สืบค้นงานวิจัย
คุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก
พินิจ เกตุสถิตย์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: คุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พินิจ เกตุสถิตย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องคุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ คือ (1)สถานภาพส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดภาคตะวันตก (2)คุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารที่มีอยู่ของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก และ (3)ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับคุณลักษณะ และความสามารถทางการบริหารงานของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก ทั้งนี้โดยใช้แบบสอบถามที่ทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น แล้วสุ่มเก็บข้อมูลจากตัวแทนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดภาคตะวันตก จำนวน 108 คน และวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมด้วยค่าเฉลี่ยและร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) ผลการวิจัยพอสรุปได้ดังนี้ 1.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดภาคตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 89.8) มีอายุระหว่าง 30-34 ปี (ร้อยละ 40.7) ทั้งนี้โดยสมรสแล้ว อยู่ร่วมกัน (ร้อยละ 69.4) มีอายุราชการอยู่ระหว่าง 6-10 ปี (ร้อยละ 51.8) มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 50.9) และมีรายได้ระหว่าง 4,000-5,000 บาทต่อเดือน 2.ค่าเฉลี่ยคุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก 2.1ผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอทั้งหมด ได้แสดงออกคุณลักษณะของผู้บริหารอย่างดี(ค่าเฉลี่ย 4.01) และที่มีลักษณะเด่นเห็นชัด คือแสดงความเป็นกันเองไม่ถือตัวสูงสุด (4.14) เป็นผู้ที่รับผิดชอบในหน้าที่การงานดี (4.10) มีความเฉลียวฉลาดไหวพริบดี (4.08)ตามลำดับ 2.2ผู้บริหารมีความสามารถในด้านการวางแผนดี(ค่าเฉลี่ย 3.70) จากแบบสอบถามทั้งหมด 15 รายการพบว่า ผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรได้ปฏิบัติบ่อยครั้ง 14 รายการ ที่สำคัญคือทำแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยเหนือและประเทศ (3.89) เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมวางแผนและกำหนดนโยบายของสำนักงาน (3.86) เป็นต้น และได้ปฏิบัติปานกลาง(ค่าเฉลี่ย 3.15) ในการเปิดโอกาสให้เกษตรกรในท้องที่ร่วมกำหนดนโยบายแผนงานและโครงการต่าง ๆ 2.3ผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรแสดงความสามารถในด้านการจัดรูปงานในระดับดีทุกรายการ (8 รายการ) และที่เด่นชัดคือเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ร่วมงาน(4.01) และพยายามทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานเป็นหมู่คณะหรือเป็นทีม (4.00) 2.4ผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรแสดงความสามารถในด้านการดำเนินงานดี(ค่าเฉลี่ย 3.76) ทุกรายการ จากแบบสอบถาม 10 รายการ ที่เด่นชัด 3 รายการ ได้แก่ จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานและจัดทำโครงการต่าง ๆ (4.07) ตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการต่าง ๆ อย่างรอบคอบ (3.81) และให้คำปรึกษาในปัญหาหรือข้อยุ่งยากเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง (3.78) 2.5ผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรแสดงความสามารถด้านการประเมินผลดี(ค่าเฉลี่ย 3.58) โดยได้ปฏิบัติบ่อยครั้ง 7 รายการ จาก 11 รายการ ที่แสดงออกหรือปฏิบัติมากที่สุดคือ รับฟังความคิดเห็นข้อติชมจากบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปปรับปรุงการบริหาร (3.65) ให้ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานความก้าวหน้าในการทำงานอย่างต่อเนื่อง (3.63) เป็นต้น และผู้บริหารได้ปฏิบัติปานกลาง 4 รายการ ที่สำคัญคือ เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามโครงการต่าง ๆ มีส่วนร่วามในการประเมินผล (3.25) รองลงมาได้แก่การจัดประเมินผลอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการปฏิบัติงานตามโครงการต่าง ๆ(3.38) 3.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่(ร้อยละ 54.6) ไม่แสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเกี่ยวกับคุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารงานของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก ส่วนที่เหลือใช้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหาร ร้อยละ 26.9 ความสามารถในด้านการวางแผน ร้อยละ 8.3 การประเมินผล ร้อยละ 7.4 การจัดรูปงาน ร้อยละ 6.5 การดำเนินงาน ร้อยละ 4.6 และข้อเสนอแนะอื่น ๆ อีก ร้อยละ 11.1
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ความต้องการความรู้ทางการวิจัยของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันตก บทบาทของวิทยาลัยเกษตรกรรมในการสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดตามทรรศนะของผู้บริหารสำนักงานเกษตรจังหวัด การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอจังหวัดมหาสารคาม สภาพการใช้สื่อในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการ เกษตรในระดับอำเภอ จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดในเขตที่ 1 ความต้องการเอกสารเผยแพร่เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันออก การศึกษาการใช้เอกสารเผยแพร่การเกษตรระบบ AGDEX ของเกษตรตำบลในภาคตะวันตก ความต้องการฝึกอบรมของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก