สืบค้นงานวิจัย
การสร้างสรรค์ใบยางพารา เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและของชำร่วย
พรชัย ปานทุ่ง - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ชื่อเรื่อง: การสร้างสรรค์ใบยางพารา เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและของชำร่วย
ชื่อเรื่อง (EN): TheCreative Rubber Leaves for décor and gifts Product.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พรชัย ปานทุ่ง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสร้างสรรค์ใบยางพารา เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและของชำร่วยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนารูปผลิตภัณฑ์จากใบยางพารา 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้บริโภคต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ รูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ 3 รูปแบบ วอลเปเปอร์ติดผนัง 3 รูปแบบ และของชำรวย 3 รูปแบบที่ผลิตจากในยางพารา ผู้บริโภคในเขตวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร คือ นักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน ผู้ประกอบการขายของที่ระลึก 5 ร้าน และเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจผู้บริโภค แล้วนำข้อมูลมาหาค่าร้อยละ เฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่าใบยางพาราที่เหมาะสมที่จะนำมาทำเยื่อใบยางพาราที่ดีต้องมีลักษณะของใบที่สมบูรณ์ ถ้าใบยางพาราแก่จะทำให้การขูดเนื้อใบยาก ใบยางพาราอ่อนเกินไปโครงการของเส้นใยจะไม่แข็งแรง หลังจากได้เยื่อใบยางพารานำมาดำเนินการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ของชำรวย วอลเปเปอร์และประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบ ในด้านประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ย 4.07 (SD = .23 ) อยู่ในระดับมาก ด้านรูปร่างรูปทรงมีค่าเฉลี่ย 3.73 (SD = .35) อยู่ในระดับมาก ความสวยงามมีค่าเฉลี่ย 3.67 (SD = .66) อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดในด้านประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ย 3.75 (SD = .66) อยู่ในระดับมาก ความสวยงาม มีค่าเฉลี่ย 3.60 (SD = .69) อยู่ในระดับมาก ด้านรูปร่างรูปทรงมีค่าเฉลี่ย 3.20 (SD = .55) อยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ของชำรวย และวอลเปเปอร์ ในด้านความสวยงามมีค่าเฉลี่ย 4.67 (SD=.46) อยู่ในระดับมากที่สุดด้านรูปร่างรูปทรงมีค่าเฉลี่ย 4.32 (SD=.72) อยู่ในระดับมาก ด้านประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ย 4.12 (SD=.69) อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้ประกอบการขายของที่ระลึกต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ของชำรวย และวอลเปเปอร์ ในด้านความสวยงามมีค่าเฉลี่ย 4.33 (SD=.86) อยู่ในระดับมาก ด้านประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ย 4.24 (SD=.72) อยู่ในระดับมาก ด้านรูปร่างรูปทรงมีค่าเฉลี่ย 4.00 (SD=.84) อยู่ในระดับ มาก ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในเขตอำเภอนครไทยต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ ของชำรวย และวอลเปเปอร์ ในด้านความสวยงามมีค่าเฉลี่ย 4.73 (SD=.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านประโยชน์ใช้สอยมีค่าเฉลี่ย 4.44 (SD=.65) อยู่ในระดับ มากด้านรูปร่างรูปทรงมีค่าเฉลี่ย 4.40 (SD=.91) อยู่ในระดับ มาก
บทคัดย่อ (EN): The Rubber Leaf Creation for Decoration and Gif Product Production Purposes : 1) Study Development of the Rubber Leaf Products. 2) Evaluate Consumer Satisfaction with the Product Design form Samples in the Research. The 3 Lighting Product Design, 3 Wallpaper Design, and 3 Souvenir Design that Made form the Rubber Leaf. The Consumers in the WatPhra Si Rattana Mahathat Temple Area are 100 Tourists. 5 Entrepreneurs of Souvenir Shops and 3 Rubber Growers in Nakhon Thai District, Phisanulok Province. The Tool that Used in this Research is Consumer Satisfaction Questionnaire. The Data Were Percentage, Mean and Standard Deviation. The Consumer Satisfaction of Product Design of Lamps, Souvenir, and Wallpaper in Terms of Beauty with an Average of 4.67 (SD= .46) in the Shape with an Average of 4.32 (SD = .72) was High. The Utillization is on Average 4.24 (SD = .72) was High. The Entrepreneurs Satisfaction of Souvenir on the Product Design, Lamps, Souvenir, and Wallpaper in Terms of Beauty with an Average of 4.33 (SD= .86) was High. The Utillization is on Average 4.24 (SD = .72) was High. The Shape with an Average 4.00 (SD = .84) was High. The Satisfaction of Rubber Growers in Nakhon Thai District on the Product Design, Lamps, Souvenir and Wallpaper in Terms of Beauty with an Average of 4.73 (SD = .46) were at the Highest Level. The Utillization is on Average 4.44 (SD = .65) in the Shape is on an Average 4.40 (SD = .91) was High.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสร้างสรรค์ใบยางพารา เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งและของชำร่วย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
30 กันยายน 2559
การวิจัยพัฒนาการผลิต ผลิตภัณฑ์ยางและอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ยางพารา ศึกษาโครงสร้างธุรกิจการแปรรูปยางพาราและอุตสาหกรรมยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาโครงสร้างธุรกิจการแปรรูปยางพาราและอุตสาหกรรมยางพาราใน จ.สุราษฎร์ธานี ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของทิศทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราการแปรรูป คุณภาพ และสมบัติของไม้ยางพารา โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ ศักยภาพการผลิต ผลิตภัณฑ์จากใบยางพาราของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรควนสุบรรณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การรีไซเคิลน้ำเสียจากการแปรรูปยางพาราในชุมชน ด้วยระบบกลั่นพลังงานแสงอาทิตย์ ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 5-3-5 ต่อการให้ผลผลิตของยางพารา การใช้ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตยางพารา จังหวัดมุกดาหาร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก