สืบค้นงานวิจัย
สภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมสาหรับพืชตระกูลขิง ที่นามาใช้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยฯ
นินนาท อินทฤทธิ์ - กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชื่อเรื่อง: สภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมสาหรับพืชตระกูลขิง ที่นามาใช้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยฯ
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable drying conditions for ginger plants used in the science of Thai traditional medicine
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นินนาท อินทฤทธิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ผศ.ดร.ศิรินุช จินดารักษ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): medicine
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้งสมุนไพรในวงศ์ ZINGIBERACEAE จำนวน 5 ชนิด ที่นิยมนำมาใช้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ได้แก่ ขิง ข่า ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย และไพล โดทำการอบแห้งด้วย แหล่งความร้อน คือ ลมร้อนและรังสีอินฟราเรด ณ อุณหภูมิ 40 50 และ 60 องศาเซลเซียส ที่ความเร็วลมเท่ากับ 1.5 เมตร/วินาที ขนาดเครื่องอบแห้งขนาด 0.52 x 0.52 x 0.56 m3 โดยเปรียบเทียบกับรังสีแสงอาทิตย์(ตากแดด) ทุกวิธีจะอบแห้งสมุนไพรสด 2 กิโลกรัม ความหนาของชิ้นสมุนไพรสด ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ให้มีความชื้นน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ตามมาตรฐานสมุนไพร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ ทำให้ทราบวิธีการอบแห้งที่สามารถคงปริมาณสารสำคัญไว้ได้มากที่สุด รวมทั้งศึกษาลักษณะทางกายภาพ สี รูปร่างของสมุนไพรอบแห้ง ให้มีความใกล้เคียงสมุนไพรสด ทั้งยังศึกษาความชื้นที่เปลี่ยนแปลง และวิเคราะห์ดัชนีพลังงานที่ใช้ในกระบวนการอบแห้ง ณ สภาวะการอบแห้งที่แตกต่างกัน เพื่อหาสภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพืชตระกูลขิง ผลการควบคุมคุณภาพสมุนไพร พบว่า สมุนไพรทุกชนิดมีค่าโลหะหนักน้อยกว่ามาตรฐานกำหนดและมีปริมาณความชื้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแต่หากเก็บไว้ระยะหนึ่ง อาจจะมีปริมาณความชื้นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากส่วนประกอบที่เป็นน้ำมันหอมระเหยสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งขิง คือ การอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด ที่อุณหภูมิ 50 oC ใช้ระยะเวลาในการอบแห้ง 17 ชั่วโมง ใช้พลังงานจำเพาะในการอบแห้ง 28.84 MJ/kgH2oevap สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งข่า คือ วิธีการอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 40 oC ใช้ระยะเวลาในการอบแห้ง 28 ชั่วโมงใช้พลังงานจำเพาะในการอบแห้ง 40.33 MJ/kgH20evap สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งขมิ้นชัน คือ วิธีการอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 oC ใช้ระยะเวลาในการอบแห้ง 19 ชั่วโมง ใช้พลังงานจำเพาะในการอบแห้ง41.26 MJ/kgH20evap สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งขมิ้นอ้อย คือ วิธีการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด ที่อุณหภูมิ 60 oCใช้ระยะเวลาในการอบแห้ง 12 ชั่วโมง ใช้พลังงานจำเพาะในการอบแห้ง 33.27 MJ/kgH2oevapสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งไพล คือ วิธีการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด ที่อุณหภูมิ 50 oC ใช้ระยะเวลาในการอบแห้ง 16 ชั่วโมง ใช้พลังงานจำเพาะในการอบแห้ง 27.14 MJ/kgH2oevap สรุปได้ว่า แม้ว่าจะเป็นสมุนไพรในวงศ์เดียวกัน แต่ก็ใช้สภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมแตกต่างกัน ผลจากงานวิจัยนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการได้มาซึ่งวัตถุดิบสมุนไพร เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการ นำมาพัฒนาเป็นยาหรือเวชภัณฑ์โดยแพทย์แผนไทย นำมาซึ่งความมั่นใจในคุณภาพของวัตถุดิบสมุนไพร ทั้งยังเป็นการควบคุมคุณภาพและปริมาณผลผลิตของสมุนไพรอบแห้งได้อีกด้วยรวมถึงเป็นการสร้างวิธีมาตรฐานในการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรวงศ์ ZINGIBERACEAE ในรูปแบบแห้ง และต่อยอดให้เกษตรกรสามารถผลิตวัตถุดิบพืชสมุนไพรวงศ์ ZINGIBERACEAE ด้วยวิธีอบแห้งที่มีคุณภาพมากที่สุดได้ในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): This research examined the optimum conditions for drying herbs in the family. 5 types of ZINGIBERACEAE that are commonly used in Thai traditional medicine are ginger, galangal, turmeric, turmeric, and plai, which are also dried. The heat source is hot air and infrared radiation at temperatures of 40, 50 and 60 degrees Celsius at an air velocity of 1.5 m/s, a dryer size of 0.52 x 0.52 x 0.56 m3, compared to solar radiation (drying in the sun). Fresh herbs 2 kg. The thickness of fresh herbs is not more than 5 mm. moisture content is less than 10 percent according to the herbal standard. Its main objective is to study and compare important chemical constituents. This makes me know the drying method that can retain the most important substances. as well as to study the physical characteristics, color, shape of dried herbs to be close to fresh herbs and also study the change in humidity and analyze the energy index used in the drying process at different drying conditions. To determine the optimal drying conditions for ginger plants The results of herbal quality control revealed that all herbs had less heavy metal content than the specified standard and the moisture content was within the standard. There may be an increase in moisture content. Due to the essential oil components, the optimum conditions for drying ginger were infrared ray drying at 50 oC, drying time was 17 h, specific drying energy was 28.84 MJ/kgH2oevap. Drying of galangal was a hot air drying method at 40 oC, drying time was 28 h, specific energy was used for drying 40.33 MJ/kgH20evap. 50 oC, drying time 19 h, specific drying energy 41.26 MJ/kgH20evap The optimum condition for drying cane turmeric is infrared irradiation drying method, at 60 oC drying time 12. h Specific energy consumption for drying 33.27 MJ/kgH2oevap. The optimum condition for drying Plai was the infrared irradiation drying method at 50 oC, the drying time was 16 h, the specific energy drying was 27.14 MJ. /kgH2oevap concluded that although it is a herb in the same family However, different optimum drying conditions were used. The result of this research is an important step in the acquisition of herbal raw materials. to be suitable for to be developed into drugs or medical supplies by Thai traditional medicine bring confidence in the quality of herbal ingredients It can also control the quality and quantity of dried herbs as well as establish a standard method for processing medicinal raw materials of Wong. ZINGIBERACEAE in dry form and extend it to farmers to produce raw materials for medicinal plants. ZINGIBERACEAE with the highest quality drying method in the future
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
ชื่อแหล่งทุน: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: ผศ.ดร.ศิรินุช จินดารักษ์
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมสาหรับพืชตระกูลขิง ที่นามาใช้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยฯ
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช สมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน: ขิง การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งเห็ดโคน การศึกษาหาแนวทางการอบแห้งที่เหมาะสมสำหรับผลิตขิงผง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขิงกึ่งแห้งเสริมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยวิธีการออสโมซิสร่วมกับการทำแห้ง เทคนิคการอบแห้งที่เหมาะสมสำหรับการผลิตชากระเจี๊ยบเพื่อสุขภาพ การศึกษาสภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมในการผลิตแพะแผ่นปรุงรส สารสกัดจากหัวหอมใหญ่ ขิง และชาเขียว การศึกษาเบื้องต้นการอบแห้งเมล็ดข้าวโพดด้วยไมโครเวฟ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก