สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบกลุ่มของจุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการควบคุมคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาตู้
มณีรัตน์ หวังวิบูลย์กิจ, อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล, พรพรรณ พุ่มพวง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบกลุ่มของจุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการควบคุมคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาตู้
ชื่อเรื่อง (EN): To Compare Group of Microorganisms that are Appropriate for use in Water Quality Control for the Aquarium Tank
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงปลาจากการใช้จุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) และ แบคทีเรีย Bacillus spp. โดยเลี้ยงปลาตะเพียนทอง 9 ตัว/ตู้ ในตู้กระจกขนาด 90x45x45 เซนติเมตร ด้วยระบบกรองน้ำแบบนอกตู้ที่มีน้ำหมุนเวียนตลอดเวลา เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยกำหนดให้มีปริมาณจุลินทรีย์เริ่มต้นที่ 96,000 CFU/มิลลิลิตร และทดลองโดยใช้ระดับความเข้มข้นของจุลินทรีย์ที่ 96, 4,800 และ 9,600 CFU/มิลลิลิตร เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปริมาณจุลินทรีย์ EM มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6,650+1,343.50, 75,000+3,394.11 และ 348,300+2,899.14 CFU/มิลลิลิตร และปริมาณแบคทีเรีย Bacillus มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6,500+1,555.63, 92,500+3,566.04 และ 357,000+4,051.22 CFU/มิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติแล้วพบว่าปริมาณที่เพิ่มขึ้นของจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ระดับความเข้มข้น 96 CFU/มิลลิลิตร ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ในขณะที่ชุดการทดลองที่ใส่จุลินทรีย์ในระดับความเข้มข้น 4,800 และ 9,600 CFU/มิลลิลิตร พบว่ามีปริมาณเฉลี่ยของแบคทีเรีย Bacillus เมื่อสิ้นสุดการทดลองสูงกว่าและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับปริมาณจุลินทรีย์ EM ในระดับความเข้มข้นเดียวกัน เมื่อพิจารณาด้านคุณภาพน้ำพบว่าการใช้จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่ม ในทุกระดับความเข้มข้นมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ความเป็นกรดเป็นด่าง และความกระด้างอยู่ในช่วงที่มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ แต่พบว่าหลังจากเริ่มเลี้ยงเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ปริมาณแอมโมเนียรวมในชุดการทดลองที่ใช้จุลินทรีย์ EM ที่ระดับความเข้มข้น 4,800 และ 9,600 CFU/มิลลิลิตร มีค่า 1.659+0.122 และ 2.024+0.010 ppm ตามลำดับ และปริมาณไนไตรท์ในชุดการทดลองที่ใช้จุลินทรีย์ EM ในระดับความเข้มข้น 96 CFU/มิลลิลิตร มีค่า 0.3995+0.012 ppm ซึ่งเป็นค่าที่เกินระดับมาตรฐานในการเลี้ยงสัตว์น้ำ และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับชุดการทดลองที่ใช้แบคทีเรีย Bacillus ในระดับความเข้มข้นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ตลอดจนสิ้นสุดการทดลอง ปริมาณแอมโมเนียรวม และปริมาณไนไตรท์ของทุกชุดการทดลองกลับมาอยู่ในช่วงที่มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำได้เช่นเดียวกัน ในขณะที่ชุดการทดลองที่ใช้แบคทีเรียกลุ่ม Bacillus พบว่าปริมาณแอมโมเนียรวม และปริมาณ ไนไตรท์อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เริ่มเลี้ยงไปจนตลอดระยะเวลาการทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ในระดับความเข้มข้น 4,800 CFU/มิลลิลิตร ซึ่งทำในให้น้ำในตู้มีปริมาณไนไตรท์ต่ำที่สุด คือ 0.0060+0.004 ppm ดังนั้นจากการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่าควรเลือกใส่แบคทีเรียกลุ่ม Bacillus ในปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 4,800 CFU/มิลลิลิตร ซึ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพน้ำได้ดีกว่าการใช้จุลินทรีย์ EM เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณแอมโมเนียรวมและปริมาณไนไตรท์ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เริ่มเลี้ยง และมีผลในการช่วยลดประมาณไนไตรท์ในตู้เลี้ยงปลาได้มากที่สุด
บทคัดย่อ (EN): The study on water quality control by two groups of the microbial which including EM (Effective Microorganisms) and bacteria Bacillus spp. in the aquarium tank. The 9 tinfoil barbs were reared in glass tank (90x45x45 cm) and used filtration systems for circulating water all time. The using of microorganism concentrations were 96, 4,800 and 9,600 CFU/ml. After eight weeks of fish culture, the average quantity of EM were 6,650+1,343.50, 75,000+3,394.11 and 348,300+2,899.14 CFU/ml and Bacillus were 6,500+1,555.63, 92,500+3,566.04 and 357,000+4,051.22 CFU/ml. It was found that the increased volume of both microorganisms at 96 CFU/ml were not different significantly (P>0.05). While 4,800 and 9,600 CFU/ml treatments, the volume of Bacillus were higher than the EM and significantly (P<0.05). Considering about the water quality, the average of temperature, dissolved oxygen, pH and hardness of treatments by the both microorganisms in the all levels were suitable for aquaculture. But in the first week, the total ammonia in the experiments using EM at concentrations of 4,800 and 9,600 CFU/ml were 1.659+0.122 and 2.024+0.010 ppm, respectively. Nitrite in the experiment using EM 96 CFU/ml was 0.3995+0.012 ppm and statistically different (P<0.05) from the treatments of Bacillus in the same levels. However, at the second week of culture until the end of trials, the total ammonia and nitrite were reduced to a reasonable level for aquaculture. While the treatment of Bacillus at the concentration of 4,800 CFU/ml was high efficient for control water quality in the aquarium tank because of, in the first week, the amount of nitrite was 0.0060+0.004 ppm that less obviously than the other treatments significantly (P<0.05). The results showed that the efficiency of Bacillus for controlling water quality in the aquarium tank was better than EM especially at the concentration 4,800 CFU/ml. Bacillus could reduce the amount of ammonia and nitrite in safety level for fish culture.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบกลุ่มของจุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการควบคุมคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาตู้
กรมประมง
30 กันยายน 2556
กรมประมง
การปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแบบแห้งในคลองชลประทาน การใช้จุลินทรีย์เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงสัตว์น้ำ การตรวจสอบชนิดและการเปลี่ยนแปลงของประชากรจุลินทรีย์ และการพัฒนาวิธีการควบคุมคุณภาพน้ำในบ่ออนุบาลลูกกุ้งทะเลวัยอ่อน ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเจริญของจุลินทรีย์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ย่อยสลายตะกอนอินทรีย์ การฟอกปอด้วยจุลินทรีย์ การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM อัตราการบำบัดแอมโมเนียของไบโอฟล็อกที่สร้างจากกลุ่มจุลินทรีย์น้ำเค็ม ศึกษาความเป็นพิษของเกลือ NaCl ต่อจุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ ในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไร้อากาศ การพัฒนากระบวนการผลิตไฮโดรเจนจากเซลลูโลสของชานอ้อยโดยกลุ่มจุลินทรีย์จากมูลช้าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก