สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
นที มุสิกทัศน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นที มุสิกทัศน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องเทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกร อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการ เทคโนโลยีการผลิตลำไย และ ปัญหาอุปสรรคในการผลิตลำไยของเกษตรกร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากประชากรที่ปลูกลำไยในเขตอำเภอนาด้วง จำนวน 88 ราย โดยวิธีสำมะโนประชากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลในการลำไยครั้งนี้ส่วนใหญ่ เป็นเพศ มีอายุเฉลี่ย 49.57 ปี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.9 คน เกษตรกรส่วนมาก จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตร เฉลี่ย 27.05 ไร่ มีพื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 5.98 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 62.5 เป็นสมาชิกลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรน้อยมาก และยังไม่เคยเข้ารับการอบรมเรื่องเทคโนโลยีการผลิตลำไย ใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตลำไย มีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 47,500.36 บาท/ครัวเรือน/ปี มีรายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 7,936.36 บาท/ครัวเรือน/ปี เกษตรกรส่วนมาก ปลูกลำไยบนพื้นที่ราบลุ่ม โดยปลูกลำไยพันธุ์ อีดอ มีการไถพรวน 1 ครั้ง ในการปลูกลำไย ใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร วางแนวปลูกตามสภาพพื้นที่ ใช้หลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. และมีการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก มีการใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้งใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในช่วงลำไยยังไม่ให้ผลผลิต ช่วงลำไยให้ผลผลิตแล้ว ช่วงเตรียมการออกดอก และช่วงลำไยติดผล เกษตรกรมีวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีโดยใส่ปุ๋ยรอบรัศมีทรงพุ่มโดยขุดร่องฝังกลบแล้วรดน้ำ ให้น้ำโดยใช้สายยางรด เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการเสริมรากให้แก่ต้นลำไย มีการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง โดยใช้จอบดายหญ้ารอบโคนต้นแล้วใช้รถตัดหญ้าตัดระหว่างต้นและระหว่างแถว โรคระบาดลำไย ที่พบได้แก่โรคจุดสาหร่ายสนิม โรคราสีชมพู และโรคพุ่มไม้กวาด แมลงทำลาย ได้แก่ มวนลำไย หนอนเจาะกิ่งลำไย หนอนคืบกินใบ และแมลงค่อมทอง เกษตรกรส่วนใหญ่แต่งตัวรัดกุมและสวมหน้ากากป้องกันอันตรายจากสารเคมี เกษตรกรร้อยละ 58.8 มีการใช้สารชีวภาพเพียงอย่างเดียวในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรส่วนใหญ่มีสวนลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว การสังเกตก่อนการเก็บเกี่ยว เกษตรกรใช้การดูขนาด สีของผลและการชิม และ ใช้วิธีการนับอายุ 5 - 6 เดือน หลังออกดอก เกษตรกรส่วนใหญ่ขายผลผลิตโดยวิธีต่างคนต่างขาย เกษตรกรเกือบทุกราย มีการตัดแต่งลำไยทุกปี หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยใช้กรรไกร และเลื่อยตัดแต่ง มีการทาปูนขาวหรือปูนแดงเพื่อป้องกันโรค ปัญหาอุปสรรคในการผลิตลำไยของเกษตรกร พบว่าในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในระดับน้อย โดยมีปัญหาระดับมาก 1 ประเด็นคือ ขาดความรู้เรื่องการผลิตลำไยนอกฤดู ประเด็นที่เกษตรกรมีปัญหาระดับน้อย 10 ประเด็น ได้แก่ การจัดหาแหล่งน้ำ ดอกผลร่วงและต้นล้มจากแรงลม 3) การติดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเกษตรกร 4) ค้างคาวทำลายผลผลิต 5) ขาดความรู้เรื่องการเสริมราก 6) มวนลำไยทำลายผลผลิต 7) การเจริญเติบโตของต้นลำไย 8) ขาดความรู้เรื่องโรคแมลงและการป้องกันกำจัด 9) ขาดความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยลำไยและ 10) การตัดแต่งกิ่งลำไย ข้อเสนอแนะ . ควรมีการส่งเสริมการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองราคาผลผลิตและปัจจัยการผลิต ควรมีการให้ความรู้ในเรื่องการผลิตลำไยนอกฤดู ควรจัดตั้งกลุ่มเพื่อความสะดวกในการเยี่ยมเยียนเกษตรกร ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อลดความสูญเสีย และควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการเสริมราก เพื่อป้องกันการหักล้มของต้นลำไยจากกระแสลมและสร้างความแข็งแรงให้กับลำต้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเลย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี รายงานผลการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดตาก สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย การใช้เทคโนโลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่งโรงงานในจังหวัดเลย การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย การใช้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูถั่วลิสงของเกษตรกร อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก