สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินที่ระดับความเค็มต่างๆ
กมลทิพย์ ศศิธร, บุญสม โพธิ์อุ่น, จุฑารัตน์ รัตนปัญญา, สิรินันท์ จินดาโสม - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินที่ระดับความเค็มต่างๆ
ชื่อเรื่อง (EN): Comparative study on growth of earthworm at different salinity levels.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินที่ระดับความเค็มต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินที่ระดับความเค็มต่างๆ และคัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่มีความสามารถในการทนเค็มที่ระดับเค็มต่างๆ ดำเนินการทดลองในเรือนทดลองสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึง เดือนกันยายน 2560 โดยจัดสิ่งทดลองแบบ Factorial ภายใต้แผนการทดลองสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัย A = ระดับความเค็มของดินที่นำมาผสมวัสดุเลี้ยง มี 4 ระดับ คือ A1 = ดินไม่เค็ม A2 = ดินเค็มน้อย A3 = ดินเค็มปานกลาง และ A4 = ดินเค็มมาก และปัจจัย B = สายพันธุ์ไส้เดือน มี 4 สายพันธุ์ คือ B1 = สายพันธุ์ขี้ตาแร่ B2 = สายพันธุ์ไทเกอร์ B3 = สายพันธุ์อัฟริกัน และ B4 = สายพันธุ์ท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น ผลการทดลอง พบว่า ไส้เดือนพันธุ์ขี้ตาแร่ พันธุ์ไทเกอร์ และพันธุ์อัฟริกัน มีอัตราการรอดตายเฉลี่ย 2 ครั้ง เท่ากับ 59.2, 59.8 และ 61.9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีอัตราการรอดตาย คือ 29.2 เปอร์เซ็นต์ ในสัปดาห์ที่ 8 ที่เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่บันทึกข้อมูล เมื่อเลี้ยงในวัสดุเลี้ยงที่มีความเค็มระดับต่างๆ โดยที่การเจริญเติบโตให้น้ำหนักตัวจะแตกต่างกันขึ้นกับพันธุ์ของไส้เดือน และการเลี้ยงไส้เดือนในวัสดุเลี้ยงที่ไม่เค็ม เค็มน้อย และเค็มปานกลาง ทำให้ไส้เดือนทั้ง 4 พันธุ์ มีอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตให้น้ำหนักตัวสูงกว่าการเลี้ยงในวัสดุเลี้ยงที่เค็มมาก สำหรับการเลี้ยงไส้เดือน 2 ครั้ง พบว่า ไส้เดือนพันธุ์ขี้ตาแร่ พันธุ์ไทเกอร์และพันธุ์อัฟริกัน ที่เลี้ยงในวัสดุเลี้ยงที่ไม่เค็ม เค็มน้อย และเค็มปานกลาง มีอัตราการรอดตายสูงกว่าไส้เดือนพันธุ์ท้องถิ่น
บทคัดย่อ (EN): The comparative study on growth of earthworm at different salinity levels was carried out at Land Development Regional Office 5 greenhouse, KhonKaen Province since October 2016 until September 2017. The objectives were to compare growth of earthworm at different salinity levels and selection salinity tolerance earthworm species at various salinity levels. The experimental design was Completely Randomized Design with 3 replications. Two factors were studied. Factor A was salinity levels of soil, include A1 normal soil, A2 slightly saline soil, A3 moderately saline soil and A4 severely saline soil and Factor B was type of earthworm, B1 Pheretima peguana, B2 Eisenia foetida, B3 Eudrilus eugeniae and B4 Local varieties. (Metaphire bahli) The results showed that Pheretima peguana, Eisenia foetida and Eudrilus eugeniae showed survival rate of 59.2, 59.8 and 61.9 percent, respectively higher than Local varieties which gave survival rate of 29.2 percent at age of 8 weeks. The earthworm weight varied depending on the species of the earthworm under non saline soil, slightly saline soil and moderately saline soil had survival rate and growth higher than severely saline soil. And it found that Pheretima peguana, Eisenia foetida and Eudrilus eugeniae in non saline soil, slightly saline soil and moderately saline soil showed higher survival rate than Local varieties.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินที่ระดับความเค็มต่างๆ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2560
การตอบสนองต่อความเค็มระดับต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตของผักโขม ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาหมอ "ชุมพร 1" การจัดการดินในหลุมปลูกด้วยวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ผลในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ ผลของการไถกลบซากถั่วเขียวที่อายุต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดข้าวเหนียว ผลของการใช้โปรตีนระดับต่างๆ กันในอาหารต่อการเจริญเติบโตและลักษณะซากของไก่เบตง ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของของกั้งตั๊กแตนหางจุด ( Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของของกั้งตั๊กแตนหางจุด ( Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ศึกษาการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพในการจัดการดินต่างๆร่วมกับหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มศักยภาพของดินต่อการเจริญเติบโตของยางพาราใน จ.ชลบุรี การขุนโคขาวลำพูนโดยเสริมอาหารข้นระดับต่างๆที่มีผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพซาก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก