สืบค้นงานวิจัย
การศึกษากระบวนการปลูกกาแฟ การแปรรูปกาแฟ และการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ จังหวัดชุมพร
สุดารินทร์ รอดมณี - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: การศึกษากระบวนการปลูกกาแฟ การแปรรูปกาแฟ และการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่อง (EN): Robusta Coffee Cultivation, Coffee Processing and Management of Thamsing Coffee Community Enterprise, Chumphon Provice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุดารินทร์ รอดมณี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การศึกษากระบวนการปลูก การแปรรูปกาแฟ และ การบริหารจัดการของเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์จังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปลูก การแปรรูปกาแฟ และการบริหารจัดการของ เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ จังหวัดชุมพร ใช้วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการปลูกกาแฟของเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลถ้ำสิงห์นั้นส่วนใหญ่นิยมปลูกพันธุ์พื้นเมืองถ้ำสิงห์ ที่ให้ผลดก เมล็ดใหญ่ กิ่งแขนงยาว ข้อถี่ เก็บผลผลิตง่าย และให้ผลผลิตดีโดยใช้ต้นกล้าที่ได้จาก การคัดพันธุ์และเพาะเมล็ดเองเป็นหลัก ซึ่งนิยมปลูกกาแฟแบบผสมผสานใน พื้นที่ว่างของสวนผลไม้เช่น ทุเรียน มังคุดลองกองกล้วยและเงาะ เป็นต้น ทำให้ สามารถจัดการน้ำ ปุ๋ย หรือกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกันได้การตัดแต่งกิ่งจะเริ่มทำเมื่อ ต้นกาแฟอายุประมาณ 5 เดือน ถึง 1 ปีโดยจะคัดเลือกเฉพาะกิ่งที่สมบูรณ์ไว้ ประมาณ 3-5 กิ่งต่อต้น หลังการเก็บเกี่ยวกิ่งกาแฟที่ให้ผลผลิตแล้วจะถูกตัดทิ้ง มีการตัดฟื้นต้นกาแฟเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป เกษตรกรจะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เท่าที่จำเป็นและใช้ชีววิธีร่วมด้วยโดยเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยมือและเลือกเก็บเฉพาะ ผลสีแดงและสีส้ม เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทุกรายได้รับมาตรฐาน GAPในทุกรายพืช ที่อยู่ในแปลงรวมถึงกาแฟด้วย กลุ่มฯ มีการแปรรูปกาแฟเป็น กาแฟคั่ว กาแฟคั่วบด กาแฟ 3in1 และ กาแฟ 4in1 ซึ่งเมื่อรับซื้อเมล็ดกาแฟมาจากเกษตรกรแล้วจะน้ำมาลอยน้ำเพื่อ คัดเมล็ดเสียออก จากนั้นน้ำเข้าเครื่องสีเปลือกออก เรียกว่า การสีสด เสร็จแล้ว นำมาตากแห้งจะได้กาแฟกะลาเมื่อสีอีกครั้งได้กาแฟสารและนำเข้าเครื่องคั่วและ บดต่อไป ในส่วนของกาแฟ 3in1 และกาแฟ 4in1 ทางกลุ่มฯ ได้ส่งเมล็ดกาแฟ ให้บริษัทภายนอกทำแห้งแบบพ่นฝอย จากนั้นนำกลับมาบดให้เกล็ดมีขนาดเล็กลง แล้วผสมกับส่วนผสมอื่นตามสูตร เพื่อทำเป็นกาแฟ 3in1 และกาแฟ 4in1 ต่อไป ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มจำหน่ายภายใต้ชื่อสินค้า กาแฟถ้ำสิงห์ได้รับมาตรฐานต่างๆ ดังนี้มผช. OTOP 5 ดาว อย. และฮาลาล การบริหารจัดการทั้งกระบวนการปลูกกาแฟ การแปรรูปกาแฟ ใน เส้นทางธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ จังหวัดชุมพร ถือเป็น แบบอย่างที่ดีให้กลุ่มวิสาหกิจอื่นๆ ที่มีความสนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับบริบทและศักยภาพของตนเอง โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อ ความสำเร็จของการดำเนินงานของกลุ่มฯคือเกษตรกรมีองค์ความรู้ในการคัดเลือก พันธุ์และขยายพันธุ์กาแฟด้วยตนเองทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ผู้นำวิสาหกิจชุมชน คือ ประธานกลุ่ม เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยได้คัดเลือก ทีมงานบริหารที่มีความสามารถ มีความสามัคคีและมีความคิดในการบริหารงาน ไปในทิศทางเดียวกัน มีจุดเด่นที่ใช้หลักการตลาดนำการผลิต มีการวางแผน ทางการผลิตและการตลาดที่ดีมีความสามารถในการจัดหางบประมาณมาสนับสนุน ให้กลุ่มฯ ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนภายในเพียงพอต่อการบริหารจัดการในการดำเนิน ธุรกิจ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากใช้ผลผลิตจากต้นกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกในสภาพพื้นที่ และภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้เมล็ดกาแฟมีคุณภาพและรสชาติดีผลิตภัณฑ์ จึงเป็นที่รู้จักและยอมรับ ก่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งในด้านสินค้าและการบริการ โดยกลุ่มได้รับการสนับสนุนที่ดีและต่อเนื่องจากองค์กรของภารรัฐและภาคเอกชน
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this qualitative study on the topic of Robusta Coffee Cultivation, Coffee Processing and Management of Thamsing Community Enterprise, Chumphon Province, was to study the cultivation, process, and management among coffee farmers of the Thamsing Coffee CommunityEnterprise. It was found that the majority ofcoffeefarmers preferred Thamsing localcoffeeseedling becauseof its fruitfulness, large beans, longtwigs, severalnodes,effortlessharvest, and good yield. The coffee was planted mixing withorchards such as durian, mangosteen, longkong, banana, and rambutan. This let farmers can manage water, fertilizer, and other activities altogether at thesametime.Pruning branches started whenthecoffeeisfive-month to one-year-old especially for the healthy branches approximately three to five branches per one tree. After harvest, over ten-year-old trees were slashed. For pest management, the coffee farmers used biologicalcontroland pesticide.Theyharvested coffee byhand-picking and selected only the red and orange berries. Presently, all of them have received Good Agricultural Practices (GAP) certification to prove that all kinds of plants growing in the farm are saved The Enterprise has processed coffee beans into a variety of products such as roasted coffee, ground roasted coffee, 3-in-1 instant coffee, and 4-in-1 formula. Coffee beans were purchased from the farmers, then floated inorder to pickout the defects, brought intothe pulpingmachine which wascalled as fresh pulping, sun dried until they became coffee cherries, re-pulped toget the green beans, and taken intotheroasterand grinder. As for3-in-1and 4-in-1instant coffee, the Enterpriseoutsourced a company for spray drying.The products were ground intosmaller flakesandmixed withother ingredients depending upon a particular formula either 3-in1 or 4-in-1 formula. The products were launched under the brand Thamsing Coffee certified by many standards suchasThai CommunityProductStandard (TCPS),ThaiFood and Drug Administration (Thai FDA), 5-star OTOP, and Halal Standard.The management of coffee cultivation and process of the Thamsing Coffee Community Enterprise is a great model for other groupstoapplyuseful techniquesfor theirowncontextand potentiality. Thecrucial factors thataffected theachievementof theenterprise was knowledge of the coffee farmers in coffee seed selection and propagation which resulted in quality of the produce. The Thamsing Coffee Community Enterprise leader has long vision and creativity thinking. He selected the team by focusing on the member who has thesameideaand perception. Moreover, theenterpriseappliedmarket oriented approach for production planning. Besides, the high ability toseek supportive budgets let theenterprisehasadequatecirculating funds for business administration. It is found that the enterprise was supported by government and private sectors continuously. The good quality of product and its unique taste were produced from Robusta which grown in proper region and temperature. Therefore, the products are well known which lead to product and satisfaction of consumer.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_dl_link.php?nid=395
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษากระบวนการปลูกกาแฟ การแปรรูปกาแฟ และการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ จังหวัดชุมพร
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตแผ่นยางปูพื้นสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (เฟส2) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรในจังหวัดเชียงใหม่ ไร่กาแฟจ่านรินทร์ เขาค้อ สวรรค์ของคอกาแฟตัวจริง การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน กาแฟผสมน้ำตาลโตนด ต้นฉบับของดี Original จากจังหวัดสงขลา การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร กระบวนการบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขนมทองม้วนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปบ้านกุดกุ่ม ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ กาแฟเพื่อสุขภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก