สืบค้นงานวิจัย
สภาพการเพาะเห็ดฟางจากเปลือกมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546
โสภิต รักสกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการเพาะเห็ดฟางจากเปลือกมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โสภิต รักสกุล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการเพาะเห็ดฟางจากเปลือกมันสำปะหลัง ในตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร สภาพการเพาะเห็ดฟางของเกษตรกร ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการเพาะเห็ดฟาง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟางจากเปลือกมันสำปะหลัง ในตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 จำนวน 105 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนมากร้อยละ 61.9 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 43 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ในครัวเรือนมีสมาชิกเฉลี่ย 5 คน มีแรงงานเกษตรเฉลี่ย 2 คน และมีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 11.68 ไร่ พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีการจ้างแรงงาน มีพื้นที่เพาะเห็ดฟางของตนเอง ใช้เปลือกมันสำปะหลัง และใช้เงินทุนตนเองเพาะเห็ดฟาง เกษตรกรส่วนใหญ่เพาะเห็ดฟางในพื้นที่นา พื้นที่เป็นดินร่วนทราย มีการปรับพื้นที่พรวนดินยกแปลงก่อนเพาะเห็ด และพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เคยเพาะเห็ดฟางน้อยกว่า 4 ปี ในหนึ่งปีเพาะเห็ดฟางติดต่อกันน้อยกว่า 7 เดือน ซื้อเปลือกมันสำปะหลังราคามากกว่า 280 บาทต่อตัน มีการสุ่มตรวจเชื้อเห็ดฟาง เพาะเห็ดฟาง 30 กองต่อแปลง ระยะห่างกองเห็ดฟาง 20 เซนติเมตร ใช้เชื้อเห็ดฟาง 25-30 ถุงต่อแปลง ใช้อาหารเสริม 2-3 ปิ๊ปต่อการใช้เชื้อเห็ดฟาง 60 ถุง ไม่ใส่ปูนขาว และพบว่าส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 น้อยกว่า 2 กิโลกรัม ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 1 กิโลกรัม ใช้น้ำจากบ่อ และสระ การเก็บผลผลิตเห็ดฟาง 6-8 วัน ต่อ 1 รุ่น โดยเก็บทั้งช่วงเวลาเช้าและเย็น ได้ผลผลิต 30-40 กิโลกรัมต่อการใช้เชื้อเห็ดฟาง 60 ถุง เกษตรกรมีรายได้จากการเพาะเห็ดฟางน้อยกว่า 6,500 บาทต่อเดือน เกษตรกรส่วนใหญ่ตัดสินใจเพาะเห็ดฟางเพื่อเสริมรายได้ในครัวเรือน และได้รับความรู้ในการเพาะเห็ดฟางจากญาติพี่น้อง สำหรับปัญหาการเพาะเห็ดฟาง พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหามากในประเด็น เพาะเห็ดฟางซ้ำในที่เดิม เปลือกมันสำปะหลังมีราคาแพง และราคาเห็ดฟางไม่แน่นอน ราคาต่ำ มีปัญหาน้อยในประเด็น ความรู้ไม่เพียงพอ พ่อค้ารับซื้อมีน้อยราย พื้นที่ไม่สามารถเพาะเห็ดได้ตลอดปี ศัตรูเห็ด และคุณภาพเชื้อเห็ด ข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการเพาะเห็ดฟาง เกษตรกรส่วนใหญ่ มีข้อเสนอแนะให้มีการรวมกลุ่มผู้เพาะเห็ด ควรมีกฎหมายควบคุมการผลิตเชื้อเห็ดให้ได้มาตรฐาน และการคัดเลือกพื้นที่เพาะเห็ดฟางควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้เพาะเห็ดฟางทุกหมู่บ้าน และสร้างกลุ่มเครือข่ายในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด แนะนำให้เกษตรกรวางแผนการผลิตและการตลาด มีการหมุนเวียนพื้นที่ในการเพาะเห็ด และแนะนำส่งเสริมให้ใช้วัสดุที่มีในพื้นที่ร่วมกับเปลือกมันสำปะหลังในการเพาะเห็ดเพื่อลดต้นทุนการผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการเพาะเห็ดฟางจากเปลือกมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546
กรมส่งเสริมการเกษตร
2546
อาหารจากมันสำปะหลัง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดบดเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ปี 2546/2547 ตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2546 สภาพการผลิตเห็ดฟางของเกษตรกรในเขตตำบลหมูหม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 สภาพการผลิตมะขามหวานของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปี 2546 ตำบลสงเปือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก