สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาวัคซีนแบบกินเพื่อป้องกันโรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสและโรคพีอีดีในสุกร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชฤทธิ์ นิลอุบล - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวัคซีนแบบกินเพื่อป้องกันโรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสและโรคพีอีดีในสุกร
ชื่อเรื่อง (EN): Development of oral vaccines against porcine deltacoronavirus and porcine epidemic diarrhea in pigs
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชฤทธิ์ นิลอุบล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาวัคซีนแบบกินเพื่อป้องกันโรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสและโรคพีอีดีในสุกร” แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ นิลอุบล เป็นหัวหน้าโครงการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อได้ลำดับเบสทั้งจีโนม (full length genome) ของเชื้อไวรัสเดลต้าโคโรน่าไวรัสที่แยกได้ในประเทศไทย ลาวและเวียดนาม พัฒนาต้นแบบดีเอ็นเอวัคซีนแบบกินสำหรับป้องกันเชื้อไวรัสเดลต้าโคโรน่า ได้ข้อมูลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของดีเอ็นเอวัคซีนชนิดกินที่เตรียมโดยใช้ระบบอนุภาคต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสและพีอีดีในสุกร และได้ข้อมูลการทดสอบภูมิคุ้มกันในน้ำนมที่ลูกสุกรที่ได้รับนมต่อการป้อนเชื้อไวรัสพีอีดีและไวรัสพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัส จากการศึกษาวิจัยพบว่า โรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัส (Porcine deltacoronavirus, PDCo) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัส (PDCoV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในตระกูล Coronaviridae สกุล Deltacoronavirus เชื้อไวรัสพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัส เป็นเชื้อที่อยู่ในตระกูล Coronaviridae ตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัส Porcine epidemic diarrhea virus (PEDV) ซึ่งก่อให้เกิดโรค Porcine epidemic diarrhea (PED) ด้วยปัญหาที่เกิดจากการที่สุกรที่มีการติดเชื้อไวรัสพีอีดี และพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัส มีอาการผิดปกติที่มีความคล้ายกันเป็นอย่างมาก และก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักแก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในประเทศไทย แต่ยังไม่มีการพัฒนาวัคซีน เพื่อใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัส ดังนั้น งานวิจัยในครั้งนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาลำดับพันธุกรรมทั้งสายของเชื้อไวรัสพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัส และพัฒนาดีเอ็นเอวัคซีนแบบกิน เพื่อใช้ในการป้องกันโรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสและโรคพีอีดี โดยผลปรากฏว่า เชื้อไวรัสพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสที่ถูกพบทั้งในประเทศไทย ลาว และเวียดนาม ถูกจัดอยู่ในกลุ่มใหม่ ซึ่งแยกออกมาจากเชื้อไวรัสพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสที่แยกได้จากประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา และหลังจากเอ็นเอวัคซีนแบบกินที่ถูกพัฒนาขึ้นในงานวิจัยครั้งนี้ได้ถูกนำไปทดสอบประสิทธิภาพในสุกรอนุบาล และสุกรแม่พันธุ์ ผลปรากฏว่า สุกรที่ได้รับวัคซีนมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับสุกรกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน ทั้งยังสามารถลดอัตราการเกิดโรค และอัตราการตายได้ในลูกสุกรก่อนหย่านมได้อีกด้วย ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้ คือ นักวิจัย นักวิชาการ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาและคิดค้นวัคซีนต้นแบบ สำหรับใช้ในการป้องกันโรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัส ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไปได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-07-25
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-07-24
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาวัคซีนแบบกินเพื่อป้องกันโรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสและโรคพีอีดีในสุกร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
24 กรกฎาคม 2561
การพัฒนาวัคซีนแบบกินเพื่อป้องกันโรคพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่าไวรัสและโรคพีอีดีในสุกร โครงการนำร่องการจัดทำระบบคอมพาร์ทเมนต์สุกร เพื่อรับรองสถานภาพปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคอหิวาต์สุกรเพื่อการส่งออก แนวทางสำหรับการป้องกันการระบาดซ้ำของโรคพีอีดีในฟาร์มสุกรของประเทศไทย การพัฒนา recombinant 3ABC-based ELISA เพื่อวินิจฉัยสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยออกจากสัตว์ที่ได้รับวัคซีน การพัฒนา recombinant 3ABC-based ELISA เพื่อวินิจฉัยสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยออกจากสัตว์ที่ได้รับวัคซีน แนวทางสำหรับการป้องกันการระบาดซ้ำของโรคพีอีดีในฟาร์มสุกรของประเทศไทย สูตรอาหารสุกร โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคใบขาวของอ้อย วัคซีน CHULACOV19 การตรวจหา Suilysin และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของ เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่แยกได้จากสุกรป่วย สุกรปกติที่เป็นพาหะของโรคและคนที่เกี่ยวข้องโดยใช้เทคนิค PCR

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก