สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออกและตะวันตก
วัลลิภา สุชาโต - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออกและตะวันตก
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Sugarcane Genotypes for the Central, Northern, Eastern and Western Regions
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วัลลิภา สุชาโต
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ในการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีผลผลิตสูง มีค่าบริกซ์สูง แตกกอดี สามารถปรับตัวได้ดีในเขตชลประทาน โดยนำลูกอ้อยที่ได้ผสมพันธุ์ในปี 2557 ปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี จำนวน 6,355 ต้น พื้นที่ 4 ไร่ ปลูกเป็นหลุมๆ ละ 1 ต้น โดยมีระยะห่างระหว่างร่อง 1.5 เมตร มีระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 – 2 มิถุนายน 2558 ทำการคัดเลือกจากน้ำหนักผลผลิตต่อกอ และลักษณะทางการเกษตรที่ดีได้แก่ จำนวนลำต่อกอ ขนาดลำ ความสูง และค่าความหวาน (brix) ไส้กลางเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร ขนที่กาบใบน้อยหรือไม่มี และไม่แสดงอาการของโรคแส้ดำ และใบขาว ทำการคัดเลือกอ้อยในเดือนมีนาคม ได้โคลนอ้อยที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะทางการเกษตรที่ดี จำนวน 223 โคลน โดยมีจำนวนลำอยู่ระหว่าง 4-17 ลำต่อกอ ค่าความหวานในแปลงทดลอง (brix) อยู่ระหว่าง 14.00-24.20 องศาบริกซ์ ซึ่งโคลนอ้อยที่คัดเลือกได้นั้นจะนำไปปลูกในการคัดเลือกครั้งที่ 2 ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This is the progress report of sugarcane varietal development U-Thong’s series 2014. The Objectives of this experiment was to select high yielding sugarcane clones with good tillering and high sugar content. The 6,355 seedlings from 2014’s crossing were transplanted in March 28, 2015 – June 2, 2015 at 1.5x0.5 m.2 The criteria used in this selection were yield per stool, number of stalks, stalk diameter, height, brix, pith and hair of midrib. The clones those infected with smut and white leaf diseases would be discarded. The results in March found that 223 clones were selected. There are had number of stalks yield between 4-17 stalks and brix between 14.00-24.20 brix that would be planted to the second selection.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออกและตะวันตก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
การประเมินเชื้อพันธุกรรมอ้อยป่าเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยพลังงาน การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้ทนดินเค็มโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการก่อกลายพันธุ์ การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมในอ้อยเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย การพัฒนาและปรับใช้ คำแนะนำการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่สำหรับอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อใช้เป็นคำแนะนำการจัดการธาตุอาหารหลักเฉพาะพื้นที่ สำหรับอ้อยภาคกลางฝั่งตะวันตก โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตที่ดีในเขตภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การประเมินพันธุ์อ้อยดีเด่นในพื้นที่แปลงเกษตรกร และสร้างเครือข่ายการทดสอบพันธุ์ของนักวิจัยและเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลสำหรับอ้อย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก