิริวิทย์ หอสูติสิมา ณัชชารีย์ องค์กาญจนา เมธาวี โฉมทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Orawan Piyaboon Tatiya Siriluesai Siriwit Horsutisima Natcharee Ongkanchana Methawi Chomthong
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แต่ประสบปัญหาการเกิดโรคใบจุดนูนซึ่งเกิดจากเชี้อรา Colletotrichum gloeosporioides ในงานวิจัยนี้ได้แยก C. gloeosporioides จากดินใน จ.ราชบุรี สุราษฎร์ธานีและนครปฐม ทำการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces spp. จำนวน 25 ไอโซเลท โดยใช้วิธี Dual cultures พบว่าเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces sp. ไอโซเลท SC-1 ที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. gloeosporioides หลังจากนำเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces sp. ไอโซเลท SC-1 มาสกัดด้วย ethyl acetate แล้วนำส่วนสกัดหยาบที่มีความเข้มข้น 346.15 (100%), 259.61 (75%), 173.08 (50%), 86.54 (25%) และ 43.27 (12.5%) มก./มล.มาทดสอบด้วยวิธี Paper-disc agra-plate พบว่าส่วนสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 86.54 มก./มล. เป็นค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่ยับยั้งเชื้อรา C. gloeosporioides โดยไม่แตกต่างจากสารเคมี benomyl ความเข้มข้น 7.5 มก./มล. อย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติ หลังจากนั้น ทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคใบจุดนูนในยางพาราชำถุงส่วนสกัดหยาบของเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces sp. ไอโซเลท SC-1 ที่ความเข้มข้น 86.54 มก./มล. พบว่าการใช้ส่วนสกัดหยาบจากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces sp. ไอโซเลท SC-1 ความเข้มข้น 86.54 มก./มล. ปริมาตร 200 400 และ 600 ไมโครลิตร มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเกิดโรคเป็น 65.28 76.85 และ 88.43 ตามลำดับ และเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเกิดโรคในยางพาราชำถุงที่ได้รับส่วนสกัดหยาบ 86.54 มก./มล. ปริมาตร 200 ไมโครลิตร ไม่แตกต่างจากสารเคมี benomyl ความเข้มข้น 7.5 มก./มล. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): Colletotrichum leaf spot disease from Colletotrichum gloeosporioides is the major diseases in para rubbers, important economic plants in Thailand. In the present study, C. gloeosporioides were collected in soil from Ratchaburi, Surat Thani and Nakhon Pathom provinces and 25 isolates of Streptomyces spp. were investigated to determine the inhibitory effect on the growth of C. gloeosporioides using dual culture tests. The result showed that Streptomyces sp. SC-1 had an ability to inhibit the growth of C. gloeosporioides then, 5 concentrations of the crude extract from Streptomyces sp. SC-1 which are 346.15 (100%), 259.61 (75%), 173.08 (50%), 86.54 (25%) and 43.27 (12.5%) mg/ml were tested using the paper-disc agar-plate method. 86.54 mg/ml crude extract was the lowest concentration that had no significant difference from of 7.5 mg/ml benomyl. Therefore, 86.54 mg/ml of crude extract from Streptomyces sp. SC-1 was applied to the leaf of poly bag para rubber. The result was found that the percentage of inhibition was 65.28, 76.85 and 88.43 for 200, 400 and 600 µl of the curde extract, respectively. The percentage of inhibition of 200 µl had no significant difference from that of 7.5 mg/ml benomyl.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของส่วนสกัดหยาบของแบคทีเรีย Streptomyces spp. ในการควบคุมโรคใบจุดนูน (Colletotrichum gloeosporioides Penz. Sace.)
กรมวิชาการเกษตร
2556
เอกสารแนบ 1
สรุปชุดโครงการวิจัย การเฝ้าระวังการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียและการศึกษากลไกทางเภสัชเพื่อกำหนดการใช้สารต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ 2546 - 2548 ความต้านทานโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ของยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251 โรคใบจุด corynespora ของถั่วเขียวผิวดำ ความหลากหลายของเชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. glycines สาเหตุโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองและการพัฒนาไพร์เมอร์จำเพาะที่ใช้ในการตรวจสอบ โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคใบขาวของอ้อย การคัดกรองเชื้อรา Trichoderma spp. เบื้องต้นเพื่อควบคุมโรคใบจุดผักสลัด การแพร่ระบาดและการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้และโรคใบจุดปทุมมา (Curcuma alismatifolia Gagnep) การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. ประสิทธิภาพของสารสกัดพืชสมุนไพรไทยในการควบคุมโรคติดเชื้อแบคทีเรียในปลากัด การทดสอบสารเคมีในการควบคุมเชื้อรา Cylindrocladium sp. สาเหตุโรคใบจุดของยูคาลิปตัส

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก