สืบค้นงานวิจัย
การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี
ชาคริต ศรีทอง, อรวิกา ศรีทอง, พรเทพ แก้วเชื้อ - มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อเรื่อง: การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Study of water footprint of rice in three provinces Pathumthani, Phranakornsri Ayutthaya, Supanburi
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่ารอยเท้าน้ำของข้าวที่ปลูกในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2559 ในการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีเทคนิคการวิจัยภาคสนาม นอกจากนี้ คำนวณหาค่ารอยเท้าน้ำโดยใช้โปรแกรมคำนวณความต้องการน้ำเพื่อการปลูกข้าว (WAPF) ซึ่งทางผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูล โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากสถานที่จริง โดยการสัมภาษณ์เกษตรกร ได้แก่ ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าว ข้อมูลข้าว วิธีการเพาะปลูก ข้อมูลการเตรียมแปลง ปริมาณการใช้ปุ๋ย และข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในซอฟท์แวร์ ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (ETo) และค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของข้าว (Kc) ผลการวิจัยสามารถอธิบายได้ดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวนาปีด้วยวิธีการนาหว่านน้ำตม รอยเท้าน้ำของข้าวในจังหวัดปทุมธานี มีค่าดังนี้ รอยเท้าน้ำสีฟ้า (Wblue) มีค่าเท่ากับ 736.11 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน รอยเท้าน้ำสีเขียว (Wgreen) มีค่าเท่ากับ 977.30 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน รอยเท้าน้ำสีเทา (Wgrey) มีค่าเท่ากับ 1,069.02 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และค่ารอยเท้าโดยรวมของการปลูกข้าวเท่ากับ 2,782.43 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.88 ตันต่อไร่ รอยเท้าน้ำของข้าวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีค่าดังนี้ รอยเท้าน้ำสีฟ้า (Wblue) มีค่าเท่ากับ 736.11 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน รอยเท้าน้ำสีเขียว (Wgreen) มีค่าเท่ากับ 977.30 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน รอยเท้าน้ำสีเทา (Wgrey) มีค่าเท่ากับ 1069.02 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และค่ารอยเท้าโดยรวมของการปลูกข้าวเท่ากับ 2,782.43 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.87 ตันต่อไร่ และรอยเท้าน้ำของข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี มีค่าดังนี้ รอยเท้าน้ำสีฟ้า (Wblue) มีค่าเท่ากับ 1,246.48 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน รอยเท้าน้ำสีเขียว (Wgreen) มีค่าเท่ากับ 694.90 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน รอยเท้าน้ำสีเทา (Wgrey) มีค่าเท่ากับ 877.16ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และค่ารอยเท้าน้ำโดยรวมของการปลูกข้าวเท่ากับ 2,818.53 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.8 ตันต่อไร่ จากผลการวิจัยดังกล่าว ค่ารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัดมีค่าแตกต่างจากข้าวในพื้นที่อื่น ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอปัจจัยที่ทำให้ค่ารอยเท้าน้ำมีค่าแตกต่างและเสนอแนะแนวทางการลดปริมาณรอยเท้าน้ำของข้าวในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดด้วย
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to assess the water footprint of rice in Pathumthani, Phranakornsri Ayutthaya, and Supanburi in year 2016. In this research, the data was collected by the field research technique. Moreover, the WAPF software was used to assess the water footprint. The researcher collected the data which were distinguished into two types. Primary data was the filed collection from interviewing farmers. These data consisted of the area of rice production, rice data, and the amount of fertilizers. Secondly, the secondary data was recorded within the software. These were the volume of rainfall, Reference Crop Evapotranspiration (Eto), and Crop Coefficient (Kc). The results indicated that Pathumthani: the blue water footprint (Wblue) was 736.11 m3/ton, the green water footprint (Wgreen) was 977.30 m3/ton, the grey water footprint (Wgrey) was 1,069.02 m3/ton, and the total water footprint of rice was 2,782.43 m3/ton. Furthermore, the yield of rice was average 0.88 ton/rai, Phranakornsri Ayutthaya: the blue water footprint (Wblue) was 1,246.48 m3/ton, the green water footprint (Wgreen) was 694.9 m3/ton, the grey water footprint (Wgrey) was 877.16 m3/ton, and the total water footprint of rice was 2,818.53 m3/ton. Furthermore, the yield of rice was average 0.88 ton/rai, and Supanburi: the blue water footprint (Wblue) was 1,246.48 m3/ton, the green water footprint (Wgreen) was 694.9 m3/ton, the grey water footprint (Wgrey) was 877.16 m3/ton, and the total water footprint of rice was 2,818.53 m3/ton. Furthermore, the yield of rice was average 0.8 ton/rai. From above results, the water footprint of rice in Supanburi province differed from other areas. Therefore, this research had presented the factors that made the differences and suggested the ways to reduce the water footprint of rice in Supanburi province as well.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
30 กันยายน 2559
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร คุณภาพข้าวนึ่งที่ทำจากข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก ผลของโพแทสเซียมต่อคุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีของข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก การสำรวจชนิดและปริมาณแมลงศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ ในข้าวพื้นที่ดินเปรี้ยวเขตนาน้ำฝนศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ความต้องการใช้น้ำของข้าวและงบดุลน้ำภายใต้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง การศึกษาสาเหตุการเกิดข้าวแดงปนในเมล็ดพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง พืชอายุสั้นก่อนข้าวขึ้นน้ำ รอยเท้าคาร์บอนจากระบบการปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย: การวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในประเทศไทย ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาคศาสตร์และคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดข้าวขึ้นน้ำและข้าวน้ำลึกในภาคตะวันออกของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก