สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาไอศกรีมข้าวกล้องของตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
พอใจ สิงหเนตร - มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาไอศกรีมข้าวกล้องของตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่อง (EN): Knowledge body development and community product increment : A case study of brown rice ice cream, Kohkha sub-district, Kohkha district, Lampang province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พอใจ สิงหเนตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บัณฑิต บุษบา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตไอศกรีมข้าวกล้อง พัฒนาองค์ความรู้ เพิ่มมูลค่าสินค้า และเพิ่มช่องทางในการพัฒนาเป็นอาชีพของชาวบ้านของตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมายได้แก่กลุ่มผู้ประกอบการการผลิตไอศกรีมข้าวกล้อง จำนวน 1 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 7 คน โดยใช้แบบสอบถามประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In deep interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีลักษณะของการประกอบธุรกิจในช่วงแรกโดยจัดตั้งจากภาครัฐโดยมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปางได้เข้ามาส่งเสริมการทำไอศกรีมที่มาจากข้าวกล้อง พร้อมทั้งบอกสูตรในการทำไอศกรีม ปัญหาที่พบจากการทำงานของผู้ประกอบการไประยะหนึ่งคือเรื่องรสชาติของไอศกรีมไม่ถูกใจผู้บริโภค ด้านลูกค้า ลูกค้าส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการอยู่ในอำเภอเกาะคา แสดงให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ยังไม่ดีพอ ลูกค้าส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักไอศกรีมข้าวกล้อง ช่องทางการจัดจำหน่ายมีเพียงช่องทางเดียวคือการขายให้กับลูกค้าโดยตรง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการมีบรรจุภัณฑ์ง่าย สามารถรักษาคุณภาพของไอศกรีมได้ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ทำให้ไอศกรีมละลายเร็ว นอกจากนั้นยังไม่มีลายละเอียดของผลิตภัณฑ์บอกไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ ลักษณะของการขนส่งผลิตภัณฑ์มีเพียงวิธีเดียวคือผู้ประกอบการจะใช้รถยนต์ของตนเองในการขนส่ง เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว ด้านการชำระเงินของลูกค้ามีเพียงวิธีเดียวอีกเช่นกันคือ เงินสด ด้านการหาลูกค้าใหม่ของผู้ประกอบการได้มาจากงานฤดูหนาวของอำเภอเกาะคา ด้านการกำหนดราคาขาย ผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนดแต่เพียงผู้เดียว ส่วนทางด้านการจัดซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ผู้ประกอบการจะมีการซื้อคราวละไม่มาก ไม่ถี่ มูลค่าในการซื้อไม่สูง และผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้าเท่านั้น ด้านการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยการให้คะแนนความชอบของผลิตภัณฑ์โดยใช้การประเมิน แบบ 9 point-hedonic Scale พบว่ารสชาติที่ได้รับความชอบมากที่สุดคือ รสเผือก รองลงมาคือรสดั้งเดิม รสใบเตย และรสอัญชันตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): This research had the objectives to transfer the knowledge body of organic rice ice-cream production process, develop knowledge body, increase product value and increase the channel in developing it to be an occupation for the villagers in Ko kha sub-district, Ko kha district, Lampang province. The target group was one organic ice-cream producing group with 7 informants using a questionnaire together with an in-dept interviews as data collection tools. The study found the practitioners were first setup by a government university, Rajamankala Lanna Lampang Campus, that came in to encourage the making of ice-cream from organic rice with the ice-cream formula. The problem found after producing for a while was that the taste was not liked by the consumers. Most of the customers were from Ko kha district that showed the public relations was not good enough. Most of the customers did not know the organic rice ice-cream. The channel of selling was only one, sell directly to the customers. The form of the packaging was simple and could keep the ice-cream quality just for a period of time then it melted quickly and did not have details of ingredient on the package. The only way to transport the ice-cream was by his own truck which was quick and convenient. The only way for the customers to pay was by cash. Finding new customers was from Ko kha Winter Fair. Pricing was specified by only the practitioner himself. For buying the raw materials for production, the practitioner bought in small quantity, not often, the purchasing value was not high and produced according to the customers’ order only. Product quality testing by senses assessed according to the 9-point hedonic scale found the most preferred taste was taro followed by original taste, pendant-leaf taste and butter-fly pea taste respectively.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-01-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-01-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาไอศกรีมข้าวกล้องของตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
14 มกราคม 2558
กลุ่มวิจัยการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ชาเจียวกู่หลานเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ ผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มหมอพื้นบ้านล้านนา ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี การเสริมสร้างมูลค่าของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในชุมชนในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ความต้องการพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล จ.พิษณุโลก การวิเคราะห์ธุรกิจและต้นทุนผลิตภัณฑ์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ที่มิใช่อาหารและยา การพัฒนาการปลูก การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญา [Musa (ABB Group)] เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิตและการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน ศักยภาพการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติด้านพืชพรรณของชุมชนเกษตรกรรมเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา ต.เพนียด อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี การศึกษาและพัฒนาเส้นใยพืชมะละกอเพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก