สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษา และพัฒนากระบวนการคุ้มครอง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชอย่างยั่งยืน
เบญจวรรณ จำรูญพงษ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษา และพัฒนากระบวนการคุ้มครอง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development the Program to Protect,Conserve and Sustainable Use of Plant Biodiversity
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เบญจวรรณ จำรูญพงษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เบญจวรรณ จำรูญพงษ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ อนุกรมวิธาน ลักษณะประจำพันธุ์ ความหลากหลาย การใช้ประโยชน์และการกระจายพันธุ์ของพืช เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการคุ้มครอง อนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 2) ศึกษา สำรวจ รวบรวมและตรวจสอบลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืช เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองพันธุ์พืช งานปรับปรุงพันธุ์พืช และงานอนุกรมวิธานพืชในพิพิธภัณฑ์พืช และในแปลงรวบรวมพันธุ์ ผลจากการวิจัย 1)ได้ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์และตัวอย่างพรรณไม้แห้งในพิพิธภัณฑ์แยกตามชนิดพืช ดังนี้ กล้วย 140 ตัวอย่าง สับปะรด 56ตัวอย่าง ฝ้าย 45 ตัวอย่าง และผักพื้นเมือง 150 ตัวอย่าง 2) ได้แปลงรวบรวมอนุรักษ์พันธุ์แยกตามชนิดพืช ดังนี้ กล้วยบริโภคและกล้วยประดับ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 สับปะรด ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 ผักพื้นเมือง ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 และฝ้าย ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่ 3) ได้ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืชประเภทต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ที่สามารถสืบค้นและอ้างอิงได้อย่างเป็นระบบแยกตามชนิดพันธุ์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองพันธุ์พืช (การคัดเลือก /เปรียบเทียบพันธุ์) อนุกรมวิธานพืชในพิพิธภัณฑ์ (เพื่อการสืบค้น / อ้างอิง)และงานปรับปรุงพันธุ์พืชจากแปลงรวบรวมพันธุ์ 4) ได้ข้อมูลชนิดพันธุ์พืชที่มีศักยภาพในการเสนอให้ได้รับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่( กล้วย สับปะรด และฝ้าย) ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ รวมถึงได้ (ร่าง) หลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์พืชใหม่และ (ร่าง) คู่มือการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ภาคสนามสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเตรียมความพร้อมของข้อมูลที่จะเสนอให้คณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชพิจารณาเห็นชอบ ก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกำหนดให้เป็นชนิดพืชที่จะได้รับการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งจะได้เตรียมการออกระเบียบ/ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการจำแนกลักษณะประจำพันธุ์พืช แยกตามชนิดพืช เพื่อใช้ในการตรวจสอบและคุ้มครองพันธุ์พืชที่ยื่นขอรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ตามกฎหมายต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This project aims to 1) study the botanical characteristics of species taxonomy, plant morphology, diversity, use and distribution of plant species in order to support and ensure the information of the protection, conservation and sustainable use of plant biodiversity with fair and equitable benefit sharing under Plant Varieties Protection Act B.E. 2542. 2) study, survey, collection and identification of botanical plant morphology to conduct the test guideline of the new plant varieties for protection, plant breeding program, the plant taxonomy in the Bangkok Herbarium and specimen collected in the field. Results from the research and development program; 1) obtain the herbarium specimen and liquid collections of the plant botanical and morphological characteristics as follow: banana 140 samples, pineapple 56 samples, cotton 45 samples and local vegetables 150 samples. 2) collect the plant varieties conservation in the field such as bananas and ornamental bananas at Phichit Agricultural Research and Development Center, Office of Agricultural and Development Region 2 and Phare Agricultural Research and Development Center, Office of Agricultural and Development Region 1 ; pineapple at Petchaburi Agricultural Research and Development Center, Office of Agricultural and Development Region 5 ; local vegetables at Phare Agricultural Research and Development Center, Office of Agricultural and Development Region 1 and cotton at Nakhon Sawan Research Center, Field Crops Research Institute. 3) gather the above mentions plant biodiversity data that can be searched and referenced in a systematic way by varieties / species to support the procedures of new plant variety protection ( selection and comparison varieties), plant taxonomy in Bangkok Herbarium (for identification and reference) and plant breeding program. 4) the information of plant morphology to conduct the test guideline of the possible potential species of the new plant varieties for protection by law (banana, pineapple and cotton), to obtain the draft procedures and test guidelines of the new plant varieties for protection each species and the draft field test guidelines for officials. Those mentioned and advanced information are prepared for The Plant Variety Protection Commission to consider and decide before submit recommendations to the Minister on the issuance of Ministerial Notification to declare as a new plant species to be protected under section 14 of the Plant Varieties Protection Act B.E. 2542. Later, the Department of Agriculture will be announced the rules, procedures on the classification of the test guideline of each new plant species protection under the law.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษา และพัฒนากระบวนการคุ้มครอง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชอย่างยั่งยืน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน การศึกษาความหลากหลายและโครงสร้างของสังคมพืชบริเวณพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ความหลากหลายทางชีวภาพของนกบริเวณเขาซับแกงไก่ จังหวัดลพบุรี การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน บริเวณพื้นที่วนเกษตร ต. แม่พูล อ. ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ความหลากหลายของเชื้อราจากดิน ซากพืชและการนำไปใช้ประโยชน์ บทบาทของวัดป่าในจังหวัดมหาสารคามต่อการเป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชพรรณ และการใช้ประโยชน์ด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชุมชน การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารตามเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพญาพ่อ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตบางชนิด ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก