สืบค้นงานวิจัย
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปลูกจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยวิธีการ หมักแบบไม่พลิกกลับกอง
แสนวสันต์ ยอดคำ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปลูกจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยวิธีการ หมักแบบไม่พลิกกลับกอง
ชื่อเรื่อง (EN): Biomass Fuel and Biochar Production from Agricultural Residues
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แสนวสันต์ ยอดคำ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พัชรี อินธนู
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน คือ การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล และการผลิตไบโอชาร์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อนภายใต้สภาวะจำกัดอากาศ (เรียกว่า กระบวนการคาร์บอไนซ์) มากไปกว่านั้นยังศึกษาผลของการเติมตัวเชื่อมประสาน คือ กลีเซอรีน ต่อประสิทธิภาพการให้ความร้อนและคุณสมบัติทางกายภาพของเชื้อเพลิงชีวมวล จากการศึกษาในส่วนที่หนึ่งพบว่าเมื่ออุณหภูมิในการสลายตัวเพิ่มสูงขึ้นจาก 300 ?C เป็น 500 ?C เชื้อเพลิงชีวมวลมีคุณสมบัติทางกายภาพดีขึ้นซึ่งแสดงในรูปของค่าดัชนีการแตกร่วนและค่าความทนทานที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับค่าความแน่นที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนผลการเติมกลีเซอรีนต่อคุณสมบัติทางกายภาพนั้นมีแนวโน้มเหมือนกับผลของการเพิ่มอุณหภูมิการสลายตัว สำหรับการศึกษาในส่วนที่สองพบว่าไบโอชาร์ที่ผลิตได้มีค่าความเป็นกรดด่างและความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกสูงกว่าดิน อีกทั้งบนพื้นผิวไบโอชาร์ยังพบหมู่ฟังก์ชันที่มีธาตุออกซิเจนปรากฏอยู่ ได้แก่ หมู่ไฮดรอกซิล (O-H stretching) หมู่คาร์บอกซิลิก (C=O stretching ) กลุ่มฟี นอลิก (O-H bending) และหมู่อีเทอร์ กับโครงสร้างอะโรมาติก แสดงให้เห็นว่าไบโอชาร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านการปรับปรุงดินและการตรึงธาตุอาหารที่พืชต้องการได้
บทคัดย่อ (EN): This study was classified into 2 part: the production of biomass fuel and the production of biochar from agricultural residue by using thermal decomposition process under anaerobic condition (known as carbonization). In addition, the effect of added glycerine on thermal and physical properties was also investigated. For biomass fuel production section, it was found that when the decomposed temperature increased the biomass fuel gave a better physical property in term of a higher shatter index and durability corresponding to the increase in densification. The effect of added glycerine, it was also shown a similar trend to decomposed temperature effect. For the biochar production section, it demonstrated that the produced biochar had a higher pH value and a higher cationic exchange capacity (CEC) than soil indicating that biochar can apply for soil amendment and essential nutrient retention.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-62-01-029.1
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปลูกจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยวิธีการ หมักแบบไม่พลิกกลับกอง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลและไบโอชาร์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่มจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสู่วิสาหกิจชุมชน การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การสร้างและพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ผลของการใช้สารไคโตซานร่วมกับวัสดุปลูกต่อการอนุบาลกล้วยไม้เพชรหึง การผลิตเอนไซม์ย่อยสลายลิกโนเซลลูโลสโดยแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเพื่อย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การพัฒนากระบวนการผลิตไบโอเอทานอลจากวัสดุเหลือทิ้งไร่ข้าวโพด โดยการหมักแบบแยกกระบวนการผลิต การใช้วัสดุเหลือทิ้งเพื่อการบำบัดน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พลังงานทดแทนในการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือทางการเกษตร การวิจัยและพัฒนาการหมักปุ๋ยจากวัสดุเหลือทิ้งในสวนปาล์มน้ำมัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก