สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน
ชัช พชรธรรมกุล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of Longan Production of Farmer in Upper Northern Region
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัช พชรธรรมกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chat Patcharathammakul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงลักษณะการผลิตลำไยของเกษตรกรเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพรวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมของเกษตรกร อันจะส่งผลถึงการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลตอบแทนสุทธิในการปลูกลำไยให้เพิ่มสูงขึ้น และ 4) เพื่อทราบถึงการส่งทอดราคารับซื้อลำไยจากตลาดรับซื้อแต่ละระดับสู่ราคาที่เกษตรกรได้รับ โดยใช้ DEA ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตลำไย และใช้แบบจำลอง Tobit ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร อีกทั้งยังใช้แบบจำลองสมการถดถอย (Regression Model) สำหรับการวิเคราะห์การส่งผ่านราคา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ขณะที่มีประสบการณ์ในการปลูกลำไยมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 11-20 ปี มีรายได้ของครัวเรือนไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี มีขนาดพื้นที่ปลูกลำไยไม่เกิน 10 ไร่ โดยเกษตรกรจะใช้น้ำบาดาลเป็นหลัก เนื่องจากสะดวกและถูกกว่าแหล่งน้ำอื่นๆ ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุดเนื่องจากมีการใช้ปัจจัยการผลิตส่วนเกินจำนวนมาก ปัจจัยส่วนใหญ่ที่ควรลด คือ เงินลงทุนทางการเกษตรและปริมาณปุ๋ยเคมี โดยการผลิตของเกษตรกรอยู่ในระยะผลได้ต่อขนาดที่ลดลง สำหรับต้นทุนการผลิตลำไยของเกษตรกรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุนการผลิตสูง คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ฉะนั้นหากเกษตรกรทำการปรับลดการใช้ปัจจัยบางประการลงจะทำให้ผลตอบแทนสุทธิของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อปรับลดปัจจัยส่วนเกินซึ่งได้จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทำให้ผลตอบแทนสุทธิของเกษตรกรเพิ่มขึ้นเนื่องจากกำหนดให้รายรับของเกษตรกรไม่เปลี่ยนแปลงภายใต้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร ประกอบด้วย ประสบการณ์ในการปลูกลำไย รายรับในภาคเกษตร เงินลงทุนส่วนตัว และระดับการศึกษา ส่วนการวิเคราะห์ส่งทอดราคาระหว่างราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาส่งออกลำไยซึ่งราคาลำไยในช่วงปี พ.ศ. 2541-2551 มีความนิ่งของข้อมูลในการทดสอบ Unit root และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของราคาพบว่าราคาลำไยที่เกษตรกรขายได้และราคาส่งออกลำไยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม อีกทั้งราคาที่เกษตรกรขายได้ยังลดลงในช่วงต้นฤดูและกลางฤดูการผลิตอีกด้วย นอกจากนี้เกษตรกรจะต้องเผชิญกับปัญหาโรคและแมลงเป็นสำคัญ เช่น มวนลำไย หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาด โรคราดำ ตลอดจนปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตและปัญหาการตลาด แต่อย่างไรก็ดีปัญหาดังกล่าวถูกควบคุมไว้จึงไม่ส่งผลกระทบมากนัก
บทคัดย่อ (EN): The study aims to (1) To know the production longans of farmers on the Upper Northern of Thailand (2) To know efficiency and the factors that effect to production longan of farmers on the Upper Northern of Thailand (3) To know the proper use of agricultural outputs that effect in lower production costs and increase net returns to growers produce longans, and 4) To know the transmit price of longan get the market to buy the individual level to the prices farmers receive that using "DEA' to analyze the efficiency of longans, using "Tobit mode!" to analyze the factors affecting the productivity of farmers, and using the regression model for the analysis of price transmission. This study found that most farmers have a level of education at the elementary and junior high school. Most farmers ages between 51-60 years old, while the experience of growing longans for a period of about 11-20 years, with a household income not exceeding 200,000 baht per year , most farmers have area no more than 10 rais of longans plantations, and farmers use the groundwater is main source because of convenience and cheaper than other water sources. In analyzing the productivity of farmers found that the farmers produce most efficiently produced at a low level to a minimum due to the excess number of inputs. Most of the factors that should reduce the amount of investment in agriculture and chemical fertilizers. The farmers are in effect the size reduction. For production costs for longans farmers did not differ significantly. The factor that contributes to the high cost of production is organic and chemical fertilizers. So if farmers make the adjustment factors will result in a net increase of farmers, and cut the excess from performance analysis yields a net increase of farmers' income, because of the farmer does not change under any period of time. The factors affecting the productivity of farmers include experience in growing longans, revenue in the agricultural sector, private investments, and educations. The analysis led to price between the farm price and the export price of longans prices during the year 1998-2008 are still of the Unit root test results and analysis of the relationship of the price. The price of longan farmers who sell produce and export price relationship in the opposite direction. The Farm prices have also declined during the early and mid-season production too. In addition, farmers are faced with problems such as disease and insect larvae roll leaves longan witches' broom disease mildew, black as well as the issue of natural resources to production and marketing problems. However, such problems are not being affected too much.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-59-021.1
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: http://mdc.library.mju.ac.th/research/2561/chat_patcharathammakul_2560/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน ผลของถ่านไม้ลำไยต่อปริมาณแอมไมเนียไนโตรเจนและเชื้ออีโคไลไนมูล กิจกรรมแอนไซม์ทริปซินในลำไส้เล็ก และประสิทธิภาพการผลิตไข่ในไก่ไข่ การศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือตอนบน การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตและปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่มีประสิทธิภาพการผลิตดอกเบญจมาศใน จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาระบบการผลิตและความยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในเขตภาคเหนือตอนบน การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือตอนบน ธุรกิจการผลิตของกลุ่มสตรีสหกรณ์ภาคเหนือตอนบน ประสิทธิผลการผลิตข้าวเพื่อสุขภาพเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นในเขตภาคเหนือตอนบน การศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตผักอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก