สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลางสาดอย่างมีคุณภาพ
ยุพา สุวิเชียร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลางสาดอย่างมีคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Langsat Production for Quality Product
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ยุพา สุวิเชียร
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ประกอบด้วยการทดลอง 1 การทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อได้ลางสาดพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดี และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ระยะเวลาในการทำการวิจัย ตั้งแต่ ตุลาคม 2555 – กันยายน 2557 รวม 3 ปี ทำการคัดเลือกสายต้นลางสาดพันธุ์ดี ระหว่างปี 2555-2557 เพื่อได้ลางสาดพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดี และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลจากสวนลางสาดของเกษตรกรในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ และ จ. สุโขทัย ทำการคัดเลือกสายต้นลางสาดในเบื้องต้น โดยเลือกต้นที่มีลักษณะทรงพุ่มกว้าง แข็งแรง และต้นที่ชนะเลิศการประกวด จากสวนเกษตรกรจำนวน 27 ราย ทั้งหมด 53 ต้น ติดตามการให้ผลผลิตและบันทึกข้อมูลผลผลิตและคุณภาพของลางสาดจากต้นที่ได้คัดเลือกไว้เบื้องต้น ผลการคัดเลือกข้อมูลผลผลิตและคุณภาพของลางสาดที่ดีเด่นที่สุดในปี 2555-2557 ได้แก่ต้นที่ 9 14 20 34 38 และ 53 พบว่า ลางสาดที่ให้น้ำหนักต่อช่อสูงที่สุดคือต้นที่ 9 เท่ากับ 454 กรัม จำนวนผล/ช่อมากที่สุดคือต้นที่ 9 เท่ากับ 26.4 ผล ความหวานสูงที่สุดคือต้นที่ 34 และ 38 มีความหวานเท่ากับ 19.7 ๐Brix ความกว้างเมล็ดน้อยที่สุดคือต้นที่ 34 และ 53 มีความกว้างเมล็ดเท่ากับ 0.0 เซนติเมตร ความยาวช่อมากที่สุดคือต้นที่ 53 มีความยาวช่อ 21.08 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดน้อยที่สุดคือต้นที่ 34 และ 53 มีจำนวนเมล็ดเท่ากับ 0.0 เซนติเมตร ผลผลิตสูงสุดคือต้นที่ 14 ให้ผลผลิตสูงสุด 60 กิโลกรัม และนำยอดของต้นลางสาดที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 6 ต้น มาเสียบยอดกับต้นตอที่เตรียมไว้เพื่อปลูกรวบรวบพันธุ์ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The research project consist of 1 experiment. The objective of research was to obtain the food varieties of langsats that provide high quantity of yields with good quality and can adapt to the environment in the area of the Lower Northern region. The research was carried out during October 2012 - September 2014 for 3 years. The selection good varieties of langsats during the years 2012-2014 in order to obtain the good varieties of langsats that provide high quantity of yields with good quality and can adapt to the environment in the area of the Lower Northern region. The research was conducted by surveying and collecting information from langsat farms of farmer in the areas of Uttaradit and Sukhothai. The langsat varieties were primarily selected by choosing wide bushes, strong trunks, as well as the 53 trees that won the contest from the farms of 27 farmer. The yield was tracked and recorded quality of langsat varieties from the trees initially selected. The results of selecting yield information and the most premium quality of langsats in the year 2012-2014 were 9th, 14th, 20th, 34th, 38th, and 53rd tree. Results indicated that the langsats which provided the maximum weight per panicle was the 9th tree totally 454 g. The highest number per panicle was the 9th tree in total of 26.4 fruits. The most sweetness was the 34th tree and the 38th with the sweetness of 19.7 ๐Brix. The less width of seed was the 34th tree and the 53rd tree with width of seed equal to 0.0 cm. The longest length of panicle was the 53rd tree with the length of panicle equal to 21.08 cm. The less number of seeds was the the 34th tree and the 53rd tree totally 0.0 cm. The maximum yield was the 14th tree in total of 60 kg. All treetops of langsats that were passed selection totally 6 trees were brought to stab with tree grubs prepared for planting to collect varieties onwards.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลางสาดอย่างมีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะปรางอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพุทราอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตละมุดอย่างมีคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาการผลิตเห็ดกระดุมเขตร้อน โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะขามหวานอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยตานีอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก