สืบค้นงานวิจัย
ระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีนไวเทลโลจีนินและดัชนีความสมบูรณ์เพศของปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีนไวเทลโลจีนินและดัชนีความสมบูรณ์เพศของปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Seasonal Expression Lavels of Vitellogenin Gene and Gonadosomatic Index in Pristolepis fasciata in Kwan Phayao, Phayao Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Dutrudi Panprommin
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณยีนไวเทลโลจีนิน (vitellogenin; VTG) บางส่วน สำหรับการศึกษาระดับการแสดงออกของยีนตามฤดูกาล และดัชนีความสมบูรณ์เพศ (gonadosomatic index; GSI) ของปลาหมอช้างเหยียบเพศเมียที่รวบรวมได้จากกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 โดยนำเนื้อเยื่อตับของปลาเพศเมียมาเพิ่มปริมาณยีน VTG ด้วยเทคนิค Reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) พบว่า สามารถเพิ่มปริมาณยีน VTG ชนิด Ab ได้ โดยมีความยาว 320 คู่เบส ด้วยไพรเมอร์ VF1 และ VR1 และจากการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของยีน VTG ทั้งสามชนิด ได้แก่ Aa, Ab และ C ของปลากระดูกแข็งชนิดต่าง ๆ ด้วยการสร้างแผนภูมิต้นไม้ พบว่า สามารถแบ่งปลาออกเป็น 3 กลุ่มตามชนิดของยีน VTG และยีน VTG ที่เพิ่มปริมาณได้ของปลาหมอช้างเหยียบถูกจัดอยู่ในกลุ่มของยีน VTG ชนิด Ab เมื่อศึกษาระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีน VTG และ GSI ของปลาหมอช้างเหยียบ พบว่า ค่าทั้งสองนี้มีระดับสูงสุดใน 2 ช่วงเวลา คือ ในเดือนกรกฎาคมและมกราคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แสดงให้เห็นว่า ปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยาสามารถวางไข่ได้มากกว่า 1 ครั้งในรอบปี นอกจากนี้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีน VTG และ GSI ด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า ระดับการแสดงออกของยีน VTG มีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่า GSI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.58; P<0.01) จากผลการศึกษาครั้งนี้จะเห็นได้ว่า นอกจากการใช้ค่า GSI แล้ว ยังสามารถใช้ระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีน VTG ในการบ่งบอกถึงฤดูกาลวางไข่ของปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยาได้อีกด้วย
บทคัดย่อ (EN): The aims of this study were to amplify the partial cDNA sequence of vitellogenin gene (VTG) for determination the VTG seasonal expression and gonadosomatic index (GSI) of female Pristolepis fasciata. The sample fishes were collected from Kwan Phayao for 1 year period between June 2012 and May 2013. The 320-bp fragment of P. fasciata VTG (called PfVTG) type Ab was amplified from the liver tissue of female fish using RT-PCR technique and VF1 and VR1 primers. A phylogenetic tree based on three types of VTG, including Aa, Ab and C from other teleost fishes was constructed for relationship analysis. The nodes were separated into 3 major branches following the type of VTG. The PfVTG was grouped into the VTG type Ab. The seasonal expression levels of VTG were determined using real-time PCR. The VTG expression levels and GSI were significantly (P<0.05) peaked in 2 periods, July and January. This result showed that the P. fasciata in Kwan Phayao could spawn one more time per year. The correlation analysis showed the VTG expression levels have a significant (rs = 0.58; P<0.01) direct relation with the GSI. From these results indicated that apart from the GSI, the seasonal expression of VTG could also reflect the spawning season of P. fasciata in Kwan Phayao.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246066/168215
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีนไวเทลโลจีนินและดัชนีความสมบูรณ์เพศของปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาความสมบูรณ์เพศของปลาน้ำจืดเศรษฐกิจในหนองเบน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ระดับยูเรียในเลือดช้างไทย (Elephas maximus indicus) การศึกษาความสมบูรณ์เพศของปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่เป็นชนิดเด่นในบึงแก่งน้ำต้อน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระดับของแมกนีเซียมในซีรั่มช้างไทย (Elephas maximus indicus) การกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา (ชื่อเดิม ชีววิทยาการกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา) ระดับของซีรั่มเอนไซม์ในช้างไทย (Elephas maximus indicus) 1.Creatine Kinase ระดับของโปแตสเซียมในซีรั่มช้างไทย (Elephas maximus indicus) ระดับของซีรั่มเอนไซม์ในช้างไทย (Elephas maximus indicus) 2.Clutamic Oxaloacetic Transminase

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก