สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตามในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร
ศุภวรรณ เคี่ยนเมธี - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตามในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the Adoption of Farmers on Sericulture Technology and the Practices in order to Increase Production Efficiency at Farmer Level
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศุภวรรณ เคี่ยนเมธี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: เกษตรดีที่เหมาะสม
คำสำคัญ (EN): Good Agricultural practice : GAP
บทคัดย่อ: การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตามในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีด้านการผลิตหม่อนไหม และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยดำเนินการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ขอนแก่น และสุรินทร์ และสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่เข้าร่วมโครงการของกรมหม่อนไหมปี 2554 และปี 2555 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการผลิตหม่อนไหม และ 2) โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตเครือข่ายวิสาหกิจไหม โดยวิธีสุ่มแบบ Purposive sampling ผลการศึกษา พบว่า 1) โครงการส่งเสริมการผลิตหม่อนไหม เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบเน้นหนัก ปี 2554 และปี 2555 บางส่วนยังไม่ยอมรับประเด็นการปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน การให้น้ำ การเตรียมแปลงหม่อนเพื่อการเลี้ยงไหมวัยแก่ และการเตรียมแปลงหม่อนเพื่อการเลี้ยงไหมวัยอ่อน และยังไม่ได้นำความรู้ไปปฏิบัติ เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรระบบการผลิตเส้นไหมสาวมือตามมาตรฐาน มกษ. 8000-2548 ปี 2554 ยอมรับเทคโนโลยีประเด็นเทคนิคการคัดเลือกรังไหม การต้มรังไหมอย่างถูกวิธี เทคนิคการสาวเส้นไหมเพื่อให้ได้คุณภาพเส้นไหมตามมาตรฐาน มกษ. 8000-2548 การควบคุมคุณภาพเส้นไหมให้ได้มาตรฐาน และการตกแต่งเส้นไหมและการทำไจไหมให้ได้มาตรฐาน และเกษตรกรสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ทุกประเด็น สำหรับปี 2555 เกษตรกรบางส่วน ไม่ยอมรับในประเด็นการตกแต่งเส้นไหมและการทำไจไหมให้ได้มาตรฐาน เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการฟอกย้อมสีเส้นไหมแบบปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ปี 2554 ยอมรับเทคโนโลยีและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ในทุกประเด็น สำหรับปี 2555 เกษตรกรบางส่วน ไม่ยอมรับประเด็นการตรวจสอบความคงทนของสีต่อการซักล้าง และไม่ได้นำความรู้ไปปฏิบัติ และเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรการออกแบบลายผ้าไหมและการทอผ้าไหมประยุกต์ ปี 2554 และ ปี 2555 ยอมรับเทคโนโลยีและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ในทุกประเด็น 2) โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตเครือข่ายวิสาหกิจไหม เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรส่งเสริมการผลิตหม่อนไหม (เฉพาะกิจ) ปี 2554 ยอมรับเทคโนโลยี และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ในทุกประเด็น สำหรับปี 2555 เกษตรกรบางส่วนไม่ยอมรับในประเด็นการทำบัญชีฟาร์มเบื้องต้น เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรส่งเสริมระบบน้ำในแปลงหม่อนปี 2554 และปี 2555 ยอมรับเทคโนโลยี และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ในทุกประเด็น เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ปี 2554 ยอมรับเทคโนโลยี และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ในทุกประเด็น สำหรับปี 2555 เกษตรกรบางส่วน ไม่ยอมรับในประเด็นการตัดเย็บชิ้นงาน และการตกแต่งชิ้นงาน จากผลการศึกษาในครั้งนี้ จะเห็นว่าในปี 2554 และปี 2555 เกษตรกรส่วนใหญ่ยอมรับเทคโนโลยีด้านการผลิตหม่อนไหม และนำความรู้ไปปฏิบัติได้ ทั้งโครงการส่งเสริมการผลิตหม่อนไหม และโครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตเครือข่ายวิสาหกิจไหม ยกเว้นบางประเด็นที่เกษตรกรยังไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งกรมหม่อนไหมจะต้องให้คำแนะนำหรือจัดให้มีการอบรมเพิ่มเติมแก่เกษตรกรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตามในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร
กรมหม่อนไหม
30 กันยายน 2556
กรมหม่อนไหม
การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกล้วยไม้แบบเกษตรดีที่เหมาะสมกับแบบทั่วไป การระบุเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับกลไกการตอบสนองต่อความเค็มของหม่อน การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตาม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตกาแฟของเกษตรกรในอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ การยอมรับการผลิตข้าวโพดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก