สืบค้นงานวิจัย
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำอิง จังหวัดพะเยา
สุธิดา โส๊ะบีน - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำอิง จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Structure and Distribution of Fish Community in the Ing River, Phayao Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุธิดา โส๊ะบีน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Ing river, fish community, structure and distribution
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำอิง จังหวัดพะเยา ทำการลุ่มตัวอย่างด้วยกระแสไฟฟ้าและชุดเครื่องมือข่าย 6 ขนาดช่องตา คือ 20, 30, 40 55, 70 และ 90 มิลลิเมตร จากจุดสุ่มตัวอย่าง 3 จุด ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงเดือนกันยายน 2548 รวม 6 เที่ยวสำรวจที่ได้ไปวิเคราะห์โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ดัชนีบ่งชี้สภาพนิเวศน์และการวิเคราะห์ทางสถิติแบบหลายตัวแปรของวิธีการวิเคราะห์การจัดกลุ่มและการจัดลำดับ ผลการศึกษาพบพันธุ์ปลาในแม่น้ำอิงรวม 46 ชนิด 14 วงศ์ โดยพบพันธุ์ปลาในวงศ์ปลาตะเพียนมากที่สุดจำนวน 24 ชนิด โครงสร้างประชาคมปลาพบปลาแป้นแก้วและปลาตะเพียน มีสัดส่วนโดยจำนวนและน้ำหนักมากที่สุดร้อยละ 36.95 และ 30.67 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของดัชนีความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และดัชนีความเท่าเทียม มีค่าเท่ากับ 4.65±0.28, 3.26±0.39 และ 0.62 ±0.06 ตามลำดับ การศึกษาการแพร่กระจายของชนิดพันธุ์ปลาที่พบมาก 7 ชนิด พบพันธุ์ปลา 3 ชนิด มีความชุกชุมมากบริเวณจุดสำรวที่ 3 บ้านปางมดแดง การแพร่กระจายตามขนาดความยาวพบปลาแป้นแก้ว ปลารากกล้วย และปลาสร้อยขาว มีการแพร่กระจายตามพื้นที่เท่าเทียมกันในทุกขนาดประชากรปลา ผลการวิเคราะห์การจัดกลุ่มและการจัดลำดับ พบการจัดกลุ่มปลาออกเป็น 5 กลุ่ม โดยการสำรวจในเดือนมีนาคม พฤษภาคม และ กรกฎาคม 2548 พบชนิดและปริมาณปลามีความคล้ายคลึงกันทั้ง 3 จุดสำรวจ การศึกษาประสิทธิภาพผลจับปลาของเครื่องมือข่าย พบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 598.45 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางมตรต่อคืน โดยข่ายขนาดช่องตา 20 มิลลิเมตร มีผลจับสูงสุดเท่ากับ 1,196.52 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน และผลจับปลาของชุดเครื่องมือข่ายโดยน้ำหนักและจำนวนตามจุดสำรวจและเดือนสำรวจไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่ผลจับปลามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของขนาดช่องตาป่าย (p<0.05)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=220
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำอิง จังหวัดพะเยา
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำชี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้าเขื่อนสิริกิติ์ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำจันทบุรี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ในแม่น้ำน่าน โครงสร้าง และการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำตาปี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ในเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก