สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวเคมีในจังหวัดสุรินทร์
ศิลปพร ชื่นสุรัตน์, ศิลปพร ชื่นสุรัตน์ - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวเคมีในจังหวัดสุรินทร์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ ปีเพาะปลูก 2554/55 มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวเคมี (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร วิธีการศึกษาสัมภาษณ์เกษตรกรรวม 101 ราย แบ่งเป็นผลิตข้าวอินทรีย์จำนวน 40 ราย และข้าวทั่วไป 61 ราย และวัดคุณภาพชีวิต 9 ด้าน 61 ตัวชี้วัด ในการวิเคราะห์ใช้ลิเคร์ทสเกลแบ่งระดับคุณภาพชีวิตออกเป็น 5 ระดับ คือ คะแนน 1.00-1.80 มีคุณภาพชีวิตน้อยมาก คะแนน 1.81-2.60 มีคุณภาพชีวิตน้อย คะแนน 2.61-3.40 มีคุณภาพชีวิตปานกลาง คะแนน 3.41-4.20 มีคุณภาพชีวิตดี และคะแนน 4.21-5.00 มีคุณภาพชีวิตดีมาก ผลการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวทั่วไปพบว่าคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์ดีกว่าคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวทั่วไปทุกด้าน ได้แก่ (1) ด้านครอบครัว ค่าเฉลี่ยของเกษตรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.65 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 4.55 (2) ด้านที่อยู่อาศัยค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.55 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 4.34 (3) ด้านสุขภาพ ค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.31 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 3.39 (4) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.23 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 3.61 (5) ด้านนันทนาการ ค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.23 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 3.61 (6) ด้านจิตใจ ค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.14 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 3.87 (7) ด้านการศึกษา ค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.12 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 3.85 (8) ด้านเศรษฐกิจ ค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.10 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 3.31 (9) ด้านความปลอดภัย ค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 3.82 ในขณะที่ข้าวทั่วไปเท่ากับ 3.56 ในภาพรวมค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์เท่ากับ 4.26 อยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตข้าวทั่วไปเท่ากับ 3.86 อยู่ในระดับดี ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร มีดังนี้ (1) เกษตรกรควรดื่มนมในแต่ละวัน ลดอาหารรสเผ็ดจัด ไม่ดื่มกาแฟแทนอาหารเช้า ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา (2) ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่ต้องมีเงื่อนไข และออกกำลังกายสม่ำเสมอนอกเหนือจากการทำงาน (3) ควรจัดบ้านเรือนให้สะอาด บริเวณบ้านไม่ควรให้มีน้ำขัง เพื่อปราศจากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค (4) ควรน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และที่สำคัญต้องมีความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ และอดทน จึงจะเป็นการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี (5) การซื้อขายผลผลิตต้องติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรจากหน่วยงานภาครัฐ (6) ควรพัฒนาถนนหนทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อเพื่อสะดวกในการคมนาคมขนส่งและการเดินทางไปมาหาสู่กัน (7) ควรมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนให้ชัดเจน อันจะมีผลต่อเกษตรกรในการวางแผนการใช้เงินและการวางแผนการออมให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกร (8) เกษตรกรควรปลูกพืชสวนครัวไว้บริโภคพร้อมๆ กับปลูกข้าวด้วยเพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน (9) เกษตรกรควรหารายได้เสริมนอกภาคเกษตรเพื่อการดำเนินชีวิตในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ค่าครองชีพที่สูงมากกว่าแต่ก่อน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวเคมีในจังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2556
การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก