สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก
อภิชาติ ผลเกิด - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อภิชาติ ผลเกิด
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่องการใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก 2) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก และ 3) ศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคในการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออกในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 115 คน ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple regestion) ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรผู้ผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก ร้อยละ 60.0 เป็นเพศชาย ร้อยละ 31.3 มีอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 84.3 แต่งงานแล้ว ร้อยละ 50.4 จบการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 67.8 เป็นหัวหน้าครอบครัว ร้อยละ 48.7 มีสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน ร้อยละ 73.9 มีสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตร 1-2 คน ร้อยละ 66.1 มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 1-10 ไร่ โดยร้อยละ 53.9 มีอาชีพหลักในการปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ และร้อยละ 74.8 มีอาชีพรอง ในจำนวนนี้ร้อยละ 62.8 มีการปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เป็นอาชีพรอง มีรายได้ทั้งหมดในปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 149,574.81 บาท เกษตรกรร้อยละ 60.9 เคยปลูกหน่อไม้ฝรั่งมาก่อน ร้อยละ 74.8 มีพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ 1-2 ไร่ โดยร้อยละ 83.5 มีพื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 1-2 ไร่ เช่นกัน เกษตรกรร้อยละ 66.9 มีรายได้จากการขายหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ 50,000 - 99,999 บาท โดยร้อยละ 52.2 ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,000 - 1,999 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 84.3 มีการกู้ยืมเงิน โดยร้อยละ 52.6 กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรร้อยละ 54.8 ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ร้อยละ 38.0 มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 1-3 ครั้ง ร้อยละ 80.0 ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่บริษัทสวิฟท์ เกษตรกรร้อยละ 97.4 เคยเข้ารับการอบรมการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง โดย ร้อยละ 92.0 เคยเข้ารับการอบรม 1-3 ครั้ง นอกจากนี้แล้วเกษตกรร้อยละ 90.4 มีเหตุผลในการตัดสินใจปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออกคือมีตลาดรองรับที่แน่นอน ร้อยละ 65.2 ปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ในดินร่วน เกษตกรทั้งหมดมีการนำตัวอย่างดินไปตรวจหาสารพิษปนเปื้อนก่อนปลูก โดยผลการตรวจไม่พบสารพิษ และเกษตรกรร้อยละ 98.3 ได้นำตัวอย่างน้ำไปตรวจหาสารพิษปนเปื้อนก่อนปลูก โดยผลการตรวจไม่พบสารพิษ ร้อยละ 87.0 ใช้พันธุ์บล็อกอิมปรู๊ฟ ร้อยละ 86.1 ขยายพันธุ์โดยการเพาะกล้า ร้อยละ 80.9 ใช้อัตราปลูก 100 กรัมต่อไร่ ร้อยละ 98.3 ใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทสวิฟท์ ร้อยละ 74.8 ไถดินลึก 30-40 เซนติเมตร ร้อยละ 95.7 มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนปลูก ร้อยละ 99.1 มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หลังปลูก และร้อยละ 98.3 มีการใช้น้ำหมักชีวภาพ ร้อยละ 54.8 ย้ายกล้าหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เมื่ออายุ 3 เดือน ร้อยละ 92.2 ใช้ระยะปลูก 150 x 40 เซนติเมตร ร้อยละ 95.6 ใช้แรงงานคนในการกำจัดวัชพืช ร้อยละ 97.4 ให้น้ำโดยใช้สปริงเกอร์ ร้อยละ 61.7 ให้น้ำในช่วงบ่าย และร้อยละ 93.0 ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ร้อยละ 99.1 ป้องกันการล้มโดยการทำราวเชือก ร้อยละ 88.7 มีการป้องกันกำจัดโรคโคนเน่า โดยร้อยละ 93.1 ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัด ร้อยละ 87.0 มีการป้องกันกำจัดแมลง โดยร้อยละ 88.0 ใช้สมุนไพรในการป้องกันกำจัด ร้อยละ 45.2 เริ่มเก็บหน่อเมื่อหน่อไม้ฝรั่งมีอายุ 5 เดือน ร้อยละ 51.3 ไว้ต้นต่อกอ 4-5 ต้น ร้อยละ 75.7 มีการพักต้นหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์โดยการเก็บ 2 เดือน พัก 1 เดือน ร้อยละ 97.4 เก็บผลผลิตในเวลาเช้า เกษตรกรร้อยละ 75.7 เป็นผู้ขนส่งผลผลิตจากแปลงไปยังจุดคัดเกรดเอง ร้อยละ 75.7 บรรจุหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ในถังพลาสติกจากบริษัทรับซื้อ และเกษตรกรทั้งหมดมีสัญญาซื้อขายกับบริษัทสวิฟท์ และจำหน่ายผลผลิตที่จุดรับซื้อของบริษัท และพบว่า อายุ รายได้ การศึกษา พื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งและการได้รับการอบรมที่แตกต่างกัน การใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออกของเกษตรกรไม่แตกต่างกัน แต่การเคยและไม่เคยหรือการมีประสบการณ์ในการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง มีผลต่อการใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออกของเกษตรกร สำหรับปัญหาอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก พบว่าเกษตรกรมีปัญหาเฉพาะเรื่องของการให้น้ำ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ระบบธุรกิจหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งและกระเจี๊ยบเขียว ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก การผลิตหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออกตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2547 การศึกษาวิเคราะห์แนวทางพัฒนาหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออก เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก