สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา
ชไมพร แก้วศรีทอง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่อง (EN): Diversity, Abundance, and Distribution of Plankton in U-tapao Canal, Songkhla Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชไมพร แก้วศรีทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chamaiporn Kaewsrithong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมตัวอย่างแพลงก์ตอน จำนวน 6 จุดสำรวจ รวม 4 ครั้ง ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 ที่ระดับความลึก 0.5 เมตร จากผิวน้ำ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประเมินผลด้วยค่าดัชนีทางนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิต และการวิเคราะห์ทางสถิติแบบหลายตัวแปร (multivariate) ของการวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (cluster analysis) และการจัดลำดับ (multi-dimensional scaling: MDS) ผลการศึกษาพบชนิดแพลงก์ตอนทั้งหมด106 สกุล มีปริมาณเฉลี่ย 37,623.4 × 105 หน่วยต่อลูกบาศก์เมตรประกอบด้วยแพลงก์ตอนพืช 3 ดิวิชัน 61 สกุล แพลงก์ตอนสัตว์ 5 ไฟลัม 42 สกุล มีปริมาณแพลงก์ตอนพืชและสัตว์เฉลี่ย 36,587.7 × 105 และ 1,035.7 × 105 หน่วยต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีแพลงก์ตอนพืชในดิวิชัน Chlorophyta เป็นโครงสร้างหลัก และแพลงก์ตอนสัตว์ในไฟลัม Arthropoda เป็นโครงสร้างหลัก โดยแพลงก์ตอนในกลุ่ม/สกุล Aulacoseira, Scenedesmus, Trachelomonas, Actinastrum, Pediastrum, Oscillatoria, Eudorina, Microcystis, Copepod nauplii และ Spirulina เป็นกลุ่ม/สกุลเด่น ดัชนีความมากชนิด ดัชนีความเท่าเทียม และดัชนีความหลากหลายพบมีค่าเฉลี่ย 3.97 ± 0.65, 0.59 ± 0.15 และ 2.96 ± 0.70 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ species abundance distribution พบการแพร่กระจายของชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนดีที่สุดที่จุดสำรวจที่ 1, 2 และ 3 และในเดือนมีนาคม 2555 (แพลงก์ตอนพืช) เดือนกันยายน 2555 (แพลงก์ตอนสัตว์) การจัดกลุ่มสำรวจความคล้ายคลึงตามจุดสำรวจของแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์แบ่งได้ 8 กลุ่ม และ 4 กลุ่ม ตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา
กรมประมง
31 มีนาคม 2556
กรมประมง
ความหลากหลาย ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในแม่น้ำเจ้าพระยา ความหลากหลาย ความชุกชุม การแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชนิด ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในแม่น้ำตาปี (เปลี่ยนชื่อโครงการ เป็นความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของแพลก์ตอนในแม่น้ำตาปี) คุณภาพน้ำและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในแม่น้ำชี ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช และความสัมพันธ์ระหว่างแพลงก์ตอนพืชกับคุณภาพน้ำในแม่น้ำจันทบุรี การสะสมปริมาณสารสีในลูกปลาแมนดาริน,Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เมื่ออนุบาลด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิด ความหลากหลายของโปรโตซัวและแพลงก์ตอนในพื้นที่โครงการ อพ.สธ. กำลังผลิตด้านชีววิทยาและความหลากหลายของแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำของป่าสาคู ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในแม่น้ำน่านตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก